ธุรกิจประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ

23 Jun 2011

กรุงเทพฯ--23 มิ.ย.--แกรนท์ ธอร์นตัน

หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบอย่างต่อเนื่องในกลุ่มประเทศอาหรับ (Arab Spring*) เป็นระยะเวลาหกเดือนธุรกิจทั่วโลกต่างเริ่มประเมิน ผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ

รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน ฉบับล่าสุด หรือ The 2011 Grant Thornton International Business Report (IBR) รายงานว่าในขณะที่กลุ่มประเทศอาหรับยังคงประสบกับความไม่มั่นคงทางการเมืองนั้น กว่าหนึ่งในห้า (22%) ของธุรกิจเอกชนทั่วโลกกล่าวว่าเหตุการณ์ ดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านลบต่อธุรกิจของตน ซึ่งธุรกิจเอกชนที่มีทัศนคติเช่นนี้มีจำนวนสูงสุดในอเมริกาเหนือ โดยหนึ่งในสี่ (26%) ของธุรกิจเอกชนใน อเมริกาเหนือระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านลบต่อธุรกิจของตน อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามว่าสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อแผนธุรกิจของ บริษัทในกลุ่มประเทศอาหรับหรือไม่ มีเพียง 10% ของธุรกิจทั่วโลกที่ระบุว่ามีแนวโน้มลดลงในการทำธุรกิจในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ แกรนท์ ธอร์นตัน เชื่อว่าแม้จะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น ธุรกิจเอกชนควรเล็งเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจอีกมากในอนาคตในกลุ่มประเทศอาหรับ

เอ็ด นุสบอม ประธานกรรมการบริหาร แกรนท์ ธอร์นตัน อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “ปฏิกิริยาตอบรับของธุรกิจเอกชนในอเมริกาเหนือที่มีต่อ เหตุการณ์ความไม่สงบในกลุ่มประเทศอาหรับนั้นคล้ายคลึงกับของธุรกิจเอกชนทั่วโลก ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านลบอย่าง มีนัยสำคัญและเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อธุรกิจที่ต้องติดต่อกับกลุ่มประเทศอาหรับเป็นประจำ ดังนั้นผลกระทบในวงกว้างของเหตุการณ์ดังกล่าวผนวกกับความ วิตกกังวลต่อราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจึงไม่ได้มีส่วนช่วยในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกที่ประสบปัญหาอยู่ และเมื่อสถานการณ์ในประเทศเยเมนและซีเรียดู เหมือนว่าจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จึงมีแนวโน้มว่าธุรกิจเอกชนจะต้องเริ่มประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้านี้”

“ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ธุรกิจเอกชนต่างประสบปัญหาหลากหลายประการ โดยเป็นผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในกลุ่มประเทศอาหรับ ซึ่ง ราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินงานและการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ ธุรกิจต่างรับรู้ได้ถึงผลกระทบโดยตรงต่อการสั่ง ซื้อสินค้า ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากเส้นทางการกระจายสินค้า (Supply Route) ระหว่างประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบ โดยรัฐบาลในประเทศกลุ่มอาหรับ ให้ความสำคัญต่อปัญหาทางการเมืองมากกว่าการทำธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่นประเทศตุรกี ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดย 36% ของธุรกิจในตุรกีระบุว่าสามารถ รับรู้ถึงผลกระทบด้านลบจากเหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากตะวันออกกลางเป็นตลาดสำคัญในการส่งออกของตุรกี”

“แม้ว่าเหตุการณ์ความไม่สงบในกลุ่มประเทศอาหรับจะส่งผลกระทบในปัจจุบัน แต่ภาพรวมในอนาคตของภูมิภาคดังกล่าวยังมีโอกาสที่รุ่งเรืองรอคอย อยู่ โดยธุรกิจจำนวนมากยังไม่คิดว่าเหตุการณ์ความไม่สงบ ณ ปัจจุบันจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายกิจการหรือการลงทุนในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือใน อนาคต และเนื่องจากกลุ่มประเทศอาหรับยังคงเปิดรับการลงทุนจากภายนอกอย่างต่อเนื่อง ภูมิภาคนี้จึงจะกลายเป็นศูนย์กลางของโอกาสในการเติบโตของ เศรษฐกิจโลกในระยะยาว ซึ่งธุรกิจควรมองว่ากลุ่มประเทศอาหรับเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสทางธุรกิจอย่างแท้จริง และเป็นที่แน่นอนว่าจะเป็นภูมิภาคที่ แกรนท์ ธอร์นตัน จะจับตามองอย่างใกล้ชิดในสองสามปีนี้”

หมายเหตุ

รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ Grant Thornton International Business Report (IBR) นำเสนอทัศนคติและความคาด หวังของกว่า 11,000 ธุรกิจจาก 39 กลุ่มประเทศเศรษฐกิจในแต่ละปี โดยเป็นการสำรวจที่มีลักษณะเฉพาะคือมีการนำผลการสำรวจจากปีที่ผ่านๆ มามาจัดทำ แนวโน้มข้อมูลซึ่งรวมถึง 19 ปีจากหลายประเทศในยุโรป และ 9 ปีจากหลายประเทศนอกเหนือทวีปยุโรป ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.internationalbusinessreport.com

การเก็บข้อมูลการสำรวจนั้นจัดทำผ่านการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เป็นหลัก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 นาที ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น (จัดทำผ่านทาง ไปรษณีย์), ฟิลิปปินส์และอาร์เมเนีย (จัดสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว), จีนและอินเดีย (ใช้ทั้งวิธีตัวต่อตัวและทางโทรศัพท์) เนื่องด้วยความแตกต่างทาง วัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบในการเข้าถึงผู้ร่วมการสำรวจ ทั้งนี้ การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ช่วยให้แกรนท์ ธอร์นตัน สามารถจัดทำการสัมภาษณ์ได้ตามจำนวน ครั้งที่ตั้งไว้ และมั่นใจได้ว่าผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารที่ทำงานในองค์กรที่อยู่ในเกณฑ์การสำรวจที่กำหนดไว้

การเก็บข้อมูลนั้น บริหารจัดการโดยบริษัทวิจัยที่มีชื่อว่า Experian Business Strategies ซึ่งจัดทำการแปลแบบสอบถามเป็น ภาษาของแต่ละ ประเทศ โดยนอกเหนือจากคำถามหลักแล้ว แต่ละประเทศสามารถเพิ่มเติมคำถามที่สำคัญหรือเจาะจงเกี่ยวกับประเทศตนเองได้ และจากปี 2011 เป็นต้นไป จะมีการ เก็บข้อมูลทุกไตรมาสซึ่งการเก็บข้อมูลแต่ละครั้งจะใช้เวลาราว 1 เดือนครึ่ง

กลุ่มตัวอย่างIBR เป็นการสำรวจทัศนคติของธุรกิจเอกชนที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ สำหรับผลสำรวจเรื่องการประเมินผลกระทบต่อธุรกิจจาก เหตุการณ์ความไม่สงบในกลุ่มประเทศอาหรับครั้งนี้ได้มาจากการสัมภาษณ์บริษัทจำนวน 2,697 รายทั่วโลก ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2554

กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารในระดับประธานกรรมการบริษัท กรรมการบริหาร ประธาน และผู้บริหารอาวุโส (ชื่อตำแหน่งนั้นอาจแตกต่างกันตาม ความเหมาะสมในแต่ละประเทศ) จาก 39 กลุ่มประเทศเศรษฐกิจ ใน 5 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ การผลิต (25%), การบริการ (25%), ค้าปลีก (15%) และการก่อสร้าง (10%) โดยอีก 25% เป็นการสำรวจในอุตสาหกรรมอื่นๆ

กลุ่มตัวอย่างในทุกประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารที่มาจากอุตสาหกรรมข้างต้นที่กล่าวมา แต่ในบางประเทศก็จะมีการนำเสนอข้อมูลสำหรับ อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่แตกต่างไปโดยมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า ทั้งนี้จำนวนของกลุ่มตัวอย่างต้องมีมากเพียงพอด้วย

กลุ่มเศรษฐกิจ/ภูมิภาค ประเทศที่ได้รับการสำรวจในIBR

เอเชีย-แปซิฟิก(APAC) ออสเตรเลีย, ฮ่องกง, อินเดีย, ญี่ปุ่น, จีน, มาเลเซีย, นิวซีแลนด์, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไต้หวัน, ไทย, เวียดนาม

กลุ่มประเทศอาเซียน

มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม

BRIC

บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน

สหภาพยุโรป(EU)

เบลเยียม, เดนมาร์ค, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, กรีซ, ไอร์แลนด์, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, โปแลนด์, สเปน, สวีเดน, สหราชอาณาจักร

G7

แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา

ละตินอเมริกา

อาร์เจนตินา, บราซิล, ชิลี, เม็กซิโก

นอร์ดิค

เดนมาร์ค, ฟินแลนด์, สวีเดน

อเมริกาเหนือ

แคนาดา, สหรัฐอเมริกา

*การเดินขบวนและการประท้วงในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือเริ่มต้นเมื่อเดือนธันวาคม 2553

เกี่ยวกับ แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย

แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงธุรกิจในฐานะบริษัทที่ปรึกษาและให้บริการอย่างมืออาชีพระดับแนวหน้าของประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาแก่บริษัทต่างๆ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียปี พ.ศ. 2540 โดยใช้วิธีการปรับโครงสร้าง หนี้ การลดค่าใช้จ่าย และการปรับปรุงแผนธุรกิจ รวมถึงดำเนินการช่วยเหลือลูกค้าขยายธุรกิจผ่านการควบรวมและมองหาโอกาสในการขยายกิจการ ทั้งนี้ การ ให้บริการของแกรนท์ ธอร์นตัน ครอบคลุมถึง การให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ การตรวจสอบบัญชีทั้งภายในและภายนอกองค์กร การให้คำปรึกษาทางภาษีทั้งภายใน ประเทศและต่างประเทศ การให้คำปรึกษาด้านการเงิน การปรับโครงสร้างองค์กร การควบรวมกิจการ งานด้านกฏหมายและการสืบสวน การบริหารความเสี่ยง การ ประเมินราคาทรัพย์สินสุทธิทางการเงินและภาษีก่อนที่จะทำการซื้อขายกิจการ ความช่วยเหลือด้านการโอนเงิน การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ การแนะกลยุทธ์ให้ บริษัทในการออกจากธุรกิจเพื่อถอนทุนคืน การจัดหาบุคลากรระดับผู้บริหาร การเตรียมการเพื่อถ่ายโอนกิจการ และการพิจารณาผลตอบแทน ต้องการข้อมูล เพิ่มเติมเกี่ยวกับ แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย กรุณาค้นหาที่เว็บไซต์ www.grantthornton.co.th

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit