กรุงเทพฯ--4 ต.ค.--พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส
วิถีความเป็นอยู่ของหนุ่มสาวยุคใหม่ ทำให้โรคหัวใจไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ปี 2554 เผยตัวเลขผู้ป่วยโรคหัวใจ 369,493 คน เสียชีวิตถึง 34,028 คน หรือคิดเป็น 21% ทำให้การดูแลสุขภาพหัวใจกลายเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้จริงๆ ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับในการฟิตสุขภาพ เพื่อลดเสี่ยงโรคหัวใจ เตรียมต้อนรับวันสำคัญของหัวใจอย่าง “วันหัวใจโลก” (World Heart Day) ที่กำลังจะมาถึงเร็วๆ นี้
พลอากาศตรีนายแพทย์บรรหาร กออนันตกูล นายกสมาคมสมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “โภชนาการมีส่วนสำคัญทั้งในด้านการบำรุงและเสริมสร้างสุขภาพ แต่เมื่อมากเกินความต้องการของร่างกายก็จะให้โทษ การเลือกรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังทำให้ปลอดโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย การตรวจโคเลสเตอรอลในเลือดจะเป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงนี้ โดยคอเลสเตอรอลแบ่งเป็นโคเลสเตอรอลรวม ไลโปโปรตีนชนิดที่มีความหนาแน่น LDL และไลโปโปรตีนชนิดที่มีความหนาแน่นสูง HDL ซึ่งไม่ให้พลังงานต่อร่างกายแต่เป็นส่วนสำคัญในโครงสร้างของเซลล์ น้ำดีสำหรับย่อยไขมัน วิตามินและฮอร์โมน ส่วน LDL คือ ไขมันที่ถ้ามีมากเกินไปจะไปทำลายตับ ถ้ามีน้อยเกินไป จะเป็นภัยต่อการเกิดโรค นอกจากนี้ยังมีไตรกลีเซอร์ไรด์ เป็นไขมันที่ประกอบไปด้วยครึ่ง โมเลกุลจากน้ำตาลกลูโคส ซึ่งเชื่อมอยู่ในกรดไขมัน ให้พลังงานต่อร่างกาย แต่ถ้ามากเกินไปก็จะทำให้เกิดโทษเช่นกัน เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือด (Metabolic Syndrome) ซึ่งทั้งหมดนี้นำไปสู่อันตรายของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน อัมพฤกษ์ หรืออัมพาต ที่คร่าชีวิตมนุษย์เป็นอันดับแรกๆ หรือไม่ก็จะกลายเป็นโรคที่ทุพพลภาพเรื้อรัง ขาดคุณภาพชีวิต สิ้นเปลือง เป็นภาระกับญาติพี่น้องและสังคม”
ด้านผศ.นพ.ดิลก ภิยโยทัย คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ภาวะหัวใจวายมีความหมายเดียวกับภาวะหัวใจล้มเหลว ความหมายของโรคนี้ได้แก่สภาพที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ในภาษาอังกฤษเราเรียกว่า “Heart Failure” อาการสำคัญที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ อาการเหนื่อยหอบ บวมตามตัวโดยเฉพาะบริเวณขาสองข้าง สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติที่ส่วนต่างๆ ของหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจพิการ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจอุดตัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ gxHo9ho ทั้งนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือดในคนเราเป็นโรคที่อาจหลีกเลี่ยงหรือลดโอกาสที่จะเป็นได้ด้วยการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ซึ่งพฤติกรรมที่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง พฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้หากปฎิบัติเป็นประจำจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการมีความรู้เบื้องต้นที่ถูกต้องมีความสำคัญสำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ขึ้นกับตัวเองหรืออาจใช้ความรู้ไปช่วยเหลือแนะนำผู้อื่นได้
5 เคล็ดลับในการฟิตหัวใจป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจเบื้องต้น ได้แก่ 1. คิดสักนิดก่อนรับประทานอาหารเข้าปาก เพราะโภชนาการมีส่วนสำคัญทั้งด้านบำรุงและเสริมสร้างสุขภาพ การรู้จักเลือกรับประทานอาหารหมายถึงลดประเภทอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น ลดเค็ม หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง และไขมันชนิดอิ่มตัวสูง เช่น ในน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ งดสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเพิ่มอาหารที่มีกากใยเป็นประจำ เช่น ข้าวกล้อง ผลไม้บางชนิด 2. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ไม่อ้วนและไม่ผอมจนเกินไป การออกกำลังกายเพื่อเผาพลาญพลังงานส่วนเกิน มีเป้าหมายเพื่อสร้างความฟิต ให้กับร่างกาย คนปกติควรออกกำลังกายวันละ 1 ชั่วโมง โดยไม่หักโหมจนเกินไปเพื่อบริหารกล้ามเนื้อหัวใจให้มีการสูบฉีดสม่ำเสมอ โดยคนปกติ อายุ 20,25,30,40 ปี อัตราชีพจรที่เหมาะสม 118-157, 118-155. 115-153, 112-150 ครั้งต่อนาทีตามลำดับ 3.หมั่นสร้างความรื่นรมย์ให้กับชีวิตบ้าง ในวันหนึ่งควรพักผ่อนนอนหลับให้ได้อย่างน้อย 6-7 ชั่วโมง และควรหาเวลาพักผ่อนหย่อนใจ มองโลกในแง่ดี ไม่เครียด เพราะคนเราเมื่อเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอ ะดรีนาลิน และนอร์อะดรีนาลิน ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดหดตัว หัวใจต้องทำงานหนัก ในการส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายให้ได้ เมื่อเกิดความเครียดต้องเรียนรู้ที่จะจัดการกับมันอย่างถูกวิธี 4. ฝึกเป็นผู้ให้บ้างอะไรบ้าง หากิจกรรมจิตอาสา หรือกิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุขไม่เดือดร้อนผู้อื่น ฝึกระงับอารมณ์ ด้วยการไปไหว้พระทำบุญ นั่งสมาธิ หรือระงับความโกรธจากให้ได้ จะทำให้เรารู้สึกอิ่มใจ เป็นการคิดบวกเพิ่มคุณค่าให้กับชีวิต 5.อย่าละเลยที่จะตรวจเช็คสุขภาพ ใครที่พ่อแม่ไม่ป่วยเป็นโรคหัวใจก็โชคดีไป แต่ถ้ามีญาติหรือคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคหัวใจ ตัวเราก็มีความเสี่ยงต่อโรคนี้เช่นเดียวกัน จึงต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ หากพบว่ามีสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของหัวใจเกิดขึ้น เช่น หายใจไม่สะดวก เจ็บร้าวไปที่คอ กราม ลิ้นปี่ เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย ใจสั่น ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม อย่างน้อยควรได้รับการตรวจเช็คว่าระดับไขมันโคเลสเตอรอล และไขมันไตรกลีเซอรอลในเลือดสูงเกินไปหรือไม่ เป็นการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ และอัมพาตได้ ปัจจุบันโปรแกรมที่นิยมตรวจกันตามโรงพยาบาลทั่วไปได้แก่ 1. ตรวจไขมันในเลือด เพื่อหา 1.1 โคเลสเตอรอลในกระแสเลือด ค่าปกติอยู่ที่ 150-200 mg/dl ถ้าพบค่าสูง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคหัวใจ โดยเกิดการหนา และแข็งตัวของเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ 1.2 ไลโปโปรตีน ชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) และ ไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) หากพบว่าเลือดมีค่า HDL สูงแสดงว่าร่างกายมีการเผาผลาญดี ค่าต่ำแสดงว่ามีโคเรสเตอรอลตกค้างมาก เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ส่วน LDL หรือไขมันชนิดเลว ทำหน้าที่ในการนำโคเลสเตอรอลออกจากตับไปสะสมยังเนื้อเยื้อ ถ้าค่าสูงแสดงว่าเกิดการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ทำให้เกิดหลอดเหลือดแดงตีบ 1.3 ไตรกลีเซอไรด์ ค่าปกติคือ 30-200 mg/dl หากพบค่าในเลือดสูง แสดงว่าเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด 2. การตรวจหาระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด
หรือ FBS ค่าปกติ 70-110 mg.dl หากพบว่าค่าน้ำตาลในเลือดสูง แสดงความมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน เพราะตับอ่อนไม่สามารถสร้างและหลั่งฮอร์โมนอินสุลิน หรือสร้างได้แต่หลั่งและออกฤทธิ์ผิดปกติ ทำให้เซลล์ต่างๆ ไม่ได้นำกลูโคสไปใช้ จึงมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง น้ำตาลจะถูกขับออกทางปัสสาวะ เรียกว่า “เบาหวาน” นั่นเอง
อย่าลืมว่าการดูแลสุขภาพก็เพื่อตัวเราเอง และต้องเริ่มที่ตัวเราเองตั้งแต่วันนี้ เคล็ดลับต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเคล็ดลับที่ปฎิบัติได้ไม่ยากอยู่ที่ความมุ่งมั่นตั้งใจจริงของตัวเราเอง หากทำได้เราก็สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ พร้อมยิ้มรับกับวันดีๆ ในชีวิตได้อย่างสดใส “สุขสันต์วันหัวใจโลกค่ะ”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
คุณไอริณ ขันธะชวนะ โทร.0 2 791 2200 บริษัท พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส จำกัด รัชนีย์ อุ่นจิตต์ โทร.0 2651 8989 ต่อ 335
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit