ECNP, เวียนนา--16 ต.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ / อินโฟเควสท์
- สำหรับเผยแพร่นอกประเทศจีน ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
ผลวิเคราะห์หลังการทดลองที่นำเสนอในการประชุมเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับผลของยาต่อโรคจิตและประสาทแห่งยุโรปครั้งที่ 25 (25th European College of Neuropsychopharmacology: ECNP) แสดงให้เห็นว่า ยา asenapine สามารถควบคุมอารมณ์ผสมในผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 (bipolar I) ได้ดีกว่ามากเมื่อเทียบกับยาหลอก
ลุนด์เบค (Lundbeck) ประกาศผลวิเคราะห์หลังการทดลองในผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 ที่มีอารมณ์ผสม ซึ่งผลปรากฏว่ายา asenapine มีประสิทธิภาพอย่างมากในการควบคุมทั้งอาการคึกเกินเหตุและอาการซึมเศร้าเมื่อเทียบกับยาหลอก โดยผลลัพธ์ดังกล่าวได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลจาก 2 การทดลองแบบสุ่ม ผู้ให้และรับยาไม่รู้ว่าได้รับยาอะไร มีการปรับปริมาณยาตามความเหมาะสม มียาหลอกและยา olanzapine เป็นตัวควบคุม และใช้เวลาทดลอง 3 สัปดาห์ รวมถึงข้อมูลจากการศึกษาเพิ่มเติมแบบผู้ให้และรับยาไม่รู้ว่าได้รับยาอะไร มียา olanzapine เป็นตัวควบคุม และใช้เวลาศึกษา 9 สัปดาห์
“เป้าหมายหนึ่งที่ท้าทายที่สุดในการรักษาโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 คือการจัดการกับอารมณ์ผสม ซึ่งก็คือการที่ผู้ป่วยมีอาการคึกและซึมเศร้าเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน” ศจ.ฌอง-มิเชล อาโซริน (Professor Jean-Michel Azorin) จากภาควิชาจิตเวช วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเมดิเตอเรเนียน กล่าว “ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วกว่า 40% มีอารมณ์ผสม ซึ่งถือเป็นอาการที่รุนแรงของโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 ดังนั้นเราสมควรที่จะศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดการทั้งอารมณ์คึกและซึมเศร้าไปพร้อมๆกันในการรักษาครั้งเดียว”
asenapine เป็นยาต้านอาการโรคจิตชนิด tetracyclic สำหรับรักษาอาการคึกปานกลางถึงรุนแรงในผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 โดยมีการศึกษาประสิทธิภาพของยา asenapine ตามแบบประเมิน 2 แบบ ได้แก่ Young Mania Rating Scale (YMRS) สำหรับอาการคึก และ Montgomery-Asberg Depression Rating Scale (MADRS) สำหรับอาการซึมเศร้า[1]
การเปลี่ยนแปลงของคะแนน YMRS ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสัปดาห์ที่ 3 มีดังต่อไปนี้
- คะแนนสูงกว่ามากในกลุ่มที่ใช้ยา asenapine (-15.0 ? 0.9) เมื่อเทียบกับยาหลอก (-11.5 ? 1.2; p=0.015)
- ความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ใช้ยา olanzapine และยาหลอกมีไม่มากจนไม่มีความสำคัญทางสถิติ (-13.3 ? 0.9; p=0.169)
นอกจากนั้นแล้ว ยา asenapine ยังเหนือกว่ายาหลอกมากในแง่ของการเปลี่ยนแปลงคะแนน MADRS จากเริ่มต้นจนถึงสัปดาห์ที่ 3 (-8.2 ? 0.9 เทียบกับ -4.5 ? 1.2 ตามลำดับ; p=0.009) ส่วนความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ใช้ยา olanzapine และยาหลอกไม่มีความสำคัญทางสถิติ (-6.5 ? 0.8; p=0.181).[2]
คะแนนการตอบสนองต่ออาการคึกและซึมเศร้า (คะแนน YMRS และ MADRS ลดลง ? 50%) ณ สัปดาห์ที่ 3 มีดังนี้
- คะแนนดีกว่ามากในกลุ่มที่ใช้ยา asenapine (46.3%) เทียบกับยาหลอก (24.4%; p=0.023)
- ความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ใช้ยา olanzapine และยาหลอกไม่มีความสำคัญทางสถิติ (37.5%; p=0.141)
อัตราการบรรเทาของอาการ (YMRS ? 12 และ MADRS ? 10) สูงกว่ามากในกลุ่มที่ใช้ยา asenapine (44.8%) เมื่อเทียบกับยาหลอก (24.4%; p=0.033) ณ สัปดาห์ที่ 3 ขณะที่ความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ใช้ยา olanzapine และยาหลอกไม่มีความสำคัญทางสถิติ (35.2%; p=0.218)[2]
โรคอารมณ์สองขั้วส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย 30 ล้านคนทั่วโลก โดยกว่า 4 ล้านคนอยู่ในยุโรป[2] โรคนี้เป็นสาเหตุอันดับ 6 ของการเกิดภาวะทุพพลภาพทั่วโลก[3] ผู้ป่วยที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้วเป็นภาระทางการแพทย์และมักเผชิญโรคแทรกซ้อนหลายโรค ทั้งนี้ มีการประเมินว่าผู้ป่วยราว 2 ใน 3 จะต้องเผชิญภาวะอารมณ์ผสมในช่วงใดช่วงหนึ่งของการเจ็บป่วย[4]
หมายเหตุ
เกี่ยวกับการวิเคราะห์หลังการทดลอง
ประสิทธิภาพของยา asenapine ในการรักษาโรคอารมณ์สองขั้วที่มีอารมณ์ผสม ได้รับการประเมินโดยใช้วิธีวิเคราะห์หลังการทดลอง คือการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาก 2 การทดลองแบบสุ่ม ผู้ให้และรับยาไม่รู้ว่าได้รับยาอะไร มีการปรับปริมาณยาตามความเหมาะสม มียาหลอกและยา olanzapine เป็นตัวควบคุม และใช้เวลาทดลอง 3 สัปดาห์ รวมถึงข้อมูลจากการศึกษาเพิ่มเติมแบบผู้ให้และรับยาไม่รู้ว่าได้รับยาอะไร มียา olanzapine เป็นตัวควบคุม และใช้เวลาศึกษา 9 สัปดาห์[2]
ในกลุ่ม intent-to-treat นั้น พบว่าผู้ป่วย 295 คนมีอารมณ์ผสมตามเกณฑ์การวินิจฉัย DSM-IV-TR (กลุ่มยาหลอก 66 คน, กลุ่มยา olanzapine 122 คน และกลุ่มยา asenapine 107 คน) ในการทดลองระยะเวลา 3 สัปดาห์ และ 102 คนจากทั้งหมด (กลุ่มยา olanzapine 56 คน และกลุ่มยา asenapine 46 คน) ได้เข้าร่วมการศึกษาเพิ่มเติมระยะเวลา 9 สัปดาห์[2]
การวิเคราะห์หลังการทดลองนี้ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลตลอด 3 สัปดาห์ที่รวบรวมมาจากผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอารมณ์ผสมตามเกณฑ์การวินิจฉัย DSM-IV-TR และเสริมด้วยข้อมูลที่รวบรวมมาจากการศึกษาเพิ่มเติมเป็นเวลา 9 สัปดาห์[2]
เกี่ยวกับโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1
โรคอารมณ์สองขั้ว (หรือโรคอารมณ์แปรปรวน) เป็นโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยจะมีอารมณ์แบบสุดขั้วคือคึกและซึมเศร้าสลับกันเป็นช่วงๆ[5] ลักษณะเฉพาะของโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 คือมีอาการคึก (อารมณ์คึกคะนองเกินปกติ ฉุนเฉียวง่าย นอนน้อยลง และมีพลังเหลือล้น) อาการซึมเศร้า (รู้สึกเศร้าสุดๆ, คิดฆ่าตัวตาย) หรือทั้งสองอารมณ์ผสมกัน[5]
เกี่ยวกับยา asenapine
asenapine เป็นยาอมใต้ลิ้นที่ใช้รักษาอาการคึกปานกลางถึงรุนแรงในผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 ทั้งนี้ มีการศึกษาในผู้ป่วยราว 4,500 คน ได้แก่ การศึกษาขั้นที่ 2/3 (มีการทดลองเกี่ยวกับโรคจิตเภทด้วย) ในผู้ป่วยกว่า 3,150 คนเพื่อพิสูจน์ความปลอดภัยและความทนทานของยา asenapine และโครงการทดลองทางคลินิกกับผู้ป่วยเกือบ 1,300 คนที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 ที่มีอาการคึกเกินเหตุหรือมีอาการสลับกัน[6],[7],[8]
เกี่ยวกับลุนด์เบค
เอช. ลุนด์เบค เอ/เอส (H. Lundbeck A/S) (LUN.CO, LUN DC, HLUKY) เป็นบริษัทเภสัชกรรมระดับโลกที่มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคทางสมองต่างๆ และด้วยจุดมุ่งหมายดังกล่าว ลุนด์เบคจึงทำการวิจัย พัฒนา ผลิต ทำการตลาด และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาไปทั่วโลก เพื่อมุ่งรักษาโรคต่างๆ อาทิ โรคซึมเศร้าและวิตกกังวล โรคทางจิตเวช โรคลมชัก ตลอดจนโรคฮันติงตัน โรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสัน
ลุนด์เบคก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2458 โดยฮันส์ ลุนด์เบค (Hans Lundbeck) ในโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ปัจจุบันมีพนักงานราว 6,000 คนทั่วโลก ลุนด์เบคเป็นบริษัทเภสัชกรรมเกี่ยวกับโรคทางสมองชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก ในปี 2554 บริษัทมีรายได้ 1.6 หมื่นล้านโครนเดนมาร์ก (ราว 2.2 พันล้านยูโร หรือ 3.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.lundbeck.com/
อ้างอิง
1. Azorin, et al. Remission of Manic and Depressive Symptoms with Asenapine in Patients with Mixed Episodes. Presented at the 25th European College of Neuropsychopharmacology (ECNP) Congress, Vienna, October 2012, Poster 2.e.019
2. World Health Organization. Disease incidence, prevalence and disability. Available at: http://www.who.int/healthinfo/global_burden_disease/GBD_report_2004update_part3.pdf . Accessed August 24, 2012.
3. Kleinman, L et al. Costs of bipolar disorder. Pharmacoeconomics. 2003;21:601-622.
4. Mackin, P. & Young, A.H. (2005) Bipolar disorders. Core Psychiatry (eds P. Wright, J. Stern, M. Phelan). Edinburgh. Elsevier Saunders.
5. National Institute of Mental Health. Bipolar Disorder 2009. Available at: http://www.nimh.nih.gov/health/publications/bipolar-disorder/nimh-bipolar-adults.pdf . Accessed August 24, 2012.
6. Asenapine Summary of Product Characteristics, 2012.
7. McIntyre, R et al. A 3-week, randomized, placebo-controlled trial of asenapine in the treatment of acute mania in bipolar mania and mixed states. Bipolar Disorders. 2009:11:673-686.
8. McIntyre, R et al. Treatment of Mania in Bipolar I Disorder: Placebo and Olanzapine Controlled trials of Asenapine. Congress of European College of Neuropsychopharmacology, October 13-17, 2007, Vienna, Austria.
แหล่งข่าว: ลุนด์เบค
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit