สถาบันอาหาร ชี้ขึ้นค่าจ้าง 300 บาท อุตฯอาหารต้นทุนเพิ่มสูงสุดร้อยละ 20

18 Apr 2012

กรุงเทพฯ--18 เม.ย.--สถาบันอาหาร

สถาบันอาหาร แจงผลกระทบอุตสาหกรรมอาหารหลังปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท พบต้นทุนผลิตโดยรวมสูงขึ้น ตั้งแต่ร้อยละ 5 – 20 ขึ้นกับ ระดับความเข้มข้นในการใช้แรงงานตลอดสายโซ่การผลิต กลุ่มสินค้าสัตว์น้ำ โดนหนักสุดเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 20 กลุ่มสินค้าเนื้อสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 กลุ่มสินค้าผักผลไม้ กรณีธุรกิจขนาดกลาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 - 10 กลุ่มสินค้าขนมปัง/อบกรอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 – 10 เฉพาะภาคการผลิตที่ใช้ แรงงานเข้มข้นจาก 3 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ การแปรรูปไก่ อุตสาหกรรมประมง และอุตสาหกรรมผักผลไม้ รวมกันคาดว่ามีการจ้างงานมากกว่า 1.2 แสนคน สำหรับใน กรุงเทพฯ มีแรงงานราว 7 หมื่นคน โรงงานเอสเอ็มอีรับไปเต็มๆ ต้นทุนเพิ่มร้อยละ 6.4 ส่วนปัญหาขาดแคลนแรงงานระดับล่างที่เรื้อรังมานานอีกไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นคนยังแก้ไม่ตก หวั่นเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานโกลาหล ชี้แรงงานต่างด้าวมีพฤติกรรมเข้าออกงานสูง เชื่อระยะยาวผู้ประกอบการปรับตัวได้ แต่ต้อง ให้ความช่วยเหลือเรื่องสิทธิประโยชน์ด้านภาษี อัตราดอกเบี้ย และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้ทันเวลา

นายเพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่าการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท ใน 7 จังหวัดนำ ร่อง(ภูเก็ต กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม และนนทบุรี) และอีกประมาณร้อยละ 40 (อยู่ในช่วง 222 - 273 บาท) ใน 70 จังหวัดที่ เหลือ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมานั้น อุตสาหกรรมอาหารถือเป็นหนึ่งในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตอย่างมาก เนื่องจากเป็น อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น(Labor Intensive) การเพิ่มสัดส่วนการใช้เครื่องจักรแทนต้นทุนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นยังมีข้อจำกัดในอุตสาหกรรมอาหาร หลายสาขา โดยเฉพาะกลุ่มอาหารทะเล และผักผลไม้แปรรูปเพราะโครงสร้างและธรรมชาติของธุรกิจที่ใช้ในกระบวนการคัดแยก ตัดแต่งวัตถุดิบขั้นต้นที่ต้อง อาศัยแรงงานคนเป็นสำคัญ รวมทั้งกลุ่มเอสเอ็มอีเองที่มีจำนวนสูงถึงร้อยละ 97 ของอุตสาหกรรมอาหารทั้งหมด ซึ่งยังไม่มีศักยภาพเข้าถึงแหล่งทุนและ เทคโนโลยีในการนำเครื่องจักรเข้ามาใช้แทนแรงงานคนได้

ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทั่วประเทศมีจำนวนประมาณ 9,227 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานขนาดเล็กร้อยละ 91 ขนาดกลาง ร้อยละ 6 และขนาดใหญ่ เพียงร้อยละ 3 สำหรับภาคการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น การแปรรูปไก่ มีจำนวน 320 โรงงาน อุตสาหกรรมประมง 579 โรงงาน อุตสาหกรรมผักผลไม้ 640 โรงงาน รวมกันคาดว่ามีการจ้างงานมากกว่า 1.2 แสนคน เฉพาะกรุงเทพฯ มีโรงงานอุตสาหกรรมอาหารตั้งอยู่ประมาณ 2,405 ราย เป็นขนาดเล็ก 2,050 ราย ขนาด กลาง 165 ราย และขนาดใหญ่ 186 ราย ประเมินว่ามีแรงงานไม่ต่ำกว่า 70,000 คน การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน จะทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีต้องแบก รับต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 6.4

โดยโครงสร้างต้นทุนด้านแรงงานของอุตสาหกรรมอาหารบางประเภทที่มีสัดส่วนค่อนข้างสูง ได้แก่ น้ำผลไม้ มีต้นทุนค่าแรงงานร้อยละ 15 เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว ร้อยละ 15 กุ้งแปรรูป/ซูริมิ ร้อยละ 10 ข้าวโพดอ่อนกระป๋อง/ข้าวโพดหวานแช่แข็ง/ข้าวโพดหวานกระป๋อง ร้อยละ 10 ทูน่ากระป๋อง ร้อยละ 6 นมพร้อมดื่ม/ผงชูรส ร้อยละ 5 และแป้งมัน/แป้งข้าว ร้อยละ 4-5

จากการสำรวจของศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร สถาบันอาหาร ในบางกลุ่มสินค้าพบว่าการปรับขึ้นค่าแรงดังกล่าว ส่งผลให้ต้นทุนการผลิต โดยรวมเพิ่มสูงขึ้นในสัดส่วนที่แตกต่างกันไป โดยในกลุ่มสินค้าสัตว์น้ำ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 20 กลุ่มสินค้าเนื้อสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 กลุ่ม สินค้าผักผลไม้ กรณีธุรกิจขนาดกลาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 - 10 ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 - 3 กลุ่มสินค้าขนมปัง/อบกรอบ เพิ่มขึ้น ร้อย ละ 6 – 10 เป็นต้น

“โดยรวมพบว่าต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการสูงขึ้น ตั้งแต่ร้อยละ 5 – 20 ขึ้นกับระดับความเข้มข้นในการใช้แรงงานตลอดสายโซ่การผลิต เช่น ระดับฟาร์ม ค่าจ้างแรงงานก็มีต้นทุนเพิ่มขึ้น การเก็บเกี่ยว ตัดแต่ง การขนส่ง การผลิตบรรจุภัณฑ์ ฉลาก ส่วนผสม การแปรรูป ธุรกิจค้าปลีก เมื่อนำ ต้นทุนที่ปรับเพิ่มจากทุกหน่วยมารวมกันจะทำให้ต้นทุนรวมสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งหากผู้ผลิตไม่สามารถรับภาระนี้ได้ ก็ผลักออกมาเป็นทอดๆ สุดท้ายก็จะมาเป็นภาระของผู้ซื้อที่ต้องซื้อสินค้าในราคาสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็จะเกิดการขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากมีการปรับค่าจ้างที่ไม่เท่ากันใน พื้นที่ใกล้เคียง ทำให้แรงงงานอาจเคลื่อนย้ายไปในจังหวัดที่ได้ค่าแรงสูงกว่ามาก

ขณะที่มีแนวทางการปรับตัว โดยปรับลดจำนวนชั่วโมงทำงานล่วงเวลา จัดทำ Job analysis เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะการผลิตของแรงงาน จัด ระบบ Manpower Management ออกนโยบายลดจำนวนวันทำงานภายใต้ Production output ที่กำหนดไว้ และเจรจาขอปรับราคาสินค้ากับลูกค้า กรณีโรงงานขนาดใหญ่ เน้นเพิ่มการใช้เครื่องจักรในระบบผลิตมากขึ้น โดยในระยะยาวหากยังไม่มีความชัดเจนด้านสิทธิประโยชน์การลงทุน และมาตรการด้านภาษี อาจย้ายฐานการผลิต ไปประเทศเพื่อนบ้าน” นายเพ็ชร กล่าว

อย่างไรก็ตาม นโยบายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ อาจจะส่งผลกระทบต่อนโยบายส่งเสริมการลงทุน และการจ้างงาน กล่าวคือ จะทำให้ นโยบายส่งเสริมการลงทุนไปสู่ภูมิภาคด้อยประสิทธิภาพลงไป เพราะจะไม่จูงใจให้ภาคธุรกิจไปลงทุนในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้า โดยมีตลาดหลักภายในประเทศจะเน้นลงทุนในหัวเมืองใหญ่เป็นหลักเพราะใกล้ตลาด ประหยัดค่าขนส่ง รวมทั้งประชาชนมีอำนาจซื้อสูง ขณะที่ธุรกิจที่เน้นส่ง ออกก็จะเข้าไปลงทุนในพื้นที่ที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจ เช่น ใกล้ท่าเรือหรือแหล่งวัตถุดิบเพื่อความสะดวก ประหยัดเวลาและต้นทุนค่าขนส่ง ซึ่งภาครัฐ อาจต้องให้สิทธิพิเศษมากขึ้นเพื่อจูงใจให้ภาคธุรกิจยังคงลงทุนในพื้นที่ที่ต้องการส่งเสริมต่อไปโดยไม่เคลื่อนย้ายไปที่อื่น นอกจากนี้ยังทำให้ อุปสงค์ต่อแรงงานต่างด้าวจะสูงขึ้น เกิดปัญหาการไหลทะลักของแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย

นายเพ็ชร กล่าวต่อว่า ในระยะสั้นนโยบายดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมอาหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่ในระยะยาวเชื่อว่าภาค ธุรกิจจะปรับตัวได้ ปัญหาคือควรมีแนวทางในการลดผลกระทบต่อภาคธุรกิจในช่วงแรกของการดำเนินนโยบาย โดยเฉพาะมาตรการที่ช่วยลดภาระต้นทุนของภาคเอกชน ตัวอย่างเช่น การลดภาษีนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักร รวมทั้งวัตถุดิบบางประเภทที่ไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในประเทศ ให้สิทธิพิเศษหรืออัตราดอกเบี้ย ต่ำเพื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งทุนด้วยต้นทุนที่ต่ำ เป็นต้น

“ต้องยอมรับว่านอกจากปัญหาเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว ขณะนี้อุตสาหกรรมอาหารของไทยทั้งระบบยังคงขาดแคลนแรงงานระดับล่างไม่ต่ำ กว่า 5 หมื่นคน ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมานานและยังไม่สามารถแก้ไขได้ จากการศึกษาของ TDRI ในปี 2553 พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนแรงงานต่างด้าว มากเพียงพอกับความต้องการแล้ว แต่การที่อุตสาหกรรมอาหารรวมทั้งอุตสาหกรรมอื่นๆ ยังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอยู่เนื่องจากแรงงานเหล่านี้มีพฤติกรรม เข้าออกงานสูง แรงงานจำนวนมากได้เปลี่ยนอาชีพโดยทำงานไม่ตรงตามอาชีพที่ได้รับอนุญาตครั้งแรก และได้กลายสภาพเป็นแรงงานผิดกฎหมาย หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องควรมีมาตรการที่จะลดผลกระทบดังกล่าว โดยอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวสามารถย้ายสาขาอาชีพได้ ภายใต้ข้อกำหนดกรอบเวลาว่าภายในระยะกี่ปีจึงจะ ย้ายงานได้ เพื่อไม่ให้เกิดการกระจุกตัวของแรงงานในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง นอกจากจะช่วยลดผลกระทบจากการเข้าออกงานสูง รวมทั้งการกลายสภาพเป็น แรงงานผิดกฎหมายแล้ว มาตรการดังกล่าวจะช่วยให้มีข้อมูลในการบริหารจัดการเพื่อนำเข้าหรือกระจายแรงงานไปสู่อุตสาหกรรมต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพด้วย”

ตารางที่ 1 โครงสร้างต้นทุนในภาคอุตสาหกรรมอาหาร

หน่วย: ร้อยละ

วัตถุดิบ

บรรจุภัณฑ์ ค่าจ้างแรงงาน พลังงาน อื่นๆ รวม

ไก่แช่แข็ง

84

3

2

2

9

100

ไก่แปรรูป

83

6

2

2

7

100

ทูน่ากระป๋อง

67

17

6

Na. 9

100

ผลิตภัณฑ์ทูน่าในถุงเพาซ์ 70

14

7

Na. 9

100

สับปะรดกระป๋อง

45

43

3

6

2

100

ข้าวโพดหวานแช่แข็ง

50

Na.

10

5

35 100

ข้าวโพดหวานกระป๋อง

30

40

10

Na. 20 100

ข้าวโพดอ่อนกระป๋อง

80

Na.

10

5

5

100

นมพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์ 80

10

3

4

3

100

นมพร้อมดื่มยูเอชที

60

25

3

3

9

100

แป้งข้าว

83

3

5

2

7

100

เฉลี่ย

64

17

6

5

11 100

ที่มา: Thailand Food Industry Profile, ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร สถาบันอาหาร

หมายเหตุ: Na. หมายถึง ข้อมูลรวมอยู่กับอื่นๆ

ตารางที่ 2 จำนวนโรงงานอาหารของไทย

เล็ก

กลาง

ใหญ่

รวม

ราย

%

ราย %

ราย %

ราย

โกโก้/ช็อกโกแล็ต

79

85

13 7

1

1

185

ขนมปัง

347

91

22 5

11 2

476

ข้าวและธัญพืช

390

85

53 10 15 3

553

เครื่องปรุงรส

124

91

7

3

6

3

231

น้ำตาล

52

55

15 10 28 18 160

น้ำมันพืช

222

79

48 13 11 3

373

เนื้อสัตว์

319

89

24 5

17 4

454

แป้งมันสำปะหลัง

131

73

37 15 11 4

267

ผลิตภัณฑ์นม

228

92

9

3

12 3

343

ผักผลไม้

490

86

63 10 17 3

666

สัตว์น้ำ

518

81

86 12 34 5

731

เส้นหมี่/อาหารจากแป้ง 118

90

10 5

3

1

226

อาหารอื่นๆ

5,295 95

170 3

94 2

5,657

ผลรวมทั้งหมด

8,313 91

557 6

260 3

9,227

ที่มา : กรมโรงงาน (2553)

หมายเหตุ: ขนาดเล็ก เงินทุนจดทะเบียนน้อยกว่า 50 ล้านบาท, ขนาดกลาง เงินทุนจดทะเบียน 50-200 ล้านบาท,ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียนมากกว่า 200 ล้านบาท -กภ-

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net