กรุงเทพฯ--8 ก.ย.--ฝ่ายประชาสัมพันธ์โครงการปิ๊งส์ สสส.
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่เดอะสไตล์ บาย โตโยต้า สยาม โครงการปิ๊งส์ โดยแผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ สสส. ร่วมกับ นิตยสาร art4D จัดโครงการประกวดการออกแบบเพื่อชุมชน และร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อเวิร์กช็อปดีไซน์ฮีโร่ ตอน ‘ดีไซน์ปิ๊งส์ชุมชนปิ๊งส์’ เพื่อค้นหาเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีใจรักการออกแบบ สร้างสรรค์ พัฒนาองค์ความรู้หรือสิ่งที่มีอยู่แล้วภายในชุมชน โดยใช้กระบวนการออกแบบมาเป็นจุดเปลี่ยนในการทำให้สิ่งที่มีอยู่เดิมมีความน่าสนใจหรือมีประโยชน์ขึ้นโดยนายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ สสส. กล่าวว่า โครงการ “ดีไซน์ปิ๊งส์ชุมชนปิ๊งส์” นี้เปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีใจรักการออกแบบได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอัตลักษณ์ของชุมชนผ่านการ Architect, Land, Activity, Product, Branding, Media ในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลทั้งในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการก่อนเพื่อเป็นพื้นที่นำร่องที่ให้เกิดมูลค่าและความสามารถในการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยกระบวนการออกแบบ ที่ช่วยกระตุ้นแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในชุมชนด้วยกระบวนการจิตอาสาที่อยากจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ดีให้กับชุมชน ด้วยการนำการออกแบบเข้าไปสร้างสรรค์ ปรับปรุง พัฒนา เปลี่ยนแปลง หรือแก้ปัญหาด้วยชุดความคิด ความรู้ การมีส่วนร่วมที่ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้วชุมชนก็รับต่อเพื่อนำไปต่อยอดต่อไป
ซึ่งนายมงคล พงศ์อนุตรี กรรมการผู้จัดการ คอร์ปอเรชั่น โฟร์ดี จำกัด กล่าวว่า เยาวชนทั้ง 20 ทีมที่ผ่านเข้ารอบเวิร์กช็อปดีไซน์ฮีโร่ ตอน ‘ดีไซน์ปิ๊งส์ชุมชนปิ๊งส์’ ครั้งนี้จะได้รับทั้งข้อมูล ความรู้ การสร้างแรงบันดานใจ จากวิทยากรและพี่เลี้ยงมืออาชีพจำนวนมาก อาทิ นายสเริงรงค์ วงษ์สวรรค์ สถาปนิกและนักออกแบบผลิตภัณฑ์ re leaf และ rubber killer, อ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,นางสาวนวรัตน์ แววพลอยงาม แกนนำกลุ่มเด็กและเยาวชนชุมชนนางเลิ้งหรือ “อีเลิ้ง”, อ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และผู้ประสานงานเครือข่าย Community Act Network (CAN) และนักวิชาชีพทางด้านการสื่อสาร,สื่อสารมวลชนในแขนงศิลปะและสถาปัตยกรรม, พี่เลี้ยงจาก Art4D, สมาคมสถาปนิกสยาม เพื่อพัฒนาโครงการของเยาวชนทั้ง 20 ทีมมีความคมชัดมากขึ้น
ทั้งนี้นายดนัย หวังบุญชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับผลงานที่ผ่านเข้ารอบ 20 ทีมในครั้งนี้นั้นล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นประเภทผลงาน Architect ได้แก่ ทีมฮีโร่(แอนเดอะแก๊งค์)โตไวไว ด้วยผลงานที่ชื่อว่า RE-USE-SPACE ทำในเขตชุมชนตรอกสลักหิน หัวลำโพง จากเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ทีมมดตะนอย ด้วยผลงานที่ชื่อว่ากล่องแห่งความทรงจำ ทำในเขตชุมชนวัดดาวดึงส์ จาก ม.เกษมบัณฑิต, ทีมLike สาระ ด้วยผลงานที่ชื่อว่าลานประสานใจ ทำในเขตชุมชนซอยจอมสมบูรณ์ จากม.ศิลปากร, ทีมพิกุลทอง ด้วยผลงานที่ชื่อว่าตำนานเสียงศิลป์ ถิ่นขลุ่ยบ้านลาว ทำในเขตชุมชนขลุ่ยบ้านลาว (ชุมชนบางไส้ไก่) จากม.ศิลปากร, ทีมใหญ่ สาย คิดเยอะ ด้วยผลงานที่ชื่อว่าปิ๊ป ปิ๊ง ปิ๊ง ทำในเขตชุมชนโรงคราม (ย่านกะดีจีน) จากม.ศิลปากร, รร.โพธิสารพิทยา ประเภทผลงาน Land ได้แก่ ทีมเพชรพระราม ด้วยผลงานที่ชื่อว่าการปรับภูมิทัศน์และประโยชน์ใช้สอยพื้นที่ว่างริมทางรถไฟชุมชนเพชรพระราม ทำในเขตชุมชนเพชรพระราม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ทีมคนเดินทาง ด้วยผลงานที่ชื่อว่าเที่ยวทอไหม ทำในเขตชุมชนบ้านครัว จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ทีมวิ๊งค์ ด้วยผลงานที่ชื่อว่าเดินดินถิ่นมอญ ทำในเขตชุมชนโอ่งอ่าง (เกาะเกร็ด) จาก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ประเภทผลงาน Activity ได้แก่ ทีมMorning Moon ด้วยผลงานที่ชื่อว่า Morning Moonทำในเขตชุมชนคลองลำเจียก คลองกุ่ม บึงกุ่ม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ทีม3B ด้วยผลงานที่ชื่อว่า The Memory (ความทรงจำ) ทำในเขตชุมชนคลองบางหลวง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ทีม151331 ด้วยผลงานที่ชื่อว่าเปิดไฟให้แพร่ง ทำในเขตสามแพร่ง จากม.ศิลปากร, ทีมอำเภอหนึ่งของสุพรรณ ด้วยผลงานที่ชื่อว่าเหลือมาแลก ทำในเขตตลาดสดทั่วไป จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ทีมสำรวม ด้วยผลงานที่ชื่อว่าสวรรค์น้อยๆ ทำในเขตชุมชนอิสลามพัฒนาการ38 (ชุมชนเจริญพัฒนาการ) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเภทผลงาน Product ได้แก่ ทีม ฮาวียอ ด้วยผลงานที่ชื่อว่าThe Hero Chair ทำในเขตชุมชนวัดจตุรมิตรประดิษฐาราม จาก ม.เกษมบัณฑิต, ทีมนิพพานชิมลอง ด้วยผลงานที่ชื่อว่าตุ๊กตาฟันโต (Fun-Toe Doll) ทำในเขตชุมชนตริกท่าวัง (ริมน.เจ้าพระยา) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ทีมThink+D (คิดดี) ด้วยผลงานที่ชื่อว่าฮีโร่ดีไซน์พัฒนาบ้านบาตร ทำในเขตชุมชนบ้านบาตร จาก ม.เทคโนพระจอมเกล้าธนบุรี
ประเภทผลงาน Branding ได้แก่ ทีม Klui (คลู-อิ) ด้วยผลงานที่ชื่อว่าKlui (คลู-อิ) ทำในเขตชุมชนวัดบางไส้ไก่ (บ้านลาว) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ทีมกระต่ายตื่นเต้น ด้วยผลงานที่ชื่อว่าดอนกระต่ายวาไรตี้ ตอน ผลิตภัณฑ์จากขยะรีไซเคิล ทำในเขตชุมชนร่วมรัฐสามัคคี (ดอนกระต่าย) ซ.ประชาอุทิศ54 จากม.เกษมบัณฑิต ประเภทผลงาน Media ได้แก่ ทีมหวด ด้วยผลงานที่ชื่อว่าโครงการออกแบบหนังสือแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเขตบางกอกใหญ่และบางกอกน้อย ทำในเขตชุมชนและสถานที่สำคัญในเขตบางกอกน้อยและบางกอกใหญ่ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมเยาวชนเกสรลำพูb ด้วยผลงานที่ชื่อว่าแผนที่คนเดิน ทำในเขตชุมชนบางลำพู 4 ชุมชน จากมรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ม.หอการค้าไทย, มรภ.ธนบุรี
“ทั้ง 20 ผลงานนี้เป็นผลงานที่มีแนวโน้มของความยั่งยืน เมื่อผ่านเข้าร่วมเรียนรู้และรับประสบการณ์เพิ่มเติมจากพี่เลี้ยงมืออาชีพไปแล้วจะนำไปสู่การคัดเลือกผลงานที่เป็นสุดยอดผลงานเพียง 10 ผลงานเท่านั้นเพื่อรับทุนสนับสนุน จำนวน 10,000 บาท เพื่อทำผลงานต้นแบบออกมา และจะมีเพียง 1 ผลงานเท่านั้นที่จะเป็นสุดยอดผลงานรับประกาศนียบัตร พร้อมเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาท สำหรับการผลิตเป็นผลงานจริงในชุมชน” ผู้จัดการแผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ สสส. กล่าว
นายดนัย หวังบุญชัย กล่าวอีกว่า การประกวดการออกแบบเพื่อชุมชน และร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อเวิร์กช็อปดีไซน์ฮีโร่ ตอน ‘ดีไซน์ปิ๊งส์ชุมชนปิ๊งส์’ ในปีนี้เป็นการมุ่งเน้นทดลองนำร่องครั้งแรกเฉพาะเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น แต่สำหรับแนวโน้มปีถัดไป สสส. ตั้งใจว่าจะมีการขยายไปทั่วทั้งประเทศแน่นอน โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการนี้ ได้ที่ www.PINGs.in.th และ www.facebook.com/sponsorship.th แล้วคุณจะรู้ว่า ความคิดเล็กๆ สามารถสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้สังคมให้ชุมชนได้
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit