กรุงเทพฯ--18 มี.ค.--ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน
วิกฤติการณ์ต่อเนื่องที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะส่งผลให้อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ตกอยู่ในสภาพที่แย่ลงอย่างเห็นได้ชัด นับได้ว่าเป็นความล้มเหลวทางการประชาสัมพันธ์ของทั้งอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ ทำให้ประเทศต่างๆได้สั่งระงับที่จะนำพลังงานนิวเคลียร์มาเป็นตัวเลือกร่วมกับพลังงานเชื้อเพลิง แต่กระนั้นก็ตาม ในบางประเทศอย่าง สหรัฐอเมริกา อิตาลี โปแลนด์ และอินโดนีเซียก็ยังได้พัฒนาแผนการนี้ต่อไป มร.ราวี กริชนาวามี ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน จากบริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกกล่าวว่า “ในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ก๊าซธรรมชาติน่าจะเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ เนื่องจากความต้องการในการใช้ก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะเป็นการเพิ่มในระยะยาวมากกว่าเพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ การที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายโรงในประเทศญี่ปุ่นได้ถูกปิดลงจะทำให้มีการนำก๊าซธรรมชาติและถ่านหินเข้ามาทดแทนพลังงานที่ขาดหายไป จากการประเมินความเสียหายเบื้องต้น คาดว่าโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์น่าจะมีการปิดทำการอย่างน้อย 3 ปี ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวจะทำให้ก๊าฐธรรมชาติและถ่านหินมีราคาเพิ่มสูงขึ้นในระยะยาว”
ประเทศญี่ปุ่นนับได้ว่าเป็นประเทศผู้นำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีรายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งกว่าร้อยละ 70 เป็นการนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ บรูไน ในช่วงก่อนเกิดภัยพิบัติในญี่ปุ่น มีการคาดการณ์ว่าราคาของก๊าซธรรมชาติน่าจะมีราคาสูงถึง $5 -$6 MMBTU ภายในปี 2555 และหลังจากนี้ไปคาดว่าตัวเลขดังกล่าวน่าจะสูงขึ้นอีก เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
มร.ราวี ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในญี่ปุ่นทำให้ราคาก๊าซในทวีปอื่นๆ อาทิ ทวีปยุโรปมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากประเทศผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติ อย่างประเทศ การ์ตาร์ ต้องส่งก๊าซ LNG จำนวนมากขึ้นให้กับญี่ปุ่น ในปี 2552 ที่ผ่านมา ประเทศการ์ตาร์จัดส่งก๊าซ LNG ให้ญี่ปุ่นคิดเป็นร้อยละ 12 ของปริมาณก๊าซที่ญี่ปุ่นนำเข้าทั้งหมด และคาดว่าจะสูงขึ้นอีก 2 เท่าในปี 2555 เพื่อชดเชยการสูญเสียของพลังงานนิวเคลียร์”
นอกจากนี้ ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นๆ อาทิ ก๊าซชากถ่านหิน และหินดินดานได้ถูกนำมาให้เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้โครงการก๊าซจากถ่านหินในอินโดนีเซียและออสเตรเลียอาจได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นหลังจากเหตุการณ์ในญี่ปุ่นครั้งนี้ แต่โครงการดังกล่าวก็อาจได้รับแรงกดดันเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะตามมาเช่นกัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 630 1734 Frost & Sullivan
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit