กรุงเทพฯ--10 ก.พ.--MMM Digital Asset
มหากาพย์ภาพยนตร์ผจญภัย STAR WARS: EPISODE 1 THE PHANTOM MENACE (สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 1ภัยซ่อนเร้น) ผลงานจากจินตนาการของผู้สร้างภาพยนตร์จอร์จ ลูคัส ที่สร้างความประทับใจให้ผู้ชมทั่วโลกเมื่อครั้งที่มีการฉายครั้งแรกในปี 1999 กองทัพกำลังได้กลับมาแล้ว แต่คราวนี้เป็นรูปแบบ 3 มิติที่จะมอบมิติให้ภาพยนตร์อย่างเต็มอิ่ม และพลิกให้เป็นประสบการณ์ของการชมภาพยนตร์ที่มีความเข้มข้นขึ้น
ต่อไปนี้เป็นการพูดคุยกับจอร์จ ลูคัส ถึงเรื่อง ‘STAR WARS: EPISODE 1 THE PHANTOM MENACE 3D’: ทำไมเขาถึงนำกลับมาคืนจอภาพยนตร์ เส้นทางอาชีพของเขาเริ่มต้นอย่างสวยหรูแค่ไหน
และทำไมตำนานการผจญภัยแห่ง ‘STAR WARS’ ถึงยังดังกึกก้องอยู่ การได้ชมภาพยนตร์เรื่อง STAR WARS: EPISODE I THE PHANTOM MENACE ในระบบ 3 มิติบนจอภาพยนตร์เป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ภาพยนตร์ STAR WARS ภาคแรกที่จะนำเสนอในรูปแบบ 3 มิติอันน่าตื่นตา ความตื่นเต้นทั้งหมดของภาคต้นฉบับยังคงอยู่แต่มีการเสริมมิติและความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ เข้าไป
จอร์จ ลูคัส เป็นผู้สร้างภาพยนตร์ที่เป็นผู้บุกเบิกและเป็นผู้สร้างสีสันให้เบื้องหลังภาพยนตร์เรื่อง STAR WARS เขาควบคุมขั้นตอนด้วยความขึ้นชื่อเรื่องการใส่ใจรายละเอียด จอห์น นอล ผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์แห่ง Lucasfilm's Industrial Light & Magic (ILM) มีหน้าที่แปลงสภาพให้มีความสมจริง เขาทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ให้ภาพยนตร์ภาคต่อเรื่อง Star Wars ทั้ง 3 ตอน ส่วนภาพยนตร์เรื่อง STAR WARS อีก 5 ตอนที่เหลือจะถูกแปลงเป็นภาพ 3 มิติในอีกไม่กี่ปี
“ผมคิดว่าภาพ 3 มิติทำให้ได้เต็มอิ่มกับภาพยนตร์มากขึ้น” จอห์น นอล กล่าวว่า “มิติที่เพิ่มเข้ามาทำให้ผู้ชมรู้สึกว่ากำลังอยู่ในจักรวาล STAR WARS มากขึ้น ผมอยากแน่ใจว่าเราไม่ได้ทำให้ให้มันดูมีเล่ห์กล มันควรรู้สึกว่าเป็นธรรมชาติ ไม่ทำให้รู้สึกตึงสายตาหรือทำให้ดูด้อยคุณภาพ ผมเลยไม่ได้มองหาจังหวะดึงภาพออกมาจากกล้อง ผมทำให้ดูเป็นภาพระบบสเตอริโอที่สมจริงเหมือนที่ภาพยนตร์ถ่ายทำในระบบสเตอริโอจริงๆ ผมคิดว่าภาพยนตร์ดูดีกว่าของเก่านะ”
ตอนที่เริ่มฉายภาพยนตร์ภาคต้นฉบับเรื่อง STAR WARS ในปี 1977 (STAR WARS: EPISODE IV - A NEW HOPE) ภาพยนตร์แฟรนไชส์ได้สร้างปรากฏการณ์ไปทั่วโลก แกนของเรื่องสะท้อนสิ่งที่เป็นเอกภาพที่เป็นการเฝ้าจับตาดูการต่อสู้กันะหว่างฝ่ายดีและฝ่ายร้าย รวมถึงเทคโนโลยีและมนุษยชาติ ภาพยนตร์เรื่อง STAR WARS ตอนสุดท้าย THE REVENGE OF THE SITH มีการฉายในปี 2005
