“ดิจิทัลทีวี – สังคมยุคดิจิตอล” ก้าวสำคัญของการพัฒนาประเทศไทย!!

18 May 2012

กรุงเทพฯ--18 พ.ค.--Digital Agenda Thailand

เมื่อปี 2491 ประเทศไทยเริ่มมีการแพร่ภาพโทรทัศน์เป็นครั้งแรก ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ“ช่อง 4 วังบางขุนพรหม” โดยผ่านระบบจอขาว-ดำ เน้นให้ความบันเทิงเป็นหลัก เช่นลิเก และละคร เป็นต้น

วงการโทรทัศน์ของไทยก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาลไทย ดังนั้นในช่วงสองทศวรรษแรกโทรทัศน์ไทยจึงถูกครอบงำและกลายเครื่องมือทางการเมืองให้กับรัฐบาลแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่านี่คือเหตุผลที่ทำให้ปัจจุบันวงการโทรทัศน์ก็ยังคงทำหน้าที่เป็นสื่อให้ภาครัฐมาจนถึงปัจจุบัน

แต่อย่างไรก็ตามหลังจากผ่านยุคการเมืองปี 2510 โทรทัศน์ก็เริ่มเติบโตและพัฒนา ผลัดเปลี่ยนสู่ยุคจอสี และมีช่อง 3 , 5, 7 และ 9 เกิดขึ้น จนกระทั่งทศวรรษที่สามวงการโทรทัศน์จึงเข้าสู่ยุคทอง มีการเติบโตของธุรกิจโทรทัศน์ประเภทบอกรับสมาชิกขึ้นมาเป็นทางเลือกให้ผู้ชมนอกจากฟรีทีวี และตั้งแต่ทศวรรษที่สี่เป็นต้นมาวงการโทรทัศน์ก็เข้าสู่ยุคของการแข่งขันอย่างเข้มข้นทางธุรกิจ ทำให้เกิดรูปแบบรายการโทรทัศน์ที่หลากหลาย ทั้งความบันเทิง สุขภาพ อาหาร แฟชั่นและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันช่วงชิงการนำเสนอเรื่องของข้อมูล ข่าวสาร ซึ่งทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมของการเสพย์ข้อมูล ข่าวสารได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากการพัฒนาแนวคิดและการนำเสนอของสื่อโทรทัศน์ในยุคปัจจุบัน

จากพัฒนาการของวงการโทรทัศน์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และในปัจจุบันกล่าวได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างรายได้หมุนเวียนในประเทศอย่างมหาศาลในแต่ละปี สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือการพัฒนาสังคมไทยให้เติบโตก้าวหน้าไปพร้อมๆ กันทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษาฯ

ดังนั้นจึงกล่าวได้ สื่อโทรทัศน์เป็นสื่อสำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสังคมไทยและการความเจริญก้าวหน้าของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และหากมองให้เป็นยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศก็น่าจะทำได้เช่นกัน!!! เพราะวันนี้คงไม่มีใครปฎิเสธว่า สื่อโทรทัศน์มีบทบาทสูงมากกับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเรื่องของข่าวสาร ข้อมูล ความบันเทิง แฟชั่น ฟุตบอล ฯลฯ แม้จะมีสื่อคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต มือถือและ Social network ต่างๆ มากมายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนวันนี้ก็ตาม

และการปฎิรูปสื่อโทรทัศน์ครั้งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ โดยการเปลี่ยนผ่านระบบการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล ทำให้ประเทศไทยเกิด โทรทัศน์ระบบดิจิตอล หรือดิจิตอลทีวี อย่างเต็มรูปแบบเช่นเดียวกับที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงหลายประเทศในอาเซียนเดินหน้าเปลี่ยนระบบมานานแล้ว ขณะที่ไทยยังเพิ่งจะเริ่มตั้งไข่ในวันนี้นั้น หากการเปลี่ยนระบบเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ดิจิตอลทีวี ไม่เพียงส่งผลดีต่อคุณภาพการรับชมโทรทัศน์ที่ดีของคนไทยทั้งประเทศ แต่ยังทำให้วงการโทรทัศน์ไทยโตอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด เพราะการเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล หมายถึงการทำให้เกิด White space ช่องว่างหรือพื้นที่ว่างในอากาศที่สามารถนำมาจัดสรรให้กับผู้ประกอบการได้ใช้อีกจำนวนมหาศาล ซึ่งคาดกันว่าจะทำให้เกิดโทรทัศน์อีกมากกว่า 200 ช่อง จำนวนธุรกิจโทรทัศน์ที่มากขึ้นย่อมหมายการสร้างรายได้ในประเทศ การจ้างงาน รวมไปถึงการเป็นช่องทางโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้กับธุรกิจเล็กๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายในประเทศ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ตามมาอีกเช่น Cloud และโมบายส์ทีวีเป็นต้น ซึ่งทั้งหมดก็คือการพลิกโฉมประเทศไทยสู่การเป็นสังคมดิจิตอลในที่สุด

ภาพเหล่านี้จะเกิดขึ้นในสังคมไทย เมื่อวงการโทรทัศน์ไทย ก้าวสู่การเป็น ดิจิตอลทีวี โดยสมบูรณ์ วันนี้ประเทศไทยเดินช้ากว่านานาประเทศไม่ต่ำกว่า 20 ปี แม้กระทั่งประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว มาลาเซีย ฯลฯ ก็ทิ้งห่างเราจะแทบจะไม่เห็นฝุ่น คงเหลือแต่พม่าที่ยังคงเดินคู่กับไทยอยู่เท่านั้น แผนการทำงานของกสทช. ตลอด 6 เดือนที่ผ่าน ยังไม่มีสิ่งใดชี้ชัดได้ว่า จะเห็นภาพ ดิจิตอลทีวี เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องการแข่งขันอย่างเสรี โปร่งใส และเป็นธรรม ที่จะเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามาเป็นเจ้าของธุรกิจได้อย่างที่แผนแม่บทฯ เขียนไว้อย่างสวยหรู ทำให้ทั้งนักวิชาการ นักธุรกิจ และแม้กระทั่งสื่อสารมวลชน หลายแขนง เริ่มมองถึงท่าทีการทำงานของกสทช.วันนี้ว่า เป็นการ “เตะถ่วง” ไปวันๆ เท่านั้น

ก่อนที่จะปล่อยให้เรื่อง ดิจิตอลทีวี ถูกบิดเบือนและนำทรัพยากรของชาติไปจัดสรรอย่างไม่ธรรม ด้วยเงื่อนไขของผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มมากกว่าผลประโยชน์แห่งชาติ จึงขอเชิญชวนคนไทยมาร่วมขับเคลื่อนโทรทัศน์ไทยสู่ระบบดิจิตอล การเปิดการแข่งขันอย่างเสรี เพื่อประโยชน์ของประเทศ กับโครงการ Digital Agenda Thailand แนวร่วมพลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมดิจิตอล โดยสถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ (ISEP) ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ เอ๊ซ (ACE) ร่วมด้วยภาคเอกชน และสื่อมวลชน เพื่อเป็นสื่อกลางในการรวบรวมความรู้ ประสบการณ์ และกรณีศึกษาจากทั่วโลกในหลายๆ แง่มุมที่เกี่ยวกับเรื่องของ Digital และนำมาถ่ายทอดให้กับทุกภาคส่วนในประเทศไทยในรูปแบบของกิจกรรมสัมมนาต่อเนื่อง

พร้อมรับฟังข่าวสารและข้อเท็จจริง ตลอดจนความรู้ ประสบการณ์ รวมทั้งกรณีศึกษาจากทั่วโลกในหลายๆ แง่มุมที่เกี่ยวกับเรื่องของ Digital ในงานสัมมนาเรื่อง “มองมุมใหม่... ทีวีดาวเทียมและโมบายล์ทีวี” ภายใต้แนวคิด Digital Agenda Thailand ครั้งที่ 3 โดยมี International Telecommunication Union (ITU) ร่วมสนับสนุน

ภายในงานสัมมนา ท่านจะได้รับทราบถึงความรู้เชิงวิชาการและข้อเท็จจริงอันจะเกิดขึ้น รวมถึงผลกระทบของเทคโนโลยีระบบดิจิทัลที่จะเข้ามามีบทบาทต่อประเทศไทยเมื่อ Satellite TV และ Mobile TV เป็นตัวกลางในการสื่อสารและการเข้าถึงของข้อมูล ความเท่าเทียมกันทางสังคมในยุค TV Digital และกรณีศึกษาโดย ผู้แทนจาก International Telecommunication Union (ITU) บทบาทขององค์กรกำกับดูแลในมิติทางสังคม การจัดสรรคลื่นความถี่ใบอนุญาตและการส่งเสริมโดย พันเอก ดร. นที ศุกลรัตน์ รองประธานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ การเสวนาหัวข้อเรื่อง มองมุมใหม่....ทีวีดาวเทียมไทยโดย วิทยากรชั้นนำและผู้คร่ำหวอดในวงการSatellite TV ในประเทศไทย นอกจากนี้ ในการสัมมนาช่วง Session II : New Business Model of Mobile TV ประกอบด้วย Presentation กลยุทธ์การขับเคลื่อนสู่ผู้นำ Digital Mobile TVเสวนาหัวข้อเรื่อง มองมุมใหม่ Mobile TV และประเด็น White Space Policy ในแต่ละประเทศโดยวิทยากรเจ้าของระบบ DVB ยุโรป, ISDB-T ญี่ปุ่น, DTMB จีน และ CMMB จีนและตัวแทนบริษัทผู้นำทางเทคโนโลยีการสื่อสารชั้นนำของโลก ในวันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 08.30–15.30 น. ณ ห้องบอลรูม ชั้น 4 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริษัทเอ๊ช (ACE) โทร. 02-254-8282-3 โทรสาร 02-254-8284 หรือคลิก www.digitalagendathailand.com

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

ที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์

ยุพา โทร. 08-6888-2323, จิดาภา โทร. 08-1817-7153

-กผ-