นิวยอร์ค, ลอนดอน, เฮก เนเธอร์แลนด์ และตูนิส ตูนิเชีย--29 ส.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/ อินโฟเควสท์
- โครงการนำร่องได้รับการประกันด้านการเงินในระยะยาว และได้เริ่มงานปฏิบัติการของแท่นเจาะก๊าซ อีกทั้งเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้า
บริษัทคอนทัวร์โกลบอลประกาศในวันนี้ว้า บริษัทได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อการกู้ยืมเงินจำนวน 91.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กับกองทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งแอฟริกาที่เกิดใหม่ (Emerging Africa Infrastructure Fund - EAIF), บริษัทเงินทุนเพื่อการพัฒนาแห่งเนเธอร์แลนด์ (Netherlands Development Finance Company - FMO), ธนาคารพัฒนาแห่งแอฟริกา (African Development Bank - AfDB) และบริษัทการลงทุนแห่งเบลเยี่ยมเพื่อประเทศกำลังพัฒนา (Belgian Investment Company NV/SA - BIO) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้เสร็จสิ้นในระยะที่หนึ่งของโครงการคิวูวัตต์ของบริษัท อันเป็นโรงงานผลิตและแยกก๊าซมีเทนร่วม และ โรงไฟฟ้าร่วมขนาด 25 เมกะวัตต์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ทะเลสาบคิวู ในเมืองคิบูเย ประเทศรวันดา โครงการร่วมนี้จะทำการแยกก๊าซมีเทนที่อันตรายซึ่งถูกกักอยู่ในน้ำในทะเลสาบคิวู และดำเนินกรรมวิธีเปลี่ยนก๊าซเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าให้มากเท่าที่ต้องการเพื่อขายให้กับหน่วยงานการสุขาภิบาล น้ำ และพลังงาน (Energy, Water and Sanitation Authority – EWSA) แห่งรวันดา หน่วยงานนี้เป็นหน่วยงานสาธารณูปโภคแห่งชาติในด้านพลังงานของประเทศรวันดา ที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่มีไฟฟ้าใช้
พิธีลงนามในข้อตกลงกู้ยืมมีขึ้นในวันนี้ ณ ที่ตั้งโครงการคิวูวัตต์พร้อมทั้งเฉลิมฉลองการเริ่มปฎิบัติงานของแท่นเจาะที่มีน้ำหนัก 750 ตัน ซึ่งจะใช้เป็นที่ติดตั้งโรงแยกก๊าซ และยังเป็นการเริ่มการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่นี้ด้วย มีผู้แทนหลายคนได้เข้าร่วมในพิธีเฉลิมฉลองนี้ โดยมาจากบริษัทคอนทัวร์โกลบอล, สถาบันให้กู้ยืมเงิน และบริษัทผู้รับเหมาของโครงการ รวมทั้งจากบริษัทวาร์ทซิลา (Wartsila) ของฟินแลนด์ซึ่งจะเป็นผู้ผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและสร้างโรงไฟฟ้า ผู้เข้าร่วมงานรวมถึงบรรดาผู้ทรงเกียรติของรวันดา ในจำนวนนี้มี คายัมบา เบอร์นาร์ด ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีแห่งเมืองคารงจี, เซเลสติน คาบาฮีซี ซึ่งเป็นผู้ว่าการมณฑลตะวันตกของรวันดา และ คอเลทา รูฮัมยา ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและน้ำแห่งรวันดา อีกทั้งผู้แทนหลายคนจากสถานทูตของประเทศต่างๆ ประจำรวันดาก็ได้เข้าร่วมในพิธีด้วย อาทิ แอน แคปเซอร์ ซึ่งเป็นอุปทูตประจำสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงคิกาลี และ ฟรานส์ มัคเค่น ซึ่งเป็นเอกอัคราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำรวันดา
การกักเชื้อเพลิงธรรมชาติที่ประกอบด้วยก๊าซมีเทนในระดับใต้ดินซึ่งละลายอยู่ในน้ำลึกในทะเลสาบคิวู จะทำให้โครงการคิวูวัตต์ลดต้นทุนของไฟฟ้าที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วของรวันดาอย่างมีนัยสำคัญ โครงการนี้จะแสดงให้เห็นถึงการใช้ก๊าซในมาตราส่วนใหญ่เป็นครั้งแรกด้วยเช่นกัน และการแยกก๊าซก็จะบรรเทาอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากการปล่อยก๊าซในทะเลสาบตามธรรมชาติ นอกจากนี้โครงการยังจัดหาแหล่งผลิตพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
โรงไฟฟ้าขนาด 25 เมกะวัตต์นี้แสดงให้เห็นภาพระยะที่หนึ่งของโครงการคิวูวัตต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันยิ่งจากประชาคมการพัฒนานานาชาติ อันแสดงให้เห็นด้วยการลงนามในข้อตกลงการกู้ยืมในวันนี้ รวมทั้งในเดือนพฤษภาคม 2011 ที่ผ่านมาซึ่งมีการดำเนินงานตามนโยบายประกันความเสี่ยงทางการเมืองกับหน่วยงานประกันการลงทุนพหุภาคี (Multilateral Investment Guarantee Agency) แห่งธนาคารโลก โครงการในระยะที่หนึ่ง ซึ่งจะใช้เงินทุนประมาณ 142 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการดำเนินการให้เสร็จสิ้นนั้น ได้เกี่ยวพันถึงการทำการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวางและการอนุญาตให้ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานอันเข้มงวดของธนาคารโลก และจะต้องติดตามมาด้วยโครงการอีกสามระยะเพื่อจะได้โรงไฟฟ้าขนาด 100 เมกะวัตต์ในที่สุด
โจเซฟ ซี แบรนดท์ ซึ่งเป็นประธานและประธานบริหารของบริษัทคอนทัวร์โกลบอล กล่าวว่า “เหตุการณ์สำคัญยิ่งในวันนี้สำหรับการเริ่มดำเนินงานของโคงการคิวูวัตต์ของคอนทัวร์โกลบอลนั้น ได้ตั้งอยู่บนเส้นทางที่มุ่งไปสู่ความสำเร็จสมบูรณ์อย่างรวดเร็ว เรารู้สึกชื่นชมอย่างมากต่อความเป็นผู้นำและความคิดสร้างสรรค์ของหุ้นส่วนด้านการเงินของเรา นั่นคือ EAIF, FMO และ AfDB และรู้สึกเป็นเกียรติที่รัฐบาลรวันดาได้ไว้วางใจเราให้เข้ามามีส่วนร่วมที่สำคัญนี้ เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ”
เนกาตู มาคอนเนน ซึ่งเป็นผู้แทนประจำของ AfDB ในรวันดา กล่าวว่า ธนาคารพัฒนาแห่งแอฟริกาภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานนี้ และกล่าวย้ำว่า “โครงการคิวูวัตต์จะจัดหาเครื่องจ่ายไฟที่ราคาพอเหมาะพร้อมกับความเชื่อมั่นและไว้วางใจที่มากขึ้น ที่จะเพิ่มการมีไฟฟ้าใช้ทั้งแก่ครัวเรือนในชนบทและแก่ธุรกิจต่างๆ ในรวันดา”
โทนี ลี ซึ่งเป็นประธานของ EAIF กล่าวว่า “โครงการคิวูวัตต์เป็นโครงการหนึ่งซึ่งมีนวัตกรรมสูงสุดในประวัติศาสตร์ของการผลิตไฟฟ้า หน่วยงาน EAIF ยินดีที่หน้าที่ของเราในฐานะผู้จัดเตรียมร่วมของการระดมทุนด้วยการก่อหนี้ (debt finance) จะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ของแหล่งก๊าซที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ในทะเลสาบคิวู เพื่อประโยชน์ของประเทศรวันดาและชาวรวันดา”
ฮับบ์ คอร์เนลิสเซน ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพลังงานและที่อยู่อาศัยของ FMO กล่าวว่า “FMO มีความเชื่ออย่างแข็งขันในโครงการนี้ ในอันที่จะนำการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมาสู่ประเทศรวันดา โดยใช้แหล่งก๊าซที่นำมาใช้ใหม่ได้ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติ อันจะเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมและเศรษฐกิจในรวันดา และ FMO ก็ยินดีที่ว่า บทบาทของเราในฐานะผู้จัดเตรียมร่วมของการให้กู้เงินครั้งนี้ ได้ทำให้เรามีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการนวัตกรรมนี้ ซึ่งเหมาะเจาะลงตัวอย่างดียิ่งในภาระหน้าที่ของ FMO ในด้านให้ความสนับสนุนภาคเอกชนในตลาดที่กำลังพัฒนา”
เกี่ยวกับบริษัทคอนทัวร์โกลบอล
บริษัทคอนทัวร์โกลบอลเป็นบริษัทผลิตพลังงานระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่มลรัฐนิวยอร์ค ซึ่งดำเนินงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจำนวน 3,250 เมกะวัตต์ หรือมีโรงงานไฟฟ้าที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ใน 20 ประเทศ บริษัทเอกชนแห่งนี้จัดตั้งขึ้นในช่วงปลายปี ค.ศ. 2005 โดย โจเซฟ ซี แบรนดท์ ซึ่งเป็นประธานบริหารของบริษัท และกลุ่ม Capital Reservoir ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนที่ตั้งอยู่ในนิวยอร์คและมีเงินทุนจำนวน 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ด้วยจำนวนพนักงานที่มีอยู่มากกว่า 1500 คนในสี่ทวีป บริษัทคอนทัวร์โกลบอลจึงได้พัฒนาและดำเนินงานด้านการก่อสร้างโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ น้ำ ลม แสงอาทิตย์ มวลชีวภาพ ถ่านหิน และน้ำมันเชื้อเพลิง บริษัทได้พุ่งเป้าไปที่ตลาดที่เติบโตสูงแต่ยังขาดแคลนบางสิ่ง และช่องทางด้านนวัตกรรมภายในตลาดที่พัฒนาแล้ว ในปี 2011 เงินทุนหมุนเวียนของกลุ่มจะอยู่ที่ประมาณ 900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ http://www.contourglobal.com.
เกี่ยวกับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกา (AfDB)
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกาเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคี ซึ่งผู้ถือหุ้นประกอบด้วยประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกาจำนวน 53 ประเทศ (เป็นประเทศสมาชิกที่อยู่ในภูมิภาค ซึ่งเรียกย่อๆ ว่า RMCs) และอีก 24 ประเทศซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา (เป็นประเทศสมาชิกที่ไม่ได้อยูในภูมิภาค ซึ่งเรียกย่อๆ ว่า non-RMCs) วัตถุประสงค์หลักของธนาคารคือเพื่อมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและความก้าวหน้าทางสังคมของประเทศสมาชิกในภูมิภาค ทั้งโดยเอกเทศและการร่วมมือกัน วัตถุประสงค์นี้บรรลุได้ด้วยการให้ความช่วยเหลือทางการเงินในขอบเขตที่กว้างขวางแก่โครงการและโปรแกรมต่างๆ ในด้านการพัฒนา โดยผ่านทาง (1) เงินกู้ยืมแก่ภาครัฐ (รวมถึงเงินกู้ยืมที่อยู่บนพื้นฐานของนโยบาย), เงินกู้ยืมแก่ภาคเอกชน, การรับประกัน และการลงทุนในหุ้น (equity investments) (2) จัดหาความช่วยเหลือด้านเทคนิคสำหรับโครงการและโปรแกรมต่างๆ ที่สนับสนุนช่วยเหลือต่อสถาบัน และ (3) ให้เงินช่วยเหลือฉุกเฉิน การอนุมัติให้ความช่วยเหลือของธนาคารในปี 2010 มีจำนวนถึง 6.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยผ่านช่องทางภาคเอกชน ธนาคารได้จัดหาผลิตภัณฑ์ด้านการเงินในขอบเขตหนึ่งให้แก่ภาคเอกชน เพื่อเป็นองค์ประกอบที่สร้างความสมบูรณ์แก่ปฏิบัติการด้านการให้กู้ยืมเงินแบบดั้งเดิมของธนาคาร แก่รัฐบาลของประเทศต่างๆ รวมถึงให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการเงินสำหรับหลายโครงการที่สามารถพัฒนาให้เติบโตได้ การอนุมัติให้ความช่วยเหลือแก่โครงการของภาคเอกชนจนถึงสิ้นสุดเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 นั้นเป็นจำนวนเงินถึง 7.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะพลังงานนั้นเป็นแก่นสำคัญของการจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินงานของหน่วยปฎิบัติงานภาคเอกชน (Private Sector Operations)
เกี่ยวกับ EAIF
กองทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งแอฟริกาที่เกิดใหม่ (Emerging Africa Infrastructure Fund หรือ EAIF) จัดตั้งขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 2002 และในปัจจุบันนี้มีเงินทุนจากการก่อหนี้ระยะยาว (debt fund) จำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หน่วยงานนี้เป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่สามารถจัดหาหนี้ระยะยาวในสกุลเงินยูโรหรือดอลลาร์สหรัฐฯ หรือการระดมทุนโดยเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป (mezzanine finance) อันตั้งอยู่บนข้อตกลงทางการค้า เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินในด้านการก่อสร้างและพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐานเอกชนใน 47 ประเทศทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา ภาคต่างๆ เหล่านี้รวมถึงโทรคมนาคม การขนส่ง น้ำและพลังงาน ขณะที่ EAIF ให้กู้ยืมบนข้อตกลงทางการค้าดังกล่าว หน่วยงานนี้ยังตั้งเป้าไปในการสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและลดความยากจน, สร้างประโยชน์ต่อกลุ่มประชากรต่างๆ ที่หลากหลาย, จัดการประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความเสมอภาคและการมีส่วนร่วม อีกทั้งส่งเสริมสิทธิด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคม
หน่วยงาน Frontier Markets Fund Managers ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของ ธนาคารสแตนดาร์ด มหาชน จำกัด เป็นผู้บริหารจัดการ EIAF
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณเยี่ยมชมเวบไซต์ www.emergingafricafund.com
เกี่ยวกับ FMO
FMO หรือ บริษัทเงินทุนเพื่อการพัฒนาแห่งเนเธอร์แลนด์ คือธนาคารพัฒนาแห่งดัทช์ FMO สนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนของภาคเอกชน ในตลาดที่กำลังเติบโตในประเทศกำลังพัฒนา ด้วยการลงทุนในกิจการของผู้ประกอบการที่มีความพยายามสูง FMO เชื่อว่าภาคเอกชนที่เข้มแข็งนั้นนำไปสู่พัฒนาการด้านสังคมและเศรษฐกิจ ด้วยการเสริมกำลังผู้คนให้ใช้ทักษะต่างๆ และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขา FMO พุ่งเป้าไปยังภาคต่างๆ สี่ภาคที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างสูง นั่นคือ ภาคสถาบันการเงิน ภาคพลังงาน ภาคที่อยู่อาศัย และภาคธุรกิจการเกษตร เนื่องจาก FMO มีกลุ่มหลักทรัพย์ในการลงทุน (investment portfolio) ถึง 5 พันล้านยูโร FMO จึงเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาภาคเอกชนทวิภาคีที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเวบไซต์ www.fmo.nl
ที่มา บริษัทคอนทัวร์โกลบอล
ติดต่อ: บริษัทคอนทัวร์โกลบอล
William Barry
โทร. +1-212-307-2518
AfDB
Subha Nagarajan
โทร. +216-98-702-948
FMO
Rene de Sevaux
โทร. +31-70-314-9868
อีเมล [email protected] หรือ
Frontier Markets Fund Managers / Emerging Africa Infrastructure Fund
Orli Arav
โทร. +44-20-3145-8610 หรือ
Martijn Proos
โทร. +44-20-3145-8612
AsiaNet 46059
-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --