กรุงเทพฯ--14 ธ.ค.--วาโซ่
ไขปัญหาการจ่ายค่าจ้าง ค่าตอบแทน และวิธีปรับค่าจ้าง
Wages and Salary Payment andAdjustment Solutions
อบรมวันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2554
ณ ห้องสัมมนา คีนคอนเฟอเรนซ์ ชั้น 4
KEEN Conference
ห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์ พาร์ค
(ฝั่งโฮมโปรหรือ ตลาดเสรีมาร์เก็ต) ถนนศรีนครินทร์
Rational and Significance
ในการบริหารทรัพยากรบุคคล หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของฝ่ายนายจ้างตามสัญญาจ้าง คือ การจ่ายค่าจ้าง ซึ่งในกิจการต่าง ๆ มักจะมีการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ ให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 1 ชื่อ เช่น เงินเดือน ค่าครองชีพ ค่าคอมมิชชั่น ค่านายหน้า ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าภาษา ค่าตำแหน่ง ค่าเสี่ยงภัย ค่าเข้ากะ ฯลฯ เงินต่างๆ ที่ฝ่ายนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ดังตัวอย่างที่ยกมานั้น ล้วนเข้าข่ายเป็นเงินค่าจ้างทั้งสิ้น ปัญหาจะติดตามมาและมีผลกระทบทำให้นายจ้างอีกหลายประการ เพราะกฎหมายจะบังคับให้นำเงินทุกประเภทที่เป็นค่าจ้างดังกล่าวมารวมกันก่อน จากนั้นจึงคูณด้วย 1.5 เท่า 2 เท่า หรือ 3 เท่า เพื่อจ่ายเป็นค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือ ค่าล่วงเวลาในวันหยุด หรือ ถ้าจะต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงานของลูกจ้างซึ่งมี 5 อัตรา คือไม่น้อยกว่า 1 เท่า 3 เท่า 6 เท่า 8 เท่า และ 10 เท่าของค่าจ้าง ซึ่งนายจ้างจะต้องนำเงินทุกรายการที่กฎหมายถือว่าเป็นค่าจ้าง มารวมกัน มิใช่คูณจากอัตราเงินเดือนตัวเดียว
ปัญหาสำคัญ คือ ปัจจุบันฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายบัญชีและการเงิน แม้กระทั่งฝ่ายกฎหมาย มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องดังกล่าวเพียงไร ถ้ารู้จริงก็ดีไป หากรู้ไม่จริง เวลาถูกฟ้อง ศาลบังคับให้จ่ายค่าชดเชย หรือ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือ ค่าเสียหายจะกี่เท่าของค่าจ้างก็ตาม อาจกลายเป็นว่า นายจ้างต้องเอาเงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายในปัจจุบัน มารวมกันก่อนคูณจำนวนเท่าของค่าจ้าง
สิ่งสำคัญประการต่อมา คือถ้าฝ่ายนายจ้างไม่ต้องการให้เงินที่จ่ายแก่ลูกจ้างไปแล้ว มีสถานภาพ เป็นค่าจ้าง จะกระทำได้ด้วยวิธีการใด เพียงไร ตามแนวทางที่ศาลฎีกาเปิดช่องไว้ให้ เรื่องนี้ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงาน และ คำพิพากษาฏีกาคดีแรงงาน จะได้มาชี้แจงแนะนำให้ในวันสัมมนาต่อไป
อีกประการหนึ่ง กิจการท่านทราบไหมว่า ในภาคเอกชนนั้น มีการปรับค่าจ้างด้วยวิธีการต่างๆ มากมาย ปัจจุบันรวบรวมมาได้ถึง 25 วิธี ท่านควรให้ความสนใจมาศึกษาเรียนรู้วิธีการต่างๆ ดังกล่าว เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกิจการของท่าน หากไม่เข้าร่วมรายการสัมมนาในครั้งนี้ กิจการของท่านอาจสูญเสียโอกาสที่ดีในการเลือกวิธีการปรับค่าจ้างที่เป็นประโยชน์มากกว่าวิธีการที่กิจการของท่าน เคยทำอยู่ในปัจจุบันก็ได้
Training Schedule 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-16.30 น
1. ความหมายของ ค่าจ้าง/ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ/ ค่าล่วงเวลา/ ค่าทำงานในวันหยุด/ ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ฯลฯ
2. เงินที่ฝ่ายนายจ้างจ่าย จะต้องเป็นค่าจ้าง ถ้าเข้า 4 เกณฑ์ใด ที่ศาลฎีกาวางบรรทัดฐานไว้
3. องค์ประกอบ 5 ประการ ของเงินประเภทใด ที่ศาลฎีกาไม่ถือเป็นค่าจ้าง
4. เงินที่นายจ้างจ่าย อย่างน้อย 35 ชื่อ มีเงินใดบ้างที่ศาลฎีกาถือเป็นค่าจ้าง (จาก ฎีกาประมาณ 40 คดี)
5. สิทธิของนายจ้าง ในเรื่องค่าจ้างมีเพียงไร
6. หลักเกณฑ์ในการขึ้นเงินเดือน อันเป็นสิทธิทางการบริหาร ทำไมศาลฎีกาไม่ให้มีผลใช้บังคับ
7. การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง ทำได้อย่างไร และมีผลผูกพันลูกจ้างเพียงไร
8. ลูกจ้างทดลองงานนั้น นายจ้างจ่ายในอัตราต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำได้หรือไม่
9. ลูกจ้างทำงานมา 2 ปี ตกลงรับค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ – ทำไมจึงไม่ผิดกฎหมาย
10. ลูกจ้างตกลงไม่รับค่าจ้าง เมื่อนายจ้างหยุดงาน – ทำไมจึงมีผลใช้บังคับได้ และ ไม่ได้
11. ทำไมนายจ้างใช้มติการประชุมยกเลิกการจ่ายเงินรางวัลมิได้
12.ทำสัญญาถ้าลาออกก่อนทำงานครบ 18 เดือน หากฝ่าฝืน จึงมีผลใช้บังคับให้ลูกจ้างจ่ายค่าเสียหายได้
13. ทำไมลูกจ้างขาดงาน งดจ่ายค่าจ้างในวันขาดงานมิได้ (ยกตัวอย่างฎีกาประกอบ)
14. ทำไมทำงานครบปีแล้ว นายจ้างไม่ขึ้นค่าจ้างให้ จึงกระทำได้โดยชอบ (ยกตัวอย่างฎีกาประกอบ)
15. ทำไมนายจ้างหักภาษีจากเงินบำเหน็จ และ ค่าชดเชยมิได้ (ยกตัวอย่างฎีกาประกอบ)
16. ทำไมนายจ้างไม่จ่ายโบนัส จึงทำได้โดยชอบ (ยกตัวอย่างฎีกาประกอบ)
17. ทำไมเปลี่ยนหลักเกณฑ์และงบฯขึ้นเงินเดือน จึงทำได้โดยชอบ (ยกตัวอย่างฎีกาประกอบ)
18. สาระสำคัญของค่าจ้างขั้นต่ำมีอย่างไร
19. คณะกรรมการค่าจ้าง ใช้เกณฑ์ใดกำหนดขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ
20. หลักเกณฑ์การกำหนดขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมีอย่างไร
21. สาเหตุ 6 ประกอบ ที่มีการปรับค่าจ้างให้ลูกจ้าง มีอะไรบ้าง
22. เมื่อมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ภาคเอกชน มีวิธีการปรับถึง 25 วิธี แต่ละวิธีแตกต่างกันอย่างไร
23. ข้อควรระวัง 6 ประการ ในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ มีอะไรบ้าง
24. ข้อพิพาทเรื่องค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด มีอายุความกี่ปี เหตุใดหมดอายุความแล้ว ก็ยังฟ้องร้องได้
25. ทำไมนายจ้าง ไม่มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา และทำงานในวันหยุด หากฝ่าฝืน ทำไมมีโทษจำคุกนายจ้าง
26. นายจ้างมีสิทธิสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา โดยไม่ต้องถามความสมัครใจ ในกรณีใดบ้าง
27. นายจ้างมีสิทธิสั่งให้ลูกจ้างกิจการใดบ้าง ที่ต้องมาทำงานในวันหยุด โดยไม่ต้องถามความสมัครใจได้โดยชอบ
28. สัญญาจ้างโดยจ่ายค่าล่วงเวลาเหมา ทำไมจึงตกเป็นเป็นโมฆะ และ กรณีใดที่มีผลใช้บังคับได้ ลู
29. กจ้างขับรถประจำตำแหน่ง ที่ได้ค่าล่วงเวลาเหมาไปแล้ว ทำไมฟ้องเรียกค่าล่วงเวลาย้อนหลังได้
30. ตกลงสละค่าล่วงเวลา กรณีใด จึงมีผลผูกพันใช้บังคับได้ (ตัวอย่าง ฎีกาประกอบ)
Instructor
อ.รุ่งเรือง บุตรประคนธ์
ฯลฯ
Registration Fee ท่านละ 3,200 บาท + ภาษี 7 % = 3,424 บาท กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510
Registration Fee ท่านละ 3,200 บาท รวม ภาษี 7 % = 3,424 บาท กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 ถนนสามวา แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510
How to Apply สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2 หรือ แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231
Payment Method เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจากต่างจังหวัด)
Notice of Cancellation
ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน
Remark
การส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนากับWASO Training Center นอกจากจะนำความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้แล้ว สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200% ตามพระราชกฤษฏีกา ที่ 437
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit