กรุงเทพฯ--8 มิ.ย.--แอมเมกซ์ ทีม แอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง
จากความเชื่อของคนท้องถิ่น “ปลาพะยูน” เป็นสัตว์หายาก หากนำมารับประทานจะเป็นยาโป๊ว ยาชูกำลังอย่างดีให้แก่ร่างกาย จึงเกิดการซื้อขายปลาพะยูนในราคาที่แพง และนำไปสู่การล่าปลาพะยูนในที่สุด อีกทั้งระบบนิเวศน์ทางทะเลกำลังเกิดความไม่สมดุล หญ้าทะเลถูกทำลายจากการท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ถือเป็นวิกฤตหนึ่งที่ทำให้จำนวนปลาพะยูนลดลงทั้งที่มีจำนวนน้อยจนใกล้สูญพันธ์อยู่แล้วจนปัจจุบันบริเวณแถบหาดปากเมง จึงมีปลาพะยูนเหลืออยู่เพียง 3 ตัว
บริษัท เบอร์แทรมเคมิคอล (1982) จำกัด ได้เล็งเห็นความสำคัญของวิกฤตดังกล่าว จึงได้จัดกิจกรรมอนุรักษ์ปลาพะยูน จ.ตรัง โดยนำหนุ่มสาวตัวแทนคนรุ่นใหม่ และมีความห่วงใยในสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ทำการคัดเลือกจาก www.peppermintfield.com จำนวน 10 คนร่วมกับทีมงานของบริษัทฯ เพื่อเดินทางไปทำกิจกรรมที่จังหวัดตรัง แหล่งที่อยู่อาศัยของปลาพะยูนฝูงสุดท้ายของประเทศซึ่งเหลืออยู่ประมาณ 115-125 ตัว
“ไม่มีใครรักประเทศไทยเท่ากับคนไทย และเราก็เป็นคนไทยก็ควรรักประเทศไทย ทางบริษัทฯ จัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติของไทย เพราะอยากให้คนไทยมาร่วมกัน ถึงแม้จะเป็นจุดเล็กๆ จุดหนึ่ง แต่ก็สามารถสร้างให้เกิดการรับรู้ และขยายวงกว้างออกไปเพื่อคนอื่นๆ มาช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติ” นางสุวรรณา เอี่ยมพิกุล (อัครพงศ์พิศักดิ์) ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท เบอร์แทรมเคมิคอล (1982) จำกัด กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมครั้งนี้
ทั้งคณะได้เดินทางมายังบริเวณท่าเรือปากเมง เพื่อนั่งเรือต่อไปอีกเล็กน้อยถึงบริเวณปากแม่น้ำเมง และเดินต่อไปตามชายทะเล และป่าโกงกางระยะทาง 1 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณพื้นที่ที่จะทำการปลูกหญ้าทะเล โดยมีวิทยากรรับเชิญพิเศษเป็นตัวแทนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาลัยเขตตรัง คณะประมง มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับปลาพะยูนเบื้องต้นว่า ปลาพะยูนมีบรรพบุรุษเดียวกับช้าง เลี้ยงลูกด้วยนมหายใจด้วยปอดต้องขึ้นหายใจที่ผิวน้ำทุก 2-3 นาที พะยูนมีอายุเฉลียวราว 70 ปี โตเต็มวัยจะมีความยาวประมาณ 3 เมตร น้ำหนักประมาณ 300 กิโลกรัม พะยูนไม่สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเลี้ยง การคุ้มครองพะยูนต้องคุ้มครองให้ขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ แม่พะยูนตั้งท้องนาน 13-14 เดือน คลอดลูกครั้งละตัว เลี้ยงลูกอ่อนนาน 18 เดือน ทิ้งระยะลูกแต่ละตัว 3-7 ปี แม่พะยูนให้น้ำนมลูกและสอนให้ลูกกินหญ้าทะเล หากแม่พะยูนตาย หรือลูกพลัดหลงจากแม่พะยูน ลูกพะยูนจะไม่สามารถมีชีวิตรอดได้...ส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ปลาพะยูนคือไม่ทำลายหญ้าทะเลนั้นเอง...เพราะหญ้าทะเล เป็นอาหารของพะยูน ซึ่งจะช่วยให้พะยูนดำรงชีวิตได้ และมีการขยายพันธุ์ในอนาคต
ต่อจากนั้นก็ทำการแจกต้นกล้าของหญ้าทะเลให้ทุกคนได้ช่วยกันปลูก ซึ่งทางคณะประมงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้คิดค้นวิธีเพาะกล้าหญ้าทะเล เพื่อสามารถนำไปปลูกต่อในทะเลและสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้
หลังจากเสร็จกิจกรรมปลูกหญ้าให้ปลาพะยูน ทุกคนรู้สึกอิ่มเอมกับการทำความดีในครั้งนี้ ลองฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังต่อไปนี้
นางสาวจิตราภรณ์ ธาราอมรรัตน์ “จุ๊งโก๊ะ” อายุ 30 ปี อาชีพธุรกิจส่วนตัว กล่าวถึงการมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่ารู้สึกเศร้าใจมากที่รู้ว่าปลาพะยูนยังคงลดจำนวนลงเรื่อยๆ ยิ่งฟังว่าบริเวณนี้เหลือเพียง 3 ตัว ยิ่งทำให้หดหู่ใจบอกไม่ถูก อยากให้ทุกคนมาช่วยกันโดยเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน และขยายต่อไปในวงเพื่อนๆ ให้มาร่วมกันทำกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติกันเยอะๆ อย่างตัวเองมาปลูกหญ้าให้พะยูนครั้งนี้ ทำให้รู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนช่วยทำความดีครั้งนี้
นายพูลสิทธิ์ จรัสแสงไพศาล “ฟง” อายุ 32 ปี อาชีพธุรกิจส่วนตัว กล่าวถึงความรู้สึกว่าดีใจที่ได้มาร่วมปลูกหญ้าทะเลในครั้งนี้ เพราะตนเองไม่เคยปลูกหญ้าทะเลมาก่อนกิจกรรมในครั้งนี้ได้มีวิทยากรสอนให้รู้ถึงวิธีการปลูก ซึ่งก็ง่ายๆ ส่วนตัวรู้สึกสงสารปลาพะยูนที่เหลือจำนวนน้อยลงจนใกล้สูญพันธ์ ยิ่งได้ยินว่าต้องถูกล่าเอาไปกินยิ่งทำให้รู้สึกแย่จนบอกไม่ถูก ชีวิตๆของใครใครก็รักอย่าไปล่าปลาพะยูนเลย มาช่วยกันดีกว่าไม่งั้นโลกใบนี้คงไม่เหลือสัตว์ชนิดไหนเลยนอกจากมนุษย์ และเราจะมีชีวิตอยู่กันอย่างไร
นางสาวอาภานรี ชาวโพธิ์เอน “เพลงป๊อป” อายุ 23 ปี อาชีพ พนักงานฝ่ายสื่อสารการตลาดบริษัท โอเซ่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “สงสารปลาพะยูน บริเวณนี้มีเหลือแค่ 3 ตัวเองไม่น่าเชื่อเลย สำหรับกิจกรรมนี้ให้ความรู้สึกประทับใจมากคะ เพราะได้มาทำประโยชน์ ได้มาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้ช่วยปลาพะยูนได้มาปลูกหญ้า ซึ่งการปลูกหญ้าทะเลไม่ใช่เรื่องยากเลย ใครๆ ก็ทำได้ อยากให้ทุกคนหันมาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ไปที่ไหนก็ไปอนุรักษ์กันได้ทั้งความสนุกทางกาย ทางใจด้วยคะ”
แพทย์หญิงดรุณี ชัยดรุณ “ต้อย” อายุ 46 ปี อาชีพหมอภูมิแพ้เด็ก รพ.กรุงเทพพัทยา ได้ร่วมกิจกรรมครั้งนี้กล่าวว่ารู้สึกดีที่มีหน่วยงานเอกชนเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมกันนี้ก็รู้สึกตกใจ อนารถใจกับการลดจำนวนลงของปลาพะยูน อยากให้รัฐบาลหันมาช่วยสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือวิกฤตครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้
ยังไม่สายเกินไปที่ร่วมกันแก้วิกฤตครั้งนี้เพื่อให้ปลาพะยูนไม่สูญพันธ์ไปจากท้องทะเลไทย แต่คงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆส่วนในการสร้างความสมบูรณ์ให้หวนคืนสู่ทะเลไทย หากทะเลอุดมด้วยหญ้าทะเลแล้ว ปลาพะยูนอาจเพิ่มปริมาณจนรอดพ้นจากการสูญพันธ์ก็เป็นไปได้.
บริษัท แอมเมกซ์ ทีม แอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด
ฝ่ายประชาสัมพันธ์โทร.02-719-6444
จารุวัลย์ นวาวัตน์ (หงส์)
จรรยา จ้อยเจริญ (เก๋)
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit