สรรพสามิต-ศุลกากรชี้แจงกรณีภาษีบุหรี่นำเข้า

15 Mar 2011

กรุงเทพฯ--15 มี.ค.--กรมสรรพสามิต นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมสรรพสามิตเปิดเผยถึงขั้นตอนการนำเข้าบุหรี่ซิกาแรตว่าผู้นำเข้าต้อง ออนุญาตต่อกรมสรรพสามิตโดยจะต้องแจ้งส่วนประกอบของบุหรี่ ซิกาแรต และแจ้งราคา C.I.F. เพื่อกำหนดวงเงินประกัน รวมทั้งส่งตัวอย่างบุหรี่ซิกาแรตดังกล าวให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบ และเมื่อกรมสรรพสามิตออกใบอนุญาตให้นำเข้าเรียบร้อยแล้ว ผู้ขออนุญาตต้องวางประกันค่าภาษี ละเบิกแสตมป์ไปปิด ณ โรงงานที่ผลิตบุหรี่ซิกาแรตในต่างประเทศ และแจ้งราคาขายปลีกเพื่อให้กรมสรรพสามิตพิจารณาประกาศราคาขายปลีกสูงสุดตามมาตรา 23 สำหรับการจัดเก็บภาษีจากบุหรี่ซิกาแรตนำเข้านั้น นางฉวีวรรณ คงเจริญกิจกุล รองอธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่ากรมศุลกากรจะเป็นผู้จัดเก็บภาษีแทนกรมสรรพสามิตโดยใช้ราคา C.I.F. เป็นฐานในการคำนวณภาษี หากไม่เชื่อราคา C.I.F. ดังกล่ ว กรมศุลกากรต้องดำเนินการกำหนดราคาศุลกากรตามกฎของแกตต์ คือ ในการกำหนดราคาศุลกากรตามความ ตกลงแกตต์ มีหลักการพื้นฐานให้ใช้ “ราคาซื้อขายของของท ่นำเข้า” หรือ “ราคาที่ชำระจริงหรือราคาที่ต้องชำระสำหรับของที่นำเข้า” ทั้งนี้ ได้กำหนดวิธีการประเมินราคาศุลกากรไว้ 6 วิธี โดยต้องกำหนดเรียงตามลำดับ ดังนี้ 1. ราคาซื้อขายของที่นำเข้า 2. ราคาซื้อขายของนำเข้าที่เหมือนกัน 3. ราคาซื้อขายของนำเข้าที่คล้ายกัน 4. ราคาหักทอน 5. ราคาคำนวณ 6. ราคาย้อนกลับ ซึ่งการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องตามความตกลงว่าด้วยการประเมินราคาศุลกากร อาจส่งผลต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือในเวทีการค้าระหว่างประเทศของไทย และเมื่อได้ราคาแล้วกรมศุลกาก รก็จะใช้ราคานี้ในการคำนวณภาษีบุหรี่ที่นำเข้า นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวต่อว่าจากกรณีปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีบุหรี่นำเข้า กรมสรรพสามิตได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1. กรมสรรพสามิตได้ดำเนินการออกประกาศกรม ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 กำหนดราคาขายปลีกบุหรี่สูงสุด ซึ่งตามเจตนารมณ์ของกฎหมายมาตรานี้เป็นเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคที่ห้ามมิให้ผู้ขายขายเกินราคา เป็นอำนาจเฉพาะของ รมสรรพสามิตเพื่อแก้ไขปัญหาบุหรี่ขายเกินราคามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 ซึ่งในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มกรมสรรพากรก็ได้นำราคาที่กรมสรรพสามิตประกาศดังกล่าวไปเป็นฐานคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่ง ที่ประเทศฟิลิปปินส์ได้นำไปฟ้องประเทศไทยต่อองค์การการค้าโลก (WTO) < /o:p> 2. กรณีปัญหาราคา C.I.F. ของบุหรี่ต่ำนั้น กรมสรรพสามิตได้ดำเนินการศึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแล้ว โดยเปลี่ยนฐานในการคำนวณภาษีจากการคำนวณที่ต้องถือตามราคา C.I.F. เป็นราคาขายปลีกแทน 3. กรมสรรพสามิตได้ดำเนินการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 ปรับเพิ่มเพดานอัตราภาษีจากเดิม “ตามมูลค่าร้อยละ 80 หรือ 60 สตางค์ต่อปริมาณหนึ่งกรัม” เป็น “อัตราตามมูลค่าร้อยละ 90 หรือ 3 บาทต่อปริมาณหนึ่งกรัม” ตามข้อเสนอของกระทรวงยุติ รรม ที่ให้กรมสรรพสามิตเรียกเก็บภาษีบุหรี่ตามสภาพ (Specific Rate) ซึ่งส่งผลให้กระทรวงการคลังมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้จัดเก็บภาษียาสูบตามปริมาณ หรือตามสภาพ (Specific Rate) ได้สูงขึ้น และปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอออกกฎกระทรวงเพื่อใช้บังคับต่อไป ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสรรพสามิต โทร. 02 241 4778 www.excise.go.th