STAR WARS เป็นภาพยนตร์แฟรนไชส์เรื่องหนึ่งที่ได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จมากที่สุดตลอดกาล หลังจากการตอบรับและความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกของภาพยนตร์เรื่อง STAR WARS ที่ชื่อ STAR WARS: EPISODE I THE PHANTOM MENACE ซึ่งมีการฉายในปี 1999 ภาพยนตร์นำแสดงโดยเลียม นีสัน ที่รับบทเป็น ไควกอน จินน์ และ ยอน แม็คกรีเกอร์ ที่รับบทเป็น โอบีวัน เคโนบี ลูกศิษย์ของเขาซึ่งเป็นอัศวินเจไดหนุ่มที่มีความมุ่งมั่น นาตาลี พอร์ทแมน รับบทเป็น ราชินีอามิดาลา เจค ลอยด์ รับบทเป็น อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ ภาพยนตร์เป็นการผจญภัยที่น่าตื่นเต้นอย่างน่าอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 32 ปีก่อนเหตุการณ์ดั้งเดิม ภาพยนตร์ติดตามการผจญภัยของอนาคินเมื่อเขาเดินตามความฝัน และเผชิญหน้ากับความกลัวของเขาท่ามกลางจักรวาลที่มีความวุ่นวาย
ผู้เขียน ผู้กำกับ และผู้สร้างภาพยนตร์จอร์จ ลูคัส เป็นผู้สร้างตำนานการผจญภัย STAR WARS ที่ประสบความสำเร็จเป็นปรากฏการณ์ และภาพยนตร์ซีรี่ส์เรื่อง INDIANA JONES ลูคัสกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกที่ชื่อ THX 1138 เมื่อปี 1970 ในปี 1971 ลูคัสได้ก่อตั้งบริษัท Lucasfilm Ltd. ของตัวเองขึ้นมา ในปี 1973 เขาได้ร่วมเขียนและกำกับภาพยนตร์เรื่อง AMERICAN GRAFFITI หลังจากนั้น 4 ปีลูคัสได้เขียนและกำกับเรื่อง STAR WARS ที่ทำลายสถิติบ็อกซ์ ออฟฟิศทั้งหมดและกวาดรางวัล Oscar ไป 7 รางวัล
ต่อมาลูคัสร่วมเขียนเรื่อง THE EMPIRE STRIKES BACK และ RETURN OF THE JEDI ที่เขาทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างบริหารด้วย ในปี 1980 เขาได้ร่วมเขียนและเป็นผู้อำนวยการสร้างบริหารให้เรื่อง RAIDERS OF THE LOST ARK ที่กำกับโดย สตีเฟ่น สปีลเบิร์ก ภาพยนตร์กวาดรางวัล Oscar ไป 5 รางวัล ภาพยนตร์เรื่องอื่นของเขา ได้แก่ INDIANA JONES AND THE TEMPLE OF DOOM, WILLOW, TUCKER: THE MAN AND HIS DREAM และ INDIANA JONES AND THE LAST CRUSADE เขาเขียนและกำกับ STAR WARS: EPISODE II ATTACK OF THE CLONES และ STAR WARS: EPISODE III REVENGE OF THE SITH ในปี 1992 เขาได้รับรางวัล Irving G. Thalberg Award อันทรงเกียรติสำหรับการประสบความสำเร็จด้านการสร้างภาพยนตร์
การสนทนาร่วมกับจอร์จ ลูคัส
คำถาม: คุณตื่นเต้นกับภาพยนตร์คลาสสิคเรื่อง STAR WARS: EPISODE I THE PHANTOM MENACE ในรูปแบบ 3 มิติขนาดไหน?
คำตอบ: “ผมตื่นเต้นกับการฉายภาพยนตร์บนจอยักษ์ครั้งใหม่มาก เราทำงานกันอย่างหนักเพื่อให้ได้คุณภาพระดับ 3 มิติเท่าที่เราทำได้ ประสบการณ์บนจอภาพยนตร์ดีกว่าการรับชมทางทีวีมาก มันถูกออกแบบมาเพื่อพาเราเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้น และรายล้อมเราด้วยภาพและเสียงที่ไม่มีอะไรเสมอเหมือน ผมดีใจมากที่เราสามารถนำประสบการณ์ทั้งหมดนี้มาสู่รุ่นต่อไปได้ นี่จะเป็นรุ่นที่ 3 ที่จะได้ชมภาพยนตร์บนจอยักษ์ ซึ่งตอนที่เราเป็นเด็กมันเป็นช่วงเวลาที่ทรงพลังมาก”
คำถาม: ทำไมคุณถึงคิดว่าผู้ชมควรมาสัมผัสประสบการณ์แห่ง STAR WARS ในระบบ 3 มิติบนจอภาพยนตร์เป็นพิเศษ? คำตอบ: “STAR WARS ถูกออกแบบเมื่อพาการรับชมบนจอภาพยนตร์เพราะมันเป็นประสบการณ์เหมาะที่สุด ผมเคยทำงานร่วมกับระบบ 3 มิติมาพักหนึ่งแล้ว และผมรู้ได้เลยว่าประสบการณ์ทั้งหมดจะดีขึ้นด้วยระบบ 3 มิติ ไอเดียเบื้องหลังของ STAR WARS คือเราอยู่ในโลกประหลาดนี้ ซึ่งมันดีขึ้นมากในระบบ 3 มิติพร้อมด้วยเสียงที่มีการปรับปรุง”
คำถาม: คุณช่วยเล่าได้มั้ยว่าสิ่งที่ขับเคลื่อนเรื่องราวนี้คืออะไร?
คำตอบ: “ในตอนแรกเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับพ่อลูก STAR WARS เป็นเรื่องราวของยุคสมัยที่คนรุ่นหนึ่งพยายามปรับปรุงสิ่งที่คนรุ่นก่อนเคยสร้างไว้ เกี่ยวกับคนรุ่นหนึ่งต้องอยู่กับความผิดพลาดที่คนรุ่นก่อนเคยสร้างไว้ เรื่องราวมี 2 ด้าน ทำไมคนที่ดูดีในตอนแรกถึงกลับชั่วร้ายได้? และมันสะท้อนถึงการเดินทางของพ่อเขา เขากลายเป็นฝ่ายร้ายได้อย่างไรและมันเป็นการติดตามการเดินทางของลูกชายที่ต่อต้านการเป็นฝ่ายร้าย และเป็นขั้นตอนของการกู้ชื่อเสียงให้พ่อของเขา เป็นช่วงยุคใหม่ที่ต้องพยายามกอบกู้โลก”
คำถาม: การพัฒนาด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์มีอิทธิพลต่อการถ่ายทอดเรื่องราวอย่างไรบ้าง?
คำตอบ: “หนัง 3 ภาคแรกถูกสร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันด้วยฉากที่มีอยู่อย่างจำกัด มีสัตว์ประหลาดและยานอวกาศที่มีจำนวนจำกัด แต่ในตอนที่ผมสร้างตอน PHANTOM MENACE และหนังภาคต่ออีก 2 ตอนผมมีความเป็นอิสระ เพราะเราได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านภาคแล้วในตอนนั้น ผมสามารถทำทุกอย่างได้ตามที่ต้องการ ผมเริ่มจากภาพเขียนบนกำแพงโดยพื้นฐานและภาพวาดบนเพดานโบสถ์ เพื่อจัดการกับภาพสีน้ำมันและดูแสงแดดส่องแสงไปสู่ใบไม้ และดูโลกทั้งใบในแบบที่ต่างออกไป”
คำถาม: คุณประหลาดใจกับความสำเร็จที่มาจาก STAR WARS มั้ย?
คำตอบ: ผมไม่ได้หวังเรื่องความสำเร็จของภาพยนตร์เลย ผมไม่คิดว่าใครคาดคิดด้วย มันเลยเป็นความประหลาดใจอย่างมาก”
คำถาม: ทำไมถึงเว้นช่วง 16 ปีของภาพยนตร์เรื่อง Star Wars กับภาพยนตร์ไตรภาคชุดที่ 2 แล้วภาพยนตร์มีการพัฒนาเนื้อเรื่องอย่างไรบ้าง?
คำตอบ: “ในเริ่มแรกภาพยนตร์ไตรภาคชุดที่ 2 เป็นเรื่องราวความเป็นมาที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อไตรภาคแรก ซึ่งเป็นคำตอบของทุกข้อสงสัยที่อยู่ในไตรภาคแรกเกี่ยวกับอาณาจักรว่า ซิธเป็นใคร เจไดคือใคร ส่วนใหญ่ใน THE PHANTOM MENACE และเรื่องราวทั้ง 3 ตอนที่ต่อจากนั้นเป็นเรื่องราวของที่มาที่ไป เช่น ดาร์ธ เวเดอร์มาจากที่ไหน? เขามีเรื่องราวอย่างไร เขาจะเป็นอย่างไรต่อไป? เขาได้กลายเป็นดาร์ธ เวเดอร์ได้อย่างไร? ในส่วนหนึ่งแล้วมันมีการเปิดเผยตัวเองขึ้นมา ผมต้องจัดการกับเรื่องรายละเอียดเหล่านี้ทั้งหมด เรื่องราวความเป็นมาไม่ได้เป็นปัญหาเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีเหมือนกับภาคแรก ผมเลยใส่พวกสัตว์ประหลาดและโลกอีกหลายใบได้มากเท่าที่ผมต้องการ สำหรับภาคแรกผมมีข้อจำกัดเยอะมากและนั่นผลักดันให้ผมไปยังก้าวต่อไป และถ่ายทอดเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้น”
คำถาม: เมื่อมองย้อนไปถึงเรื่อง PHANTOM MENACE กับภาพยนตร์ไตรภาคชุดที่ 2 คุณมีความเห็นอย่างไรบ้าง?
คำตอบ: “ผมรักเนื้อเรื่อง ผมรักที่ผมสามารถถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับดาร์ธ เวเดอร์ทั้งหมดได้ หรืออย่างที่ผมชอบเรียกว่าโศกนาฎกรรมของดาร์ธ เวเดอร์ มันเกี่ยวกับเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นและถ่ายทอดเรื่องราวทั้งหมดได้ตั้งแต่ต้นจนจบ”
คำถาม: อะไรทำให้คุณอยากแปลงภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นระบบ 3 มิติ?
คำตอบ: “ในตอนแรกผมไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้ของเรื่อง 3 มิติเลย จริงๆ แล้วผมเคยคิดว่าภาพ 3 มิติเป็นพวกเรื่องหลอกลวง ต่อมาผมพยายามนำเครื่องฉายระบบดิจิตอลมาสู่โรงภาพยนตร์ ผมทำการนำเสนอที่ลาสเวกัส บ็อบ เซเม็กคิส และ จิม คาเมรอนมาหาผมและพูดว่า ‘เราอยากนำ 3 มิติมาสู่โรงภาพยนตร์ คุณจะมาร่วมกับเราเพื่อแสดงให้เจ้าของโรงเห็นมั้ยว่าคุณสามารถสร้างหนัง 3 มิติได้?’ ผมก็ตอบว่า ‘ก็ดีเลยเพราะการสร้างหนัง 3 มิติเราต้องมีโรงหนังระบบดิจิตอล มันเลยเป็นการสนับสนุนไอเดียเรื่องโรงภาพยนตร์ระบบดิจิตอลของผม’ จากนั้นผมก็ได้ดูการทดสอบที่เราสร้าง STAR WARS ในระบบ 3 มิติ แล้วผมก็เข้าใจเลยว่ามันยิ่งใหญ่ขนาดไหนและมันดูดีขนาดไหน ผมกลับหลงใหลกับไอเดียของการแปลง STAR WARS เป็นรูปแบบ 3 มิติ ซึ่งมันพูดได้ง่ายกว่าการลงมือทำ มันทำให้เราต้องใช้เวลาในการพัฒนาโครงสร้างที่เราสามารถแปลงหนัง 2 มิติให้เป็น 3 มิติได้อย่างดี”
คำถาม: มีความท้าทายอะไรบ้าง?
คำตอบ: “ผมไม่อยากให้อะไรต่างๆ พุ่งเข้ามาหาผู้ชม ผมอยากให้ทุกอย่างอยู่ด้านหลังของสิ่งที่อยู่ด้านหน้า ผมอยากให้ภาพ 3 มิติเป็นเหมือนศิลปะ เราต้องมีศิลปินที่มีความรู้สึกเข้าถึงสิ่งต่างๆ ที่เหมาะกับเฟรม มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนแต่มันเป็นเรื่องสำคัญมาก เรามีข้อได้เปรียบเพราะเรามีผู้เชียวชาญด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์อย่างจอห์น นอล เรามีกลุ่มผู้มีความชำนาญจาก ILM (Industrial Light & Magic) และผู้คนที่เคยทำงานในภาพยนตร์ 3 มิติอย่างเรื่อง AVATAR เราจึงมีกลุ่มคนที่สามารถสร้างสิ่งนี้ขึ้นมาได้จริงๆ มารวมตัวกัน”
คำถาม: จะได้เห็นว่าภาพยนตร์ในระบบ 3 มิติได้เพิ่มประสบการณ์ให้อย่างไรบ้าง?
คำตอบ: “มันเหมือนความแตกต่างระหว่างการดูหนังขาวดำการดูหนังสี หนังขาวดำก็ดูเข้าท่าแต่ถ้าเป็นสีก็จะดีกว่า ก็เช่นเดียวกับหนัง 3 มิติ เราไม่จำเป็นต้องดูหนังในรูปแบบ 3 มิติ แต่ในความเป็นจริงในรูปแบบ 3 มิติก็ดีกว่า ความลึกของภาพได้นำความสมจริงมาสู่ตัวละครดิจิตอล เช่น จาร์ จาร์ บิงค์ส และวัตทู เราจะรู้สึกได้ว่าพวกเขาดูสมจริงมากขึ้น พวกเขาดูสมจริงขึ้นจริงๆ แทนที่จะเป็นปูนปลาสเตอร์บนจอภาพในรูปแบบ 2 มิติ และในส่วนของความลึกและการถ่ายทอดเรื่องราวก็มีหลายสิ่งเกิดขึ้นในฉากหลังที่มีความสำคัญมาก เราสังเกตเห็นมันได้ในระบบ 3 มิติมากกว่า 2 มิติ”
คำถาม: เส้นทางอาชีพของคุณเดินหน้าไปอย่างไม่ธรรมดา ในตอนแรกคุณมีส่วนร่วมในการสร้างภาพยนตร์ได้อย่างไร?
คำตอบ: “ผมเข้ามาในวงการภาพยนตร์ได้แบบแปลกๆ ซึ่งมันเกิดขึ้นในชีวิตจริงๆ ในตอนแรกผมแค่อยากสร้างรถขึ้นมาเพราะผมชอบการทำงานเกี่ยวกับรถ ผมเป็นเป็นช่างไม้และพ่อของผมไม่ยอมให้ผมเข้าเรียนที่โรงเรียนด้านศิลปะ ผมเลยเริ่มศึกษาด้านการถ่ายภาพ ผมเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนเกี่ยวกับภาพยนตร์ USC (University of Southern California) ผมเข้าใจได้เลยว่านั่นเป็นโรงเรียนสำหรับตากล้อง ตอนนั้นผมไม่มีความคิดว่าจะเรียนรู้การสร้างภาพยนตร์ในมหาวิทยาลัยได้เลย ผมไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับหนังมากมาย แต่พอผมค้นพบว่าผมรักการสร้างภาพยนตร์และผมก็ทำได้อย่างดีมาก ผมได้ค้นพบความหลงใหลของผม”
คำถาม: แล้วก้าวต่อไปคืออะไร?
คำตอบ: “พอผมได้เริ่มสร้างภาพยนตร์ หนังเหล่านั้นก็ได้รับรางวัลต่างๆ แล้วผมก็เริ่มได้ทุนการศึกษาและเป็นที่ยอมรับในเทศกาลหนังต่างๆ ผมอยากดูว่าถึงยังไงผมก็สามารถทำมาหากินในโลกภาพยนตร์ได้ เพราะในจุดนั้นมันเป็นเรื่องที่ยากมาก ผมคิดว่า ‘ผมจะได้เป็นตากล้องและเป็นผู้ลำดับภาพ และจะสร้างภาพยนตร์สารคดี และสร้างภาพยนตร์แนวทดลองในยามว่าง’ นั่นคือสิ่งที่ผมวางแผนไว้ ที่ Warner Bros. ผมได้พบกับแฟรนซิส (ฟอร์ด คอปโพล่า) และได้ผสมผสานในวงการภาพยนตร์และพบว่ามันน่าตื่นเต้น แฟรนซิสกับผมเห็นด้วยว่าเราไม่อยากอยู่ในโลกฮอลลีวูด เราเลยย้ายไปที่ซานฟรานซิสโกและเริ่มสร้างบริษัททำภาพยนตร์ที่นั่น สำหรับผมแล้วมันเป็นการสร้างนวัตกรรมและความแปลกประหลาดของภาพยนตร์ แฟรนซิสท้าทายผมให้ทำสิ่งที่อยู่นอกกรอบและมีความเป็นศิลปะ มันก็มีแต่หนังคอมเมดี้เท่านั้น ผมเลยบอกว่า ‘โอเค ผมสร้างหนังคอมเมดี้ได้’ แล้วผมก็เริ่มเขียนเรื่อง AMERICAN GRAFFITI”
คำถาม: นั่นนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทิศทางของคุณหรือเปล่า?
คำตอบ: “ผมไม่เคยมีมุมมองที่ชัดเจนว่าผมอยากไปทิศทางไหน แต่โอกาสเข้ามาหาผมตลอดและผมก็คว้ามันไว้ มันต้องใช้เวลาถึง 2 ปีเพื่อทำให้เรื่อง AMERICAN GRAFFITI มีชื่อเสียงขึ้นมา ซึ่งผมให้ความสำคัญเป็นอย่างแรกเลยเพราะผมอยากได้งานทำ ผมเสนอไอเดียไปที่สตูดิโอทุกแห่งแล้วพวกเขาก็ตอบว่า ‘ไม่ต้องการ’ ไม่มีใครต้องการเลย มันจึงต้องใช้ความพยายาม จนสุดท้ายเราไปที่ Universal เขาบอกว่า ‘หากเราหาชื่อผู้สร้างภาพยนตร์ที่มีชื่อใส่เข้าไปในภาพยนตร์ได้ เราจะรับเอาไว้” แฟรนซิสเพิ่งสร้างเรื่อง THE GODFATHER เสร็จ และเขาก็มีชื่อเสียงตอนนั้น เขาเลยใส่ชื่อเข้าไปในภาพยนตร์แล้วผมเลยได้สร้างหนัง สุดท้ายผมก็ได้สร้างแต่สตูดิโอไม่ชอบหนัง เขาเลยเอาหนังไปเก็บขึ้นหิ้ง”
คำถาม: แล้วเกิดอะไรขึ้น?
คำตอบ: “เราเตรียมฉายให้ผู้ชมได้ดูจริงๆ และทุกครั้งที่หนังมีการฉายมันก็มีการต้อนรับอย่างยอดเยี่ยม สุดท้ายพวกเขาก็ตัดสินใจฉายในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แย่ที่สุดของปี แต่มันกลับได้รับความนิยมอย่างมาก อลัน แลดด์ จูเนียร์ จาก Fox ได้ดูหนังจากที่มีการฉาย เขาถามว่า ‘คุณมีหนังเรื่องอื่นอีกมั้ย?’ ผมตอบว่า ‘มีอีกครับ มันเป็นภาพยนตร์ในอวกาศ’ เขาบอกว่า ‘โอเค เราจะเอามาสร้าง คุณเป็นคนที่มีความสามารถดีนะ’ ผมเลยเอาเรื่อง STAR WARS มาให้ ‘Laddy’ จากนั้นชีวิตผมก็แขวนอยู่บนเรื่อง STAR WARS ชีวิตเราดำเนินไปบนเส้นทางที่มีความสนุกสนาน เราไม่มีทางเดาได้เลยว่าเราจะไปอยู่ในทิศทางไหน ผมคิดว่า AMERICAN GRAFFITI จะเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเท่าที่ผมเคยได้ แต่มันกลับเป็นเรื่อง STAR WARS”
คำถาม: คำแนะนำดีที่สุดที่คุณได้รับคำแนะนำจากการทำงานคืออะไร?
คำตอบ: “แฟรนซิสให้คำแนะนำกับผมบางอย่างในช่วงเริ่มต้นตอนที่ผมไม่คิดว่าตัวเองจะได้เป็นนักเขียน โดยพื้นฐานแล้วผมเป็นผู้สร้างภาพยนตร์ด้านวิชวล ผมรู้เรื่องการลำดับภาพและการถ่ายภาพ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ผมชอบมากและเป็นสิ่งที่ผมอยากทำ ผมมีโอกาสได้กลับไปพัฒนาให้ THX 1138 กลายเป็นภาพยนตร์เรื่องยาวและพูดว่า ‘เราต้องหานักเขียนสักคน’ เขาบอกว่า ‘ไม่ คุณต้องเรียนรู้การเป็นนักเขียนที่ดี’ ผมคิดว่านั่นน่าจะเป็นคำแนะนำที่ดีที่สุดเท่าที่ผมเคยได้รับมา เพราะผมเกลียดการเขียน แฟรนซิสเห็นบทภาพยนตร์แรกของผมและบอกว่า ‘จริงด้วย คุณไม่ได้เรื่องเลย มานี่ ให้ผมช่วยนะ’ สุดท้ายผมก็ได้เรียนรู้วิธีการเขียน และโดยหลักๆ แล้วสิ่งที่ผมทำตอนนี้คือการเขียนซะเป็นส่วนใหญ่”
คำถาม: คำแนะนำดีที่สุดที่คุณจะมอบให้ผู้กำกับที่กำลังมาแรง?
คำตอบ: “ตอนที่พยายามทำให้หนังดังขึ้นมา เราต้องมีความอดทนและพยายามไม่ว่าจะยังไงก็ตาม เราต้องทำเหมือนกับชีวิตเราขึ้นอยู่กับมัน และทำทุกอย่างที่จะทำได้เพื่อให้ภาพยนตร์อยู่ได้ภายใต้ทุกสภาพ มันก็เท่านี้เอง”
คำถาม: คุณมีการพัฒนารูปแบบของคุณขึ้นมาเป็นพิเศษอย่างไรบ้าง?
คำตอบ: “ผมเป็นแฟนพันธุ์แท้ด้านวิชวลของภาพยนตร์มาโดยตลอด และผมให้การสนับสนุนหนังเงียบที่โรงเรียน ผมชอบถ่ายทอดเรื่องราวของผมด้วยการเคลื่อนไหวและภาพ หนังทุกเรื่องของผมสร้างขึ้นแบบนั้น เราแค่เล่นดนตรีและดูหนัง ซึ่งมันก็ดำเนินไปได้ด้วยดีหากเราเข้าใจในบท”
คำถาม: การร่วมงานกันได้พัฒนาการสร้างภาพยนตร์ของคุณอย่างไรบ้าง?
คำตอบ: “ผมค่อนข้างหลงใหลการสร้างภาพยนตร์มาโดยตลอด ผมรู้ดีว่าผมต้องการอะไร ในช่วงแรกๆ ที่ผมตัดต่อภาพ ถ่ายทำ เขียนและกำกับภาพยนตร์ด้วยตัวเอง แต่ผมต้องร่วมงานกับวัลเตอร์ เมิร์ช แห่ง THX ผมได้ไปโรงเรียนกับเขาและเขาได้ร่วมงานกับผมในบทภาพยนตร์ของ THX และต้องตัดต่อเพลงประกอบ เรามีแนวคิดที่คล้ายกันและนั่นคือการร่วมงานกันครั้งแรกของผม ตอนที่ผมได้มาสร้างหนังเรื่องต่อมาของผม ผมหวนกลับไปหาผู้กำกับ/ตากล้องที่ผมเคยร่วมงานด้วยพักหนึ่งในโรงเรียนสอนด้านภาพยนตร์ เช่น ผู้กำกับภาพ ฮาสเคล เว็กซ์เลอร์ เราเป็นเพื่อนที่สนิทกันมากมันจึงเป็นเรื่องง่ายที่เราจะมาร่วมงานกัน เราต้องการคนสำคัญที่เราสามารถวางใจได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ออกแบบฉาก ตากล้องหรือผู้ลำดับภาพ แฟรนซิสสอนวิธีการร่วมงานกับเหล่านักแสดง และวิธีการเขียนบทภาพยนตร์ การร่วมงานครั้งนั้นจึงมากกว่าการให้คำปรึกษา เขาช่วยให้ผมได้เรียนรู้สิ่งที่ผมไม่รู้มาก่อน”
คำถาม: ภาพยนตร์ของคุณมีความเป็นอมตะ เคล็ดลับในการทำให้ภาพยนตร์ยังคงอยู่ได้คืออะไร?
คำตอบ: “ในท้ายที่สุดแล้วหนังต้องมีเรื่องราวที่สนุกและตัวละครที่ดี นั่นแหละคือส่วนสำคัญ และพวกเขาจะต้องมีเนื้อหาในเชิงจิตวิทยาที่แข็งแรงที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ในชีวิตของพวกเขา ในทางจิตวิทยาของพวกเขา มันต้องมีความสำคัญในแง่ความรู้สึกอย่างชัดเจนและต้องเกี่ยวกับสาระหลักที่สำคัญ นั่นคือลักษณะของภาพยนตร์ที่ผมสร้างขึ้นมา ซึ่งทุกเรื่องมีสิ่งที่อธิบายได้ว่าเป็น ‘ความมีสีสันอย่างเพลิดเพลิน’ ที่ทำให้พวกมันคงอยู่ได้ ผมไม่เคยทำหนังแนวดาร์คแบบจริงๆ เลย ผมไม่ได้สนใจแนวนั้น”
คำถาม: คุณได้รับการอ้างถึงอยู่บ่อยๆ ว่าเป็น ‘นักจินตนาการ’ คุณช่วยอธิบายได้มั้ยว่าคุณเป็นนักบุกเบิกได้อย่างไร?
