กรุงเทพฯ--14 ก.พ.--MMM Digital Asset
- ในระหว่างช่วงการสร้างเอพพิโซด 2 (2002) และเอพพิโซด 3 (2005) ผู้กำกับจอร์จ ลูคัส ได้เริ่มมีไอเดียของการนำเสนอตำนานการผจญภัยแห่ง Star Wars ทั้งหมดในโรงภาพยนตร์ด้วยรูปแบบ 3 มิติ การแปลงผลงานเป็นระบบ 3 มิติของ Star Wars: Episode I The Phantom Menace เริ่มขึ้นเมื่อปี 2010
- Star Wars: Episode I The Phantom Menace ต้องใช้ความพยายามในการแปลงภาพเฟรมต่อเฟรมจากระบบ 2 มิติเป็น 3 มิติ ต้องขอบคุณในความพยายามของ Prime Focus บริษัทที่ให้บริการด้านภาพความบันเทิงระดับโลก และ Industrial Light & Magic (ILM) บริษัทวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์อันทรงพลังที่สร้างวิชวลต่างๆ ในภาพยนตร์ Star Wars
- ภาพยนตร์ถ่ายทำเพื่อภาพระบบ 3 มิติโดยใช้กล้องชนิดพิเศษที่จับ 2 ภาพสำหรับตาแต่ละข้างพร้อมกันได้ โดยภาพจะพุ่งออกมาระหว่างที่มีการแสดง เพื่อสร้างภาพที่หลอกตาในด้านลึก ภาพยนตร์สร้างขึ้นในระบบ 2 มิติโดยมีภาพเดียวต่อ 1 เฟรม สำหรับการแปลงเป็นระบบ 3 มิติ ขั้นตอนการสร้างวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์จะเห็นได้จากมุมมองที่ 2 เพราะจะมองเห็นภาพทั้งสองในเวลาเดียวกัน โดยปกติระบบ 3 มิติถูกเรียกกันว่า "ระบบสเตอริโอ" ในวงการภาพยนตร์
- เช่นเดียวกับการลำดับภาพ การแปลงภาพเป็นระบบ 3 มิติเป็นขั้นตอนการสร้างผลงานทางศิลปะที่ต้องใส่ความงดงามที่ดีที่สุดขไป จอร์จ ลูคัสอยากนำเสนอเอพพิโซด 1 ในระบบสเตอริโอที่สมจริงเหมือนกับภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในระบบ 3 มิติ เขาไม่อยากให้ใส่ภาพลวงตาลงไป เช่น วัตถุที่แตกกระจายพุ่งผ่านจอเพื่อเอ็ฟเฟ็กต์ 3 มิติ แต่เขาอยากเพิ่มในแง่ความลึกของภาพที่มีอยู่มากกว่า
- ผู้ควบคุมการแปลงภาพระบบสเตอริโอของเอพพิโซด 1 คือจอห์น นอล ผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์แห่ง ILM คนเดียวกับที่ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ในการสร้างเอพพิโซด I, II และ III ของตำนาน Star Wars ภาคต้นฉบับ นอลมีอดีตร่วมกับภาพยนตร์มาอย่างยาวนาน เขาจึงสามารถคำนวณความลึกของฉากที่จะนำเสนอออกมาได้อย่างแม่นยำ
- เอพพิโซด 1 เป็นภาพยนตร์ Star Wars เรื่องสุดท้ายที่ถ่ายทำบนฟิล์ม สำหรับในการฉายเมื่อปี 1999 ภาพยนตร์ทั้งหมดถูกรวมเข้ากันไว้ในระบบดิจิตอลที่มีฉากวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์มากกว่า 2,000 ฉาก จากนั้นได้มีการแปลงสภาพให้เป็นฟิล์มเพื่อแก้สีและนำไปฉาย มันถูกแก้สีในระบบอ็อปติกพร้อมกับขั้นตอนทางเคมีของการล้างฟิล์ม สำหรับการฉายในโรงภาพยนตร์ปี 2012 เหล่าผู้ชำนาญได้กลับไปใช้เทปและพิมพ์ฟิล์มต้นฉบับสำหรับการแปลงเป็นระบบสเตอริโอ และให้สีกับภาพยนตร์ในระบบดิจิตอล ภาพที่ได้จะเห็นถึงคุณค่าของทั้ง 2 รุ่นทั้งในระบบ 2 มิติและ 3 มิติ ซึ่งนี่เป็นเอพพิโซด 1 ที่ดีสุดตั้งแต่เคยเห็นมา
- ความท้าทายที่สำคัญในการแปลงเป็นระบบสเตอริโอ คือฉากที่มีส่วนประกอบของความโปร่งใส เช่น ภาพโฮโลแกรม ดาบพลังแสง เลเซอร์ ปีกที่กระพืออยู่ของวัตโต้ หรือกระจกบังลมพอดเรเซอร์ของอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ เพราะเอพพิโซด 1 มีการฉายนานกว่า 12 ปีที่แล้ว ผู้ชำนาญด้านการแปลงภาพไม่สามารถกลับไปแยกองค์ประกอบแต่ละส่วนที่ประกอบกันขึ้นมาในการสร้างภาพต้นฉบับได้ พวกเขาเลยต้องสร้างกับภาพที่เสร็จสิ้นแล้วแทน
- ถึงแม้เอพพิโซด 1 จะมีการเติมทิวทัศน์แบบกว้างที่งดงามเข้าไป แต่ก็มีฉากโคลสอัพและมีสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นมาและให้อารมณ์ด้านความลึกของภาพได้อย่างดีเยี่ยม สำหรับภาพ 3 มิติเกิดขึ้นได้เพราะวัตถุต่างๆ เข้าใกล้ผู้ชมมากขึ้น ถูกมองเทียบเคียงกันระหว่างตาซ้ายและตาขวาของผู้ชมจะเห็นความลึกของมุมรายละเอียดอย่างใกล้ชิด วัตถุที่อยู่ไกลมีการเทียบวางระหว่างตาทั้ง 2 น้อยที่สุดและดูมีขนาดที่เล็กลง
- ไม่มีเนื้อเรื่องใดเปลี่ยนแปลงในการสร้างเอพพิโซด 1 ในระบบ 3 มิติ จอร์จ ลูคัส ได้แทนที่หุ่นโยดาในเอพพิโซด 1 ภาคต้นฉบับด้วยการย้อนไปหาโยดาในรูปแบบดิจิตอลของปี 2003 ในการแปลงฟิล์มให้เป็นเทป ต้องมีการขยายภาพขึ้น 8% เพราะฉะนั้นเราจะได้ภาพบนจอที่ใหญ่ขึ้น 8%
Star Wars: Episode I The Phantom Menace (3D)
สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด I : ภัยซ่อนเร้น
9 กุมภาพันธ์นี้ ในโรงภาพยนตร์ระบบ 3 มิติ
ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่
http://www.facebook.com/Fox.Thailand
http://www.youtube.com/starwars
-กผ-
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net