โครงการกิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร ค่ายแสงแห่งอนาคต..แสงซินโครตรอน

26 Mar 2012

กรุงเทพฯ--26 มี.ค.--วิชาการ.คอม

ด้วยเว็บไซต์วิชาการดอทคอม (www.vcharkarn.com) เว็บไซต์ด้านการศึกษาไทย มุ่งสร้างและถ่ายทอดความรู้ให้แก่สังคมไทย โดยไม่มุ่งหวังสิ่งใดตอบแทน และมุ่งส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมวิทยาศาสตร์ มีความประสงค์จะร่วมกับ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรมค่ายแสงแห่งอนาคต..แสงซินโครตรอน ให้แก่เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศที่มีพื้นฐานความสนใจด้านฟิสิกส์ ในปี 2555 เป็นครั้งแรก โดยจะคัดเลือกเยาวชนผ่านการเขียนเรียงความ จำนวน 20 คน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ค่ายแสงแห่งอนาคต..แสงซินโครตรอน เพื่อเป็นค่ายที่มุ่งเน้นในการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านแสงซินโครตรอน รู้จักเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน การนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งการที่เยาวชนได้เรียนรู้ถึงอุปกรณ์ทางวิทศาสตร์ที่ทันสมัย รวมทั้งได้สัมผัสบรรยากาศการทำงานภายใน “ห้องปฏิบัติการแสงสยาม” จึงถือเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนให้แก่เยาวชนไทย ร่วมสร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นในการพัฒนาตนเองสู่การศึกษาต่อในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีขั้นสูงต่อไปในอนาคต ทั้งยังสร้างโอกาสให้เยาวชนที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เผยแพร่ความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับจากกิจกรรมครั้งนี้ต่อไป

ความสำคัญและที่มาของโครงการ

ห้องปฏิบัติการแสงสยาม สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) มีภารกิจหลักในการให้บริการแสงซินโครตรอนเพื่องานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของประเทศ ทั้งยังเป็นห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่ด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ทั้งยังได้ผลิตผลงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ และเพิ่มองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับวงการวิทยาศาสตร์โลก นอกจากนั้นยังดำเนินพันธกิจหลักในการสร้างบุคคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และส่งเสริมความตระหนักทางด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชน และประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง

เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านแสงซินโครตรอนสู่กลุ่มเป้าหมายนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปในพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ที่มีเครือข่ายได้อย่างกว้างขวาง โดยจัดโครงการนำร่องเปิดโอกาสให้เยาวชนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศที่มีพื้นฐานความสนใจด้านฟิสิกส์ ได้เรียนรู้จักเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน การนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งการที่เยาวชนได้เรียนรู้ถึงอุปกรณ์ทางวิทศาสตร์ที่ทันสมัย รวมทั้งได้สัมผัสบรรยากาศการทำงานภายใน “ห้องปฏิบัติการแสงสยาม” เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนให้แก่เยาวชนไทย ร่วมสร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นในการพัฒนาตนเองสู่การศึกษาต่อในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีขั้นสูงต่อไปในอนาคต ทั้งยังสร้างโอกาสที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เผยแพร่ความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับจากกิจกรรมครั้งนี้ต่อไป ส่วนงานประชาสัมพันธ์ จึงได้ร่วมกับ เว็บไซต์วิชาการดอทคอม จัดโครงการโครงการ “ค่ายแสงแห่งอนาคต..แสงซินโครตรอน” โดยคัดเลือกเยาวชนจากทั่วประเทศ ที่ส่งผลงานเรียงความเพื่อกระตุ้นความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ หัวข้อ “เรียนฟิสิกส์ สนุกอย่างไร?” ผู้ผ่านคัดเลือกจะได้เข้าร่วมเดินทำกิจกรรมสัมผัสเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยาม จังหวัดนครราชสีมา

วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม

1. เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรของการเป็นห้องปฏิบัติการวิจัยด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนระดับชาติ

2. สร้างความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนสู่เยาวชน ในยุคสังคมออนไลน์ Social Media ผ่านเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งรวมทางด้านวิชาการ

3. เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนผู้สนใจด้านฟิสิกส์ ได้สัมผัสกับการบรรยากาศการทำงานภายในสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

4. เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่าง สถาบันฯ ร่วมกับสื่อออนไลน์ที่มีผลงานสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง เช่น เว็บไซต์วิชาการ กับเยาวชน และประชาชนทั่วประเทศ

กลุ่มเป้าหมาย

เป้าหมายหลัก

เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์จากทั่วประเทศ ที่มีความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านเว็บไซต์วิชาการดอทคอม ซึ่งมีสถิติผู้เข้าชมกว่า 53,000 Uip/วัน

เป้าหมายรอง

นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปในสังคมออนไลน์ Social Media ซึ่งเป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็วและมีการขยายเครือข่ายกว้างขวาง

หลักเกณฑ์การคัดเลือก

เป็นเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 คน จากทั่วประเทศ โดยพิจารณาจากการเขียนเรียงความ หัวข้อ “เรียนฟิสิกส์ สนุกอย่างไร?” (ใช้ตัวอักษร Angsana New 16 ความยาว 1 หน้ากระดาษ A4) โดยผู้ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมกิจกรรม “ค่ายแสงแห่งอนาคต..แสงซินโครตรอน”

1. เยาวชนที่ศึกษาอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนฟิสิกส์

2. เยาวชนที่มีความสนใจศึกษาต่อ และทำงานเกี่ยวกับด้านฟิสิกส์

3. เยาวชนจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองให้ร่วมกิจกรรม

4. เยาวชนต่างจังหวัดที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเดินทางมีขึ้นรถ ณ จุดนัดหมายเองได้ รวมทั้งไม่มีปัญหาด้านการเดินทาง และที่พัก

5. เยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมกิจกรรมฯ มีสุขภาพแข็งแรงไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. เยาวชนได้รับความรู้ความเข้าใจ ทางด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนผ่านการสืบค้นข้อมูลทางสื่อสารออนไลน์ และทราบทัศนคติทางด้านการเรียนฟิสิกส์ของเยาวชนไทย

2. เยาวชนผู้สนใจด้านวิทยาศาสตร์ และด้านฟิสิกส์ ได้สัมผัสกับการบรรยากาศการทำงานภายในสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

3. สร้างเครือข่ายสื่อมวลชน ระหว่างสถาบันฯ กับสื่อสารออนไลน์ทางด้านวิชาการที่มีผลงานสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง

4. สื่อมวลชนเข้าร่วมเผยแพร่ข่าวกิจกรรม ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จ.นครราชสีมา -กภ-