นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยดันเด็กอุบลฯรู้เท่าทันสื่อผ่านหนังสั้น

20 Jan 2012

กรุงเทพ--20 ม.ค.--ศสอ.

ศูนย์ประสานงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนภาคอีสาน (ศสอ.) แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับหลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การผลิตหนังสั้น เพื่อการรู้เท่าทันสื่อ” เมื่อวันที่ 6-8 มกราคม 2555 ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วิทยาเขตบ้านยางน้อยการอบรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กและเยาวชน โดยต่อเนื่องจากความร่วมมือระหว่าง ศสอ.,สื่อสร้างสุขอุบลราชธานี กับหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ที่ได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้จากการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ประกาศรู้เท่าทันสื่อ และการอบรมทักษะสื่อสารการแสดงอ.จีณัฐชะญา จีปะณัฐิกาญจน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตร์ผู้รับผิดชอบโครงการ เปิดเผยว่า “ปัจจุบันสื่อมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อผู้บริโภคสื่อในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคสื่อที่อาจกล่าวได้ว่ายังมีวุฒิภาวะในการบริโภคสื่อไม่มากนัก เป็นผลให้เด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อของสื่อที่ขาดจริยธรรมในการนำเสนอ และเกิดผลกระทบตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นในแง่ความรุนแรงที่ปรากฏในสื่อ การขาดวิจารณญาณในการรับชมเป็นผลให้หลงเชื่อคำโฆษณาต่างๆ หรือแม้กระทั่งการสอดแทรกความคิดที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็กและเยาวชน การอบรมหนังสั้นรู้เท่าทันสื่อ จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้กระบวนการการทำสื่อ และสร้างภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันจากสื่อที่ดีและที่ไม่ดี”ด้านนายธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ผู้กำกับภาพยนตร์และผู้ผลิตหนังสั้นที่ได้รับรางวัลรัตน์ เปสตันยี(นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย) วิทยากรหลักในการฝึกอบรมกล่าวว่า “เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กและเยาวชนควรทำความรู้จักเทคนิควิธีต่างๆที่ผู้ผลิตสื่อทั้งหลายนำมาใช้ เพื่อให้เกิดความตระหนักในวัตถุประสงค์แอบแฝงที่ผู้ผลิตสื่อสอดแทรกอยู่ในสื่อที่ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวัน และกระบวนการที่จะสร้างการตระหนักรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือการเปลี่ยนบทบาทของเด็กและเยาวชน จากผู้บริโภคสื่อ มาเป็นผู้ผลิตสื่อ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้เด็กและเยาชนเกิดความตระหนักรู้ถึงเบื้องหลังการผลิตสื่อ แต่ยังจะเป็นการปลูกฝันทัศนคติแนวคิดที่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งในอนาคตอาจเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสื่อ ในยุคที่การผลิตสื่อได้เปิดพื้นที่อย่างเสรีสำหรับสาธารณะ”กระบวนการในวันแรก (วันที่ 6 มกราคม 2555) ผู้เข้าร่วมอบรม ได้เรียนรู้ การเขียนพล็อตเรื่องให้น่าสนใจน่าติดตาม และเสริมในเรื่องของการรู้เท่าทันสื่อในบท เทคนิคของการใช้มุมกล้อง ส่วนวันที่สอง(วันที่ 7 มกราคม 2555) ผู้เข้าร่วมอบรมได้แบ่งเป็นสามกลุ่มและลงพื้นที่ทำโปรดักชั่น (ถ่ายทำจริง)และวันสุดท้าย (วันที่ 8 มกราคม 2555) ผู้เข้าร่วมอบรมได้ฝึกปฏิบัติการตัดต่อและนำเสนอผลงานนายกริช พรมศรี (แอล) นักศึกษาสาขาภาษาไทย “ค่ายนี้ได้ประโยชน์มาก ทั้งเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ และการทำหนัง และยังมีประโยชน์ต่อการทำไปใช้ในวิชาเรียนคือการเขียนบท เขียนวรรณกรรม และได้เรียนรู้วิธีในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นในการทำงาน จะนำความรู้ในครั้งนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและครั้งหน้าถ้ามีอีกสนใจเข้าร่วมเป็นอย่างมาก”นางสาวกัญญาณี เอี่ยมทศ (ศร) นักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ ผู้เข้าร่วมอบรม “เสียดายที่ค่ายนี้มีระยะเวลาน้อยทำให้เก็บความรู้จากวิทยากรได้ไม่หมด แต่สิงที่ได้คือกระบวนการการทำหนังนี้ไม่ง่ายอย่างที่คิด”นายศราวุธ เหลืองเรือง (นิว) นักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ ผู้เข้าร่วมอบรม “ อยากให้จัดกระบวนการแบบเป็นห้องเรียนรู้กระบวนการต่าง อย่างเช่นการตัดต่อ การเขียนบท เทคนิคการถ่ายทำ ตามความสนใจของผู้เข้าร่วมอบรมแล้วนำมาแชร์ความรู้กันในกลุ่มเพื่อที่จะทำเป็นผลงานออกมา”นางสาวสวนีย์ สายยาง (แอน) อยากเข้าไปเรียนรู้ในกองถ่ายเพื่อที่จะเรียนรู้กระบวนการและเห็นวิธีการผลิต จากมืออาชีพนายธัญญ์วารินทร์ สุขะพิสิษฏ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การที่เราจะรู้เท่าทันสื่อได้รู้จำเป็นต้องรู้ที่มาและกระบวนการผลิตเพื่อที่จะได้รู้เท่าทัน จากการอบรมในครั้งนี้เป็นการจุดประกายของผู้เข้าร่วมอบรมหลายๆคนที่อยากจะทำหนังและอยากเข้าไปมีส่วนร่วมในกองถ่ายเพื่อทีจะผลิตสื่อดีๆออกมาเผยแพร่แก่สาธารณะชน ต่อไปเฉลิมชัย จันตา รายงานอัมพร วาภพ เรียบเรียง

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

กส