กรุงเทพฯ--13 ก.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง
การบริหารความเสี่ยงภาษีศุลกากร 2011Thai Customs Risk Management 2011
อบรมวันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2554
ณ ห้องสัมมนา คีนคอนเฟอเรนซ์ ชั้น 4
KEEN Conference
ห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์ พาร์ค
(ฝั่งโฮมโปรหรือ ตลาดเสรีมาร์เก็ต) ถนนศรีนครินทร์
Rational and Significance
ปัจจุบันการเสียภาษีศุลกากรที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกยังพบปัญหาอยู่มาก ถึงแม้ว่าจะนำระบบพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) มาใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากรแล้วก็ตาม ทั้งนี้เป็นเพราะกรมศุลกากรยังมีระเบียบปฏิบัติ และมีกฎหมายต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องหลายฉบับ ก่อให้เกิดปัญหาให้กับทางผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกในทางปฏิบัติอยู่เสมอ ๆ และในปี 2010-2011 ผู้ประกอบการจำเป็นต้องทราบและเข้าใจหลักเกณฑ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเขตการค้าเสรี (FTAs) ใหม่ ๆ รวมทั้งแนวโน้มการตรวจสอบทางศุลกากร เพื่อลดข้อผิดพลาดอันจะนำมาซึ่งความเสียหายต่อธุรกิจได้ ตลอดจนป้องกันไม่เกิดเบี้ยปรับและความผิดทางอาญาต่าง ๆ ทางศุลกากร
ดังนั้น จึงทำการจัดอบรมสัมมนาหัวข้อ “การบริหารความเสี่ยงภาษีศุลกากร 2011” ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออกในการเข้าใจถึงความเสี่ยงทางศุลกากรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เนื่องจาก กรมศุลกากรไม่ได้เป็นเพียงหน่วยงานหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีศุลกากรและภาษีที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิต เท่านั้น ยังควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบทั้งก่อนและหลังการตรวจปล่อย เพื่อควบคุมให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่วางไว้อย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยการนำระบบการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการโดยมีหลักทั่วไปว่าจะควบคุมดูแลเฉพาะสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง (Profiling) และจากการที่กรมศุลกากรได้นำระบบ Paperless มาใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากร ยิ่งทำให้ผู้ประกอบการต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นเพื่อป้องกันความผิดพลาดในขณะที่ถูกตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย (Post Clearance Audit)
สำหรับประโยชน์ที่ผู้เข้าสัมมนาจะได้รับจากการอบรมนี้ คือความรู้และความเข้าใจในเรื่องการบริหารความเสี่ยงและการตรวจสอบทางศุลกากรตลอดจนขั้นตอนในการดำเนินคดีสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นตามกฎหมายศุลกากร เพื่อนำมาใช้ในการบริหารความเสี่ยงของบริษัทผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกเอง ในการที่จะป้องกันและแก้ไขไม่ให้เกิดความผิดทางศุลกากรอันเนื่องมาจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในขณะที่เสียภาษีและผ่านพิธีการศุลกากร ดั่งคำสุภาษิตจีนที่ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”
Training Schedule
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-16.30 น
1. การบริหารความเสี่ยงทางศุลกากร (Customs Risk Management)
2. การควบคุมก่อน และขณะตรวจปล่อยของกรมศุลกากร (Pre-Clearance Control)
3. ศุลกากรใช้เครื่องมือใดในการบริหารความเสี่ยงในการตรวจสอบสินค้านำเข้า-ส่งออก (Risk Management Tool)
4. การตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ (Customs Post Audit)
5. Update แนวทางการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการล่าสุด
6. การตรวจสอบหลังการตรวจปล่อยกรณีศุลกากรไร้เอกสาร (Customs Paperless)
7. สิทธิและหน้าที่ของผู้ประกอบการเมื่อถูกตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการ
8. หลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติ อำนาจหน้าที่ และเอกสารหลักฐานต่างๆ ในการตรวจค้น
9. ประเด็นที่ศุลกากรมักเข้มงวดและเทคนิคการเอาตัวรอดจากการถูกตรวจสอบ
10. เกณฑ์การระงับคดีใหม่และการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติศุลกากร
11. การอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศและการนำเข้า-ส่งออกของกรมศุลกากร
12. ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ National Single Window
13. การให้บริการวินิจฉัยราคาศุลกากรเป็นการล่วงหน้า
14. การรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการเพื่อนำมาปรับปรุงและแก้ไข
15. Update กฎหมายภาษีศุลกากร
16. การเข้าสู่กระบวนการอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลาง
17. การปรับลดอัตราโทษจาก 5 เท่าของมูลค่าสินค้าเหลือ 0-4 เท่า
18. เงินรางวัลและสินบนนำจับศุลกากร
19. แนวทางการบริหารความเสี่ยงทางศุลกากรของผู้ประกอบนำเข้า-ส่งออกการจากการตรวจสอบของศุลกากร
20. การป้องกันการใช้พิกัดอัตราภาษีศุลกากรผิดพลาด
21. เทคนิคการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก FTAs และข้อควรระวัง
22. การนำเข้าซอฟแวร์และการจ่ายค่า License fees
23. การตั้งราคาศุลกากรและราคาโอนสำหรับคู่สัญญาที่มีความสัมพันธ์กัน (Customs Valuation & Transfer Pricing)
24. การเก็บเอกสารหลักฐานประกอบการใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ
25. การดำเนินธุรกรรมทางการเงินในเรื่องตราสารเครดิต (Letter of Credit) ผ่านธนาคารในฮ่องกง เพื่อใช้สิทธิลดอัตราอากรภายใต้ความตกลงอาเซียน – จีน (ACFTA)
26. การนำเข้า – ส่งออก สินค้าที่มีการควบคุม สินค้าต้องห้าม สินค้าที่ต้องขออนุญาต หรือ สินค้าอันตราย (Dangerous goods)
27. การผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e-Customs)
28. การให้ตัวแทนออกของ (Shipping) ดำเนินการแทนผู้ประกอบการหรือติดต่อกรมศุลกากร
29. ประเด็นการพิจารณาความผิด การดำเนินคดีตามกฎหมายศุลกากรและการระงับคดีในชั้นศุลกากร
30. ผู้เสียภาษีมีสิทธิอย่างไรในการโต้แย้งการใช้ “ดุลพินิจ” ในการประเมินราคาศุลกากร พิกัดอัตราศุลกากรเทคนิคและปัญหาในชั้นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินอากรต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ กรมศุลกากร
Instructor
ดร.สิทธิชัย พรหมสุวรรณ
ผู้ชำนาญการศุลกากร กรมศุลกากร
Partner ของ กลุ่มบริษัทสยามเคาน์ซิล
อดีตผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด
Registration Fee
ท่านละ 3,000 บาท รวมภาษี 7 % = 3,210 บาท
กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238
บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510
How to Apply
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2 หรือ
แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231
Payment Method
เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ
โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจากต่างจังหวัด)
Notice of Cancellation
ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน
Remark
การส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนากับWASO Training Center นอกจากจะนำความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้แล้ว สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200% ตามพระราชกฤษฏีกา ที่ 437
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit