กรุงเทพฯ--22 ก.ย.--เกรลิ่ง (ไทยแลนด์)
อาเดรียน แมนโคเวคกี้ นักศึกษาจากสถาบันศิลปกรรมและการออกแบบ จากเมืองบราติสลาวา ประเทศสโลวาเกีย ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์อีเลคโทรลักซ์ ดีไซน์ แล็บ 2554 (Electrolux Design Lab 2011) รอบสุดท้าย ณ การประชุม Room Home Intelligence ที่ Business Design Center กรุงลอนดอน โดยแนวคิดในการออกแบบเครื่องทำความสะอาดรอยเปื้อนแบบพกพา (Portable Spot Cleaner) ของอาเดรียน แมนโคเวคกี้ สามารถเอาชนะผลงานของคู่แข่ง 1,300 ชิ้น จากมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก
คณะกรรมการตัดสินซึ่งประกอบด้วยสถาปนิกและนักออกแบบมือรางวัลหลายท่าน ได้เลือกผู้ชนะเลิศการประกวดการออกแบบผลิตภัณฑ์อีเลคโทรลักซ์ ดีไซน์ แล็บ จาก 1 ใน 8 ของผู้ที่เข้ารอบสุดท้าย ณ การประชุม Room Home Intelligence ที่ Business Design Center กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 7 กันยายน ที่ผ่านมา นักเรียนการออกแบบ อาเดรียน แมนโคเวคกี้ จากประเทศสโลวาเกีย เป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันอีเลคโทรลักซ์ ดีไซน์ แล็บ 2554 ด้วยผลงานเครื่องทำความสะอาดรอยเปื้อนแบบพกพา แนวคิดในการออกแบบของอาเดรียนก็คือ เครื่องขจัดคราบขนาดกะทัดรัด ที่ช่วยเพิ่มความสดชื่นและขจัดรอยเปื้อนออกจากเสื้อผ้าโดยใช้ประจุไอออนลบและไอน้ำซึ่งใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ผลึกน้ำตาล
คณะกรรมการต่างประทับใจความคิดอันสร้างสรรค์และลึกซึ้งของอาเดรียน แรงจูงใจที่ทำให้คณะกรรมการมอบรางวัลชนะเลิศให้แก่เครื่องทำความสะอาดรอยเปื้อนแบบพกพาก็คือ: “เครื่องทำความสะอาดรอยเปื้อนแบบพกพานี้ถูกประดิษฐ์ขึ้นด้วยความเข้าใจในความต้องการเชิงลึกของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้งและยังสอดคล้องกับการใช้งานอย่างมาก ผลงานชิ้นนี้เป็นเครื่องใช้ในการซักรีดแบบใช้ได้ทันที ซึ่งส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเป็นการลดการใช้ทรัพยากรจากการซักผ้าตามปกติลง การใช้งานและปฏิสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ์กับผู้ใช้เป็นไปตามธรรมชาติ เราทุกคนต่างต้องการสิ่งนี้” เฮนริค อ็อตโต รองประธานฝ่ายออกแบบอาวุโส ของอีเลคโทรลักซ์ กล่าวเสริมด้วยว่า โดยส่วนตัว เขาชอบที่เครื่องมือนี้มีความคล้ายคลึงกับเครื่องดูดฝุ่นไร้สาย ซึ่งเป็น “วิธีใหม่ในการรับมือปัญหาการดูแลรักษาผ้าได้ทุกเมื่อที่เกิดปัญหาขึ้น และยังมีการคำนึงถึงเนื้อผ้าที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษอีกด้วย”
“เราต่างตั้งตารอที่จะให้การต้อนรับอาเดรียน แมนโคเวคกี้ เมื่อเขาเริ่มต้นฝึกงานที่อีเลคโทรลักซ์ ดีไซน์ เซ็นเตอร์ ณ กรุงสตอกโฮล์ม” เฮนริค อ็อตโต รองประธานฝ่ายออกแบบอาวุโสของอีเลคโทรลักซ์กล่าว “แต่จริงๆ แล้ว พวกเราต่างประทับใจและได้รับแรงบันดาลใจจากผู้เข้าแข่งขันทุกๆ คนเป็นอย่างมาก” เฮนริคกล่าวเสริม
“มันเยี่ยมมาก” ผู้ชนะกล่าวด้วยความดีใจ และได้กล่าวทักทายกับแม่ของเขาระหว่างการถ่ายทอดสดการแข่งขันรางวัลรองชนะเลิศได้แก่ผลงานชื่อ ริบบอน (Ribbon) โดย เอนโซ โคคัค จากมหาวิทยาลัยโมนาช ในเมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย โดยแรงจูงใจของคณะกรรมการในการเลือกงานชิ้นนี้คือ “ริบบอนเป็นงานที่แสดงให้เห็นถึงความเรียบง่ายอย่างน่าทึ่งในแง่ของรูปลักษณ์และโปรแกรมการใช้งานต่างๆ อีกทั้งวิธีใช้งานก็ตอบสนองต่อผู้ใช้ได้อย่างดี แนวคิดของงานชิ้นนี้เป็นอะไรที่เป็นที่คุ้นเคยและง่ายต่อการจดจำ แต่กระนั้น ตัวงานเองก็มีความแตกต่างมากพอที่จะจัดให้เป็นนวัตกรรมใหม่ได้” รางวัลที่สามตกเป็นของผลงานที่ใช้ชื่อว่า สมูโบ (Smoobo) โดยมี โรเซอาน เดอ บริเอิง จากมหาวิทยาลัยแมสซีย์ นิวซีแลนด์ เป็นเจ้าของงาน โดยคณะกรรมการเล่าถึงแรงจูงใจในการตัดสินว่า “เครื่องปั่นสมูโบมีแนวคิดที่สดใหม่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่มุมด้านสังคมที่ผลงานชิ้นนี้ได้ก้าวข้ามความเป็นเครื่องใช้ภายในบ้านในปัจจุบันไปแล้ว” ส่วนรางวัลขวัญใจมหาชนตกเป็นของแมธธิว ชวาร์ตซ์ กับผลงานชื่อ ออนดา ไมโครเวฟแบบพกพา (Onda Portable Microwave) ซึ่งได้รับคะแนนเสียงไปมากกว่า 17,000 โหวต
ในส่วนของเยาวชนไทย คุณสุทธิ มโนกิจจรูญมั่น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ถึงแม้ว่าปีนี้ เยาวชนไทยจะไม่สามารถคว้ารางวัลระดับโลกมาได้ แต่ผลงานก็เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งทางอีเลคโทรลักซ์ยังมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของเด็กไทย เพราะที่ผ่านมาเด็กไทยก็สามารถแสดงความสามารถในการสร้างสรรค์ได้อย่างยอดเยี่ยมและสร้างชื่อบนเวทีโลกได้สำเร็จ”
“ดังจะเห็นได้จากเมื่อปี 2009 ดุลยวัต วงศ์นาวา นักศึกษาด้านการออกแบบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการคัดเลือกให้เข้าสู่รอบ 8 คนสุดท้าย พร้อมยังได้รับรางวัล “People’s Choice Award” โดยทำการตัดสินจากจำนวนผลโหวตที่มากที่สุดจากประชาชนทั่วโลก นอกจากนี้ ในปี 2010 ที่ผ่านมา ผลงานของดุลยวัตยังได้มีโอกาสเป็น 1 ใน 25 ผลงานสุดท้าย ในรอบชิงชนะเลิศของการแข่งขันอีกด้วย”
“อีเลคโทรลักซ์มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการจัดโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยเช่นนี้ ไปทุกๆ ปี โดยหวังว่าโครงการดังกล่าวนี้จะเป็นอีกหนี่งโอกาสที่ทำให้เยาวชนไทยสามารถสร้างประสบการณ์ที่เป็นแรงบันดาลใจและสามารถแสดงศักยภาพด้านการออกแบบทั้งในระดับประเทศและในระดับโลกได้”
เครื่องไฟฟ้าอัจฉริยะที่สะดวกสบายในการเคลื่อนย้าย
หัวข้อหลักของการแข่งขันในปีที่เก้านี้คือ ‘เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจริยะที่สะดวกสบายในการเคลื่อนย้าย’ บรรดานักศึกษาต่างได้รับเชิญให้เข้าร่วมสรรค์สร้างผลงานเครื่องใช้ในบ้านที่สะท้อนให้เห็นถึงวิธีที่ผู้บริโภคใช้ในการจัดเตรียมอาหาร ทำความสะอาดและล้างภาชนะ ทั้งภายในและนอกบ้านโดยอาศัยมุมมองดังกล่าว เครื่องใช้ที่ออกแบบไม่เพียงแต่จะต้องมีรูปร่างเหมาะแก่การพกพาได้อย่างสะดวก แต่ยังต้องให้ความยืดหยุ่นในการควบคุมเพื่อเพิ่มอิสระแก่ผู้ใช้งานนอกเหนือจากการใช้ในบ้านด้วย แนวคิดที่ได้ถูกกำหนดเป็นพิเศษนี้ได้มอบลักษณะเฉพาะตัวและมอบแรงบันดาลใจแก่ผู้ใช้งาน โดยมีการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมเป็นตัวช่วยสนับสนุนและเป็นแนวทางในการใช้งาน นอกจากนี้ แนวคิดทั้งหมดควรจะสะท้อนค่านิยมในการออกแบบของชาวสแกนดิเนเวียน ที่มีการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากเป็นพิเศษ ให้ความสะดวกสบายในการใช้งานตามธรรมชาติของผู้ใช้ และมีความน่าดึงดูดทางสุนทรียะด้วย
หนึ่งในวัตถุประสงค์ของการแข่งขันดังกล่าวคือการใช้การประกวดเป็นพื้นที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสามารถหน้าใหม่และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆได้ออกสู่ตลาด คณะกรรมการตัดสินจะประเมินผลงานต่างๆจากความเป็นนวัตกรรมดีไซน์ที่คำนึงถึงความสะดวกสบายและสะท้อนความรู้ความเข้าใจในความต้องการเชิงลึกของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง ทั้งนี้ ความสามารถของนักศึกษาในการนำเสนอผลงานการออกแบบของตนก็จัดว่าสำคัญเช่นเดียวกัน เนื่องจากผู้เข้าชิงทั้ง 8 คน ต้องเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศและนำเสนองานของตนแก่คณะกรรมการซึ่งเป็นนักออกแบบผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสิ้น คณะกรรมการตัดสินการแข่งขันในปีนี้ประกอบด้วย นักออกแบบชาวเดนมาร์ก เซซิลี แมนซ์ สถาปนิกเจ้าของรางวัล ฮาเยส และเจมส์ สเลด และเฮนริค อ็อตโต รองประธานฝ่ายออกแบบอาวุโส ของ อีเลคโทรลักซ์
รางวัลชนะเลิศเป็นเงินรางวัลมูลค่า 5,000 ยูโร และโอกาสในการฝึกงานที่ศูนย์การออกแบบระดับโลกของอีเลคโทรลักซ์พร้อมเงินเดือนเป็นระยะเวลา 6 เดือน รางวัลที่สองเป็นเงินรางวัลมูลค่า 3,000 ยูโร และรางวัลที่สาม 2,000 ยูโร ตามลำดับ ส่วนแบบจำลองผลงานชิ้นต่างๆ จะถูกนำไปแสดงทั่วโลกพร้อมการจัดแสดงตามนิทรรศการการออกแบบต่างๆ ซึ่งจะช่วยเผยแพร่ผลงานของนักศึกษาเหล่านี้ไปในวงกว้างมากขึ้น การเข้าร่วมการประกวดอีเลคโทรลักซ์ ดีไซน์ แล็บ ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าประกวดเข้าสู่งานและธุรกิจที่เกี่ยวกับสาขาการออกแบบโดยตรง ผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศในปีที่ผ่านๆ มาหลายคนได้มาเป็นพนักงานที่ศูนย์การออกแบบระดับโลกของอีเลคโทรลักซ์อยู่ขณะนี้ ส่วนผู้ชนะเลิศจากปีที่แล้วกำลังฝึกงานเป็นเวลา 6 เดือนอยู่เช่นกัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข่าวประชาสัมพันธ์โปรดติดต่อ พิมพ์ไพลิน ธีระลีลา หรือ นันท์นภัส สุขปรีดี เกรลิ่ง (ไทยแลนด์) โทร 02-635-7151-2 แฟกซ์ 02-635-7155 อีเมล: [email protected] และ [email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit