กรุงเทพฯ--5 ส.ค.--เมดโทรนิค
เครื่องกระตุ้นหัวใจรุ่นใหม่ที่สามารถใช้ร่วมกับการสแกนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอ็มอาร์ไอ (MRI) ได้อย่างปลอดภัยเป็นครั้งแรกนี้ มาพร้อมกับเทคโนโลยี ที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจสามารถเข้ารับการสแกนเอ็มอาร์ไอ ซึ่งเป็นวิธีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในค้นหา ตรวจวินิจฉัย และบำบัดรักษาโรคร้ายแรงหลายโรค
การนำเครื่องกระตุ้นหัวใจมาใช้เมื่อ 60 ปีที่ผ่านมา ถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปรับปรุงประสิทธิภาพการรักษา พร้อมทั้งช่วยชีวิตของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหัวใจเป็นจำนวนมาก แต่ว่า ปัญหาและข้อจำกัดสำคัญอย่างหนึ่งในการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวคือการที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกับการสแกนเอ็มอาร์ไอได้
การสแกนเอ็มอาร์ไอแตกต่างจากการสแกนประเภทอื่นๆ เช่น สแกนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAT) การเอกซ์เรย์ หรือ อัลตร้าซาวด์ โดยเอ็มอาร์ไอเป็นการตรวจที่ไม่ใช้รังสีในการตรวจและสามารถแสดงภาพสามมิติและคุณสมบัติที่แตกต่างกันของเนื้อเยื่อหลักในร่างกายได้เป็นอย่างดีกว่าใช้วิธีการตรวจอื่น จึงถือเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการวินิจฉัยหลากหลายโรค รวมไปถึงโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ (Stroke)และโรคลมปัจจุบัน ดังนั้นการสแกนเอ็มอาร์ไอ ซึ่งถือว่าเป็น “วิธีการที่เป็นมาตรฐานสากล” (gold standard) จึงได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่าร้อยละ 400 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
รศ.นพ.พิพัฒน์ เชี่ยววิทย์ สาขาวิชารังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า “เครื่องกระตุ้นหัวใจรุ่นใหม่ที่สามารถใช้กับการสแกนเอ็มอาร์ไอได้อย่างปลอดภัยนี้ นับเป็นความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ครั้งสำคัญ สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้การสแกนเอ็มอาร์ไอ เพราะการที่ผู้ป่วยที่ผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจสามารถเข้ารับการสแกนเอ็มอาร์ไอได้นั้น จะได้รับประโยชน์อย่างมากในการตรวจหาและรักษาอาการเจ็บป่วยร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคลมปัจจุบัน มะเร็ง อาการทางประสาท และโรคด้านออร์โธพีดิกส์สำคัญอีกหลายอาการ จึงนับเป็นการเพิ่มโอกาสและช่วยชีวิตผู้ป่วยได้มากขึ้น”
ที่ผ่านมาผู้ป่วยที่ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจอาจต้องเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่างๆ จากการสัมผัสกับสนามแม่เหล็กอานุภาพสูงจากเครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอ ซึ่งอาจมีกำลังสูงกว่าสนามแม่เหล็กโลกถึง 60,000 เท่า ซึ่งภาวะแทรกซ้อนจากการสัมผัสกับสนามแม่เหล็กดังกล่าวนี้ยังรวมไปถึง การรบกวนต่อการผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือความเสียหายต่อระบบกลไกของเครื่องส่งผลให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงทางด้านสุขภาพ จึงทำให้ผู้ใช้เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจหลายพันคนไม่สามารถทำการสแกนเอ็มอาร์ไอได้ นอกจากนี้ ผู้ใช้เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจส่วนใหญ่ยังมีอายุมากกว่า 50 ปี และมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคต่างๆ ที่ต้องอาศัยการวินิจฉัยโดยใช้เอ็มอาร์ไอ โดยประมาณการว่าผู้ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจร้อยละ 50-75 จำเป็นต้องได้รับการสแกนเอ็มอาร์ไอหนึ่งครั้งในช่วงอายุการใช้งานของอุปกรณ์เครื่องกระตุ้นหัวใจ
ผศ.นพ. ครรชิต ลิขิตธนสมบัติ หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า “การพัฒนาเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจใหม่ ที่สามารถใช้กับการสแกนเอ็มอาร์ไออย่างปลอดภัยนี้ถือเป็นพัฒนาการและก้าวสำคัญสำหรับผู้ป่วย และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่าว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเหล่านี้อาจต้องได้รับการรับการสแกนเอ็มอาร์ไอในช่วงใดช่วงหนึ่งที่ยังใช้อุปกรณ์กระตุ้นหัวใจนี้ แต่พวกเขากลับไม่สามารถได้รับประโยชน์จากการสแกนเอ็มอาร์ไอที่มีศักยภาพในการตรวจหาโรคและสามารถช่วยชีวิตได้ เหมือนเช่นในตอนนี้”
เครื่องกระตุ้นหัวใจใหม่ที่สามารถ “ใช้กับการสแกนเอ็มอาร์ไออย่างปลอดภัย” ได้รับการรับรองโดย องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 และขณะนี้ได้รับการรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย โดยเครื่องดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยบริษัท เมดโทรนิค ผู้นำระดับโลกในด้านเทคโนโลยีการแพทย์ ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการวิจัยที่ใช้ระยะเวลามากกว่า 10 ปี เพื่อแก้ปัญหาที่เป็นความต้องการทางการแพทย์ที่ยังไม่สามารถตอบสนองในด้านการรักษาจากการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจได้
รศ.นพ.สุรพันธ์ สิทธิสุข หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า“ความพร้อมในการใช้งานของเครื่องกระตุ้นหัวใจใหม่ที่สามารถใช้ร่วมกับเครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอนี้ ได้ขจัดปัญหาและข้อจำกัดในการใช้งานของเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบเก่า ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ให้ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ ขอคำปรึกษาเพิ่มเติมจากแพทย์ถึงความเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยจะได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจที่สามารถเข้ารับการสแกนเอ็มอาร์ไอได้อย่างปลอดภัยในอนาคตด้วย”
นวัตกรรมเครื่องกระตุ้นหัวใจนี้ประกอบด้วยเทคโนโลยีเฉพาะด้านให้กับผู้ป่วย เช่น เทคโนโลยี MVP? (Managed Ventricular Pacing) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในประสิทธิภาพในการลดการเต้นผิดจังหวะของหัวใจได้ถึงร้อยละ 99 และช่วยให้หัวใจสามารถทำงานได้เอง (VCM และ ACM) และออโตเมติค เซนส์ซิ่ง รวมไปถึงการบำบัดอันล้ำสมัย อาทิ การกระตุ้นหัวใจแบบต่อต้านภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (ATP) การตรวจวินิจฉัยโรค เช่น Cardiac Compass Report? และเครื่องมือในจัดการภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (tachyarrhythmia) ซึ่งช่วยในการตรวจหาความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก รวมทั้งยุติภาวะหัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว (atrial fibrillation)
เกี่ยวกับเมดโทรนิค
เมดโทรนิค อิงค์ (www.medtronic.com) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่มินนิอาโปลิส เป็นผู้นำตลาดในเทคโนโลยีทางการแพทย์ในระดับโลก รวมถึงการบรรเทาความเจ็บปวด การฟื้นฟูสุขภาพ และการช่วยชีวิตผู้คนนับล้านบนโลกใบนี้
[1] Kalin R, Stanton MS. Current clinical issues for MRI scanning of pacemaker and defibrillator patients. PACE. April 2005;28(4):326-328.
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit