ผลวิจัยเชิงลึกมายด์แชร์เผยความเข้าใจพฤติกรรมการแสดงออกผู้บริโภคบนอินเตอร์เน็ตสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค

05 Oct 2011

กรุงเทพฯ--5 ต.ค.--มายด์แชร์ เอเยนซี่

  • ผู้บริโภคในโลกออนไลน์ กลุ่มใหญ่ที่สุด คือ 68% เป็นกลุ่ม เสือซุ่ม (Spectator) ในขณะที่ กลุ่มผู้บริโภคที่สร้างกระแสและเป็นกระบอกเสียงบนออนไลน์ 2 กลุ่มคือ กลุ่ม ผึ้ง (Creator) และกลุ่มนกแก้วนกหงษ์หยก (Expresser)
  • แนะทำโฆษณาออนไลน์ด้วยความจริงใจ เนื้อหาโดนใจและไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ และคำนึงถึงการผสมผสานระว่างสื่อออฟไลน์และออนไลน์

มายด์แชร์ เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสาร เผยในวันนี้ถึงผลวิจัย “DIGI TALK” – รู้จักผู้รับสารจากจอดิจิตอล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้ทำการศึกษาโดย วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษาคือ กลุ่มที่ใช้อินเตอร์เน็ต อายุ 18-39 ปี ที่กรุงเทพฯ หาดใหญ่ และขอนแก่น นอกจากนี้เรายังได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ กูรู ที่มีความเข้าใจกับผู้บริโภคในโลกดิจิตอลและการทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจผู้บริโภคจากมุมมองอื่น วัตถุประสงค์ในการทำวิจัยในครั้งนี้มุ่งเน้นการฟังความคิดเห็นและทำความเข้าใจพฤติกรรมการแสดงออกของผู้บริโภคบนสื่อออนไลน์ และ Social Media เพื่อศึกษาแนวทางในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้ในเชิงบวกและมีประสิทธิภาพ

เริงฤทธิ์ จินดาพร – ผู้อำนวยการวางแผนและพัฒนาธุรกิจ มายด์แชร์ กล่าวว่า “เพื่อจะเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่านักการตลาด สื่อและเอเจนซี่เปรียบได้กับผู้ส่งสารซึ่งส่งสารไปถึงผู้บริโภคผ่าน “หน้าจอ” อุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แทปเลต เป็นต้น ส่วนผู้บริโภคก็คือผู้รับสารที่อยู่อีกด้านนึงของจอซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้จออื่นๆที่เกิดมาก่อนนั่นเอง Mindshare จึงได้รับฟัง “Voice” อีกด้านหนึ่งของ “หน้าจอ” ศึกษาถึงข้อมูลเชิงลึกในเรื่องพฤติกรรมและทัศนคติของพวกเขา ข้อมูลที่ได้ในโปรเจคนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการสื่อสารให้กับลูกค้าต่างๆ ของบริษัทฯ ข้อมูลบางอย่างอาจเป็นสิ่งยืนยันว่าเราได้รู้จักผู้รับสารที่อยู่อีกด้านหนึ่งของ “หน้าจอ” ดีแล้ว ข้อมูลบางอย่างอาจจะทำให้คุณเซอร์ไพรซ์ก็ได้ว่ายังมีบางมุมของเขาที่คุณยังไม่รู้” มายด์แชร์เผยถึงรายละเอียดเกี่ยวกับงานวิจัยใน 4 ส่วนหลัก รวมถึงข้อสรุปที่ได้จากการทำวิจัยดังนี้

ส่วนแรกที่สำคัญที่สุดในงานศึกษา พบว่ากลุ่มผู้บริโภคบนโลกดิจิตอล (ออนไลน์) แบ่งตามพฤติกรรมการแสดงออกได้เป็น 4 กลุ่มหลักคือ

1) กลุ่มเสือซุ่ม (Spectator) กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดบนออนไลน์ ชอบดู ชอบฟังชอบติดตาม ชอบหาข้อมูลใหม่ๆ ไม่ชอบกระจายข่าว แต่จะบอกต่อเรื่องราวในวงของคนรู้จักสนิทสนม ในวงเพื่อนไม่กี่คนและได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก กลุ่ม กระรอกออกจากโพรง กลุ่มนกแก้วนกหงษ์หยกและกลุ่มผึ้ง

2) กลุ่มกระรอกออกจากโพรง (Joiner ) เป็นกลุ่มที่ก้าวออกมาจากการเป็นเสือซุ่มและมีการปฏิสัมพันธ์บนโลกออนไลน์มากขึ้น ชอบใช้ Social Network รักษาภาพลักษณ์ตัวตนบนโลกออนไลน์ และติดต่อสื่อสารกับเพื่อนและวงสังคมบน Social Network พฤติกรรมการ Vote หรือแสดงความคิดเห็นตามแต่ประเด็นที่ตนสนใจ

3) กลุ่มนกแก้ว นกหงษ์หยก (Expresser) กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เป็นตัวเชื่อมให้เกิดกระแสบอกต่อกัน แบบปากต่อปาก (Worth of mouth) เป็นกลุ่มที่แอคทีฟมากบนโลกออนไลน์มักจะ ทำการอัพเดทสถานะภาพของตัวเองบน Twitter และ Facebook เสมอๆ ชอบแบ่งปันรูปถ่ายจากช่วงเวลาจริงต่างๆ ชอบแช็ต ชอบแชร์และพูดคุยกับเพื่อนออนไลน์ และชอบการติดต่อสื่อสารผ่านมือถือด้วย Instant Messenger, VDO Chat และกิจกรรมออนไลน์ต่างๆในชีวิตประจำวัน

4) กลุ่มผึ้ง (Creator) เป็นกลุ่มที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกออนไลน์ เป็นกลุ่มที่เป็นผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่างๆกับผู้บริโภคออน์ไลน์ เขียนบล็อก และหรือมีเว็บเพ็จส่วนตัวในการสื่อสาร อัพโหลดวิดีโอที่ทำขึ้นด้วยฝีมือและความคิดของตัวเองเป็นกลุ่มที่ เป็น Technology Savvy และเป็นกูรูในเรื่องที่ตนเชี่ยวชาญและสนใจ

ส่วนที่สอง พบว่าในโลกดิจิตอล โทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ของทุกคน สมาร์ท โฟนในกรุงเทพฯ นั้นอาจจะจำกัดอยู่แค่ BB หรือ iPhone แต่ในต่างจังหวัด สมาร์ทโฟนยังมียี่ห้ออื่นๆ อีกที่ได้รับความสนใจ นอกจากนี้การดาวน์โหลด application ยังเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก คนแต่ละกลุ่มที่กล่าวไปแล้วก็มี application ที่แตกต่างกันไป

ส่วนที่สาม พบว่ากิจกรรมที่น่าสนใจในโลกออนไลน์หลักๆคือ

1)การค้นหาข้อมูล - Google ยังเป็นด่านแรกในการเข้าสู่การใช้อินเตอร์เน็ตมีการใช้ฟังค์ชั่นอื่นๆ ใน Google มากขึ้น เช่น แผนที่ แปลภาษา เวปไซต์ท้องถิ่น ถือได้ว่าเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารในท้องถิ่นที่สำคัญ

2)การติดต่อ ผ่าน Facebook Twitter Instant messaging เช่น Skype, BBM, Whatsapp, Facebook messenger

3)ความบันเทิง ผ่าน YouTube Portal website Online เกมส์

4)การทำธุรกรรมออนไลน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เราพบว่า ผู้คนให้ความสนใจธุรกิจออนไลน์ ทั้งในหน้า FanPage และ individual website

ส่วนที่สี่ การทำโฆษณาในโลกดิจิตอลพบว่า

1) พฤติกรรมการเสิร์ชมาเป็นอันดับหนึ่งของทุกกลุ่ม พบว่าการใช้ Organic search result ใน search engine (SEO) ได้รับความสนใจมากกว่า Paid Search Result แต่ก็ยังมีโอกาสสำหรับการทำ SEM อยู่บ้าง และเรายังพบว่า ไม่เฉพาะผลที่ปรากฎแรกเท่านั้นที่ได้รับการคลิกแต่ผู้บริโภคยังดูถึง URL ที่คุ้นเคยอีกด้วย

2) รูปเป็นปัจจัยหลักที่สร้างความสนใจให้ผู้บริโภค รูปภาพที่บอกถึงเรื่องราวในตัวโฆษณาจะดึงดูดให้เกิดการคลิก ใน Facebook และจะดึงดูดกลุ่มเสือซุ่ม และกระรอกออกจากโพรงได้ดี ทั้งนี้จำนวนคนที่คลิก like ใน page นั้นๆ ก็เป็นปัจจัยส่งเสริมการคลิกเช่นเดียวกัน

3) Rich media banner ที่บดบังเนื้อหาในหน้าเวปไซต์จะทำให้ผู้บริโภครำคาญในขณะที่Banner ad ที่เป็น Standard Banner อาจจะได้รับการคลิกมากกว่า Rich media banner ด้วยซ้ำโดยเฉพาะในกลุ่มเสือซุ่มและกระรอกออกจากโพรง หากข้อความและรูปภาพมีความดึงดูด รวมถึงหากเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคกำลังสนใจอยู่ในขณะนั้น

ข้อคิดสำหรับนักการตลาดที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคบนออนไลน์ เริงฤทธิ์ กล่าวว่า “นักการตลาดควรให้ความสนใจกับพฤติกรรมการแสดงออกของแต่ละกลุ่ม เพื่อที่จะเข้าหากลุ่มเหล่านั้นได้ถูกต้อง โดยกลุ่มผึ้งไม่ชอบที่จะโดนควบคุมในวิธีการสร้างข้อมูลหรืองานเขียน และชอบที่จะแสดงความเห็นของตัวเองเกี่ยวกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ลองใช้ ดังนั้น นักการตลาดควรจะตระหนักเสมอว่า การแสดงความเห็นด้านลบอาจจะเกิดขึ้นได้ แต่หากได้รับการชี้แจงแก้ไขที่ทันท่วงทีและด้วยความจริงใจจากเจ้าของสินค้าแล้ว คนกลุ่มนี้จะสามารถ กลับมาให้ความชื่นชมกับแบรนด์ มีความเชื่อมั่นในสินค้ากลับคืนมาและจะบอกต่อๆกับกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆได้ทันที ในขณะที่กลุ่มนกแก้ว นกหงษ์หยกจะชอบความรู้สึกภาคภูมิใจในสังคมดังนั้นหากนักการตลาดต่อการสร้างการมีปฏิสัมพันธ์กลับกลุ่มนี้ต้องให้รางวัลในเชิง Emotional Benefit ในขณะที่กลุ่มกระรอกออกจากโพรงต้องให้รางวัลที่จับต้องได้เพื่อกระตุ้นการบอกต่อเกี่ยวกับกิจกรรมทางการตลาด และสำหรับกลุ่มเสือซุ่ม การผสมผสานระหว่างสื่อออนไลน์และออฟไลน์มีความสำคัญอย่างมากในการเข้าถึงคนกลุ่มนี้

ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นแนวทางให้นักการตลาดสร้างการสื่อสารออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ทั้งในโลกออนไลน์ และส่งผลในเชิงบวกในโลกออฟไลน์ได้อย่างดี”

ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ :

ฐิติภรณ์ อันชูฤทธิ์

โทรศัพท์: 0-2629-6327

โทรสาร: 0-2629-6092

[email protected]

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net