คำตอบ: “ผมอยากควบคุมผลงานของผม คิดถึงเนื้อเรื่องต่างๆ แล้วทำให้เป็นภาพยนตร์ได้จริงๆ นั่นคือสิ่งที่ผู้มีความชำนาญได้ทำมาโดยตลอด แต่เมื่อใดก็ตามที่เราทำแบบนั้น มันก็มีปัญหาหลายอย่าง หากเรามีเพียงชอล์คที่ไว้ขีดเขียนบนกำแพง ในท้ายที่สุดเราก็จะมีสีสันเพียงสีเดียวอยู่บนนั้น เราต้องลองออกมาค้นหาบางสีสันและขับเคลื่อนสื่อให้เดินหน้า ภาพยนตร์คือรูปแบบของศิลปะทางเทคนิค มันมีเทคโนโลยีขั้นสูงหลายอย่าง เราสร้างความโดดเด่นด้วยเสียง เราสร้างความโดดเด่นด้วยสีสัน เพื่อสร้างจินตนาการและความเป็นไซไฟหรือสิ่งที่ไม่ใช่ความทันสมัย เราถูกบังคับให้ไปถึงขีดสุดของเทคโนโลยี ผมต้องยืดขยายสื่อกลางเพื่อที่เราสามารถสร้างสิ่งที่ไม่เคยถูกสร้างขึ้นมาก่อน ผมมักพบวิธีสร้างจินตนาการบนจอภาพยนตร์ให้ดีกว่าเดิมได้เสมอ ซึ่งสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า ‘จินตนาการ’ คือความวุ่นวายที่เกิดขึ้นกับสื่อนี้ และพยายามทำให้มันดียิ่งขึ้น ผมไม่รู้ว่ามันเป็นจินตนาการหรือเป็นคนที่สามารถมองเห็นมันได้อย่างชัดเจน”
คำถาม: คุณคิดว่าใครเป็นผู้กำกับที่ช่างจินตนาการ?
คำตอบ: “ผมจะตอบว่าสตีเฟ่น สปีลเบิร์ก เป็นนักจินตนาการ จะบอกว่าริดลีย์ สก็อตต์ และ โทนี่ สก็อตต์ ก็เป็นนักจินตนาการ จิม คาเมรอน ก็เช่นกัน”
คำถาม: ใครเป็นแรงบันดาลใจของคุณ?
คำตอบ: “ตอนที่เป็นผู้กำกับใหม่ๆ ผมได้แรงบันดาลใจมาจากอากิระ คุโรซาว่า, เฟเดอริโค่ เฟลลินี่, ชอง-ลุค โกดาร์ด, ริชารืด เลสเตอร์ และ จอห์น ฟอร์ด ตอนนี้ผมอายุมากแล้ว ผมเดาว่าผมคงให้แรงบันดาลใจมากกว่าได้รับแรงบันดาลใจ”
คำถาม: คุณมีมุมมองต่อภาพยนตร์ในอนาคตอย่างไร?
คำตอบ: “เราอยู่ในยุคสมัยที่มีความน่าตื่นเต้น เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นอิสรภาพของวงการ ซึ่งหมายถึงว่าทุกคนสามารถสร้างมันได้ มันเหมือนกับการเป็นนักเขียน หากเรามีความสามารถเราก็จะมีช่องทางอย่างอัตโนมัติ สำหรับการลงทุนจำนวน 5,000 เหรียญเราก็สร้างสตูดิโอขึ้นมาได้ทั้งหมด เรามีสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ การลำดับภาพ กล้อง และทุกๆ อย่างได้”
คำถาม: ภาพ 3 มิติมีความสำคัญอย่างไร?
คำตอบ: “ผมคิดว่า 3 มิติจะอยู่กับเราอย่างถาวร มันเป็นช่องทางการชมภาพยนตร์ที่ดีขึ้น มันทำให้ภาพยนตร์ดูสมจริงยิ่งขึ้นและมันทำงานได้ดีเป็นพิเศษในภาพยนตร์แนวแฟนตาซีและแนวไซ-ไฟ”
คำถาม: ผลงานต่อไปของคุณคืออะไร?
คำตอบ: “ผมเพิ่งสร้างหนังเรื่อง RED TAILS เสร็จ ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักบินรบชาวแอฟริกัน-อเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นี่เป็นโปรเจ็กต์ที่ผมใช้เวลาสร้าง 23 ปีและมันเป็นการต่อสู้อย่างแสนสาหัส ผมสร้างจนเสร็จด้วยความยากลำบาก แต่ท้ายที่สุดผมก็ทำจนเสร็จและมันก็น่าตื่นเต้น”
คำถาม: คุณประสบความสำเร็จอย่างมาก คุณคาดหวังที่จะประสบบความสำเร็จเรื่องอะไรอีกมั้ยในจุดนี้?
คำตอบ: “ผมคอยบอกทุกคนว่าผมจะปลดเกษียณ แต่จริงๆ แล้วผมจะย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของผม ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เป็นประสบการณ์ด้านการสร้างภาพยนตร์ ผมหาเงินมามากพอแล้วผมเลยเป็นแหล่งเงินทุนให้ตัวเองได้ทั้งหมด ผมไม่ต้องกังวลหรือคอยตอบคำถามทุกคน และผมจะทำอะไรก็ได้ที่ผมต้องการ หากหนังไม่ได้ฉายมันก็ไม่ได้ฉาย!
-นท-
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit