กรุงเทพฯ--19 ธ.ค.--คอร์ แอนด์ พีค
มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย เผยคนไทยควรใส่ใจระวังโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้มากขึ้น หลังพบว่าในปี 2554 มีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนสูงขึ้น โดยพบว่าผู้ชายป่วยมากเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งตับและมะเร็งปอด ส่วนเพศหญิงขึ้นเป็นอันดับที่ 5 เผยปัจจุบันมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่มากมาย แต่ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน
ผศ.นพ.เอกภพ สิระชัยนันท์ อุปนายก มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทยและหัวหน้าหน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเผยแพร่ข่าวสารความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง และเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนได้เข้าใจ และสำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญมาก โดยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นจากเซลล์เยื่อบุลำไส้ใหญ่ซึ่งเป็นทางเดินอาหารส่วนปลาย ลำไส้ใหญ่สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ ลำไส้ใหญ่โคลอน (Colon) และมีส่วนลำไส้ใหญ่ส่วนปลายคือช่วงส่วนยาว 6 นิ้วสุดท้ายก่อนถึงทวารหนัก เรียกว่า ลำไส้ใหญ่ เรคตั้ม (Rectum) มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่มีความสำคัญมากอย่างหนึ่ง จากสถิติทั่วโลกพบมะเร็งลำไส้ใหญ่มากเป็นอันดับ 4 ในผู้ชาย และเป็นอันดับ 3 ในผู้หญิง นอกจากนี้โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งในอันดับที่ 4 รองจากมะเร็งปอด, มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งตับ ในประเทศไทย พบโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ชายมากเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งตับและมะเร็งปอด พบมากเป็นอันดับที่ 5 ในผู้หญิง รองจากโรคมะเร็งปากมดลูก, มะเร็งเต้านม, มะเร็งตับและมะเร็งปอด
สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ค่อนข้างสลับซับซ้อนและยังไม่ชัดเจนว่าเกิดจากอะไร แต่ปัจจุบันมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ อยู่หลายปัจจัย อาทิ คนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป , มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่, คนที่เคยมีประวัติเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูกและมะเร็งเต้านม มาก่อน, คนที่เคยมีติ่งเนื้อ (Polyps) ในลำไส้ใหญ่, คนที่เคยเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ เคยเป็นโรคอ้วน และสูบบุหรี่ มาก่อน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะต้องเกิดมะเร็งทุกรายไป
ผศ.นพ.เอกภพ กล่าวว่า อาการที่ชวนสงสัยว่าอาจเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่พบบ่อย ได้แก่อุจจาระมีมูกเลือดหรือสีดำคล้ำ หรือดำแดงนิสัยการขับถ่ายเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีอาการท้องผูก หรือท้องเสียเกิดขึ้นใหม่ หรือมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย ขนาดของเส้นอุจจาระเล็กลงกว่าปกติมีความรู้สึกเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุดมีอาการแน่นท้อง, ท้องอึด, ปวดท้อง, อาเจียน มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลดโดยไม่รู้สาเหตุวิธีการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ควรรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ รับประทานอาหารที่มีผักผลไม้มากๆ หลีกเลี่ยงอาหารพลังงานสูง เช่น ของหวานของมันเพื่อหลีกเลี่ยงโรคอ้วนออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ และทำการตรวจคัดกรองโรคกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการชวนสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
สำหรับ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จากผลการศึกษาการตรวจกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ในต่างประเทศ ทำให้มีคำแนะนำให้ตรวจคัดกรองโรคนี้ในประชากรทั่วไปอายุ 50 ปี หรือมากกว่า หรือคนที่มีประวัติโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว หรือคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรควิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่ การตรวจหาเลือดในอุจจาระ การสวนแป้งดูลำไส้ใหญ่ หรือการตรวจลำไส้ใหญ่ทางกล้อง และหากมีอาการชวนสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แพทย์จะทำการตรวจโดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย การตรวจหาเลือดในอุจจาระ การสวนแป้งดูลำไส้ใหญ่และหรือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่พร้อมกับการตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา หลังจากนั้นแพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ของช่องท้อง และอื่นๆ เพื่อประเมินความระยะของโรค และการแพร่กระจายของโรค
อุปนายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทยกล่าวต่อว่า แพทย์ให้การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้หลายวิธี แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและตำแหน่งลำไส้ใหญ่ที่ผู้ป่วยเป็น เช่น 1. การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกสำหรับผู้ป่วยระยะแรก , ระยะที่ 2 และ 3 เพื่อป้องกันการกลับมาของโรค , การรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัด โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โคลอน และผู้ป่วยมะเร็งเรคตั้มระยะที่ 2 -3 บางราย ควรได้รับการรักษาเสริมด้วยรังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบำบัด 3.การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพร่กระจายหรือระยะที่ 4 ที่มีร่างกายแข็งแรงพอ การรักษาก็สามารถทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น และ 4. การรักษาประคับประคอง เช่น การรักษาด้วยรังสีรักษาเพื่อควบคุมอาการปวดและอาการอื่นๆ จากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และการให้ยาเพื่อบรรเทาและควบคุมอาการปวดจากโรคมะเร็ง
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit