โกเธนเบิร์ก, สวีเดน--24 พ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ - เอเชียเน็ท/ อินโฟเควสท์
ผลการวิเคราะห์ครั้งใหม่ที่ได้จากการศึกษาอัตราการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังครั้งใหญ่ที่สุด แสดงให้เห็นว่า ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ Procoralan(R) (ivabradine) ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต ได้อย่างมีนัยสำคัญ [1] โดยข้อมูลใหม่จากการศึกษา SHIFT (Systolic Heart Failure Treatment with the If Inhibitor Ivabradine Trial) ซึ่งนำเสนอเป็นครั้งแรกในวันนี้ ที่การประชุม Heart Failure Congress 2011นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง อย่างมาก
“การเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยคือเป้าหมายหลักในการจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว”ศาสตราจารย์ คาร์ล สเวดเบิร์ก (Karl Swedberg) ประธานร่วมของ SHIFT จากมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก ประเทศสวีเดน กล่าว “อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวด้วยการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์เพื่อช่วยยืดอายุของผู้ป่วย อาทิ กลุ่มยา เบต้าบล็อคเกอร์ (beta-blockers) นั้น สามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวได้เพียงปานกลาง หรือไม่ช่วยเลย ขณะที่การรักษาด้วยยาขับปัสสาวะ (diuretics) แม้ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเพิ่มอัตราการรอดชีวิต เราจึงต้องการวิธีการรักษาใหม่ๆ อาทิ ivabradine ซึ่งช่วย เพิ่มทั้งคุณภาพชีวิตและการรอดชีวิต”
SHIFT ได้ทำการศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรังจำนวน 1944 ราย จาก 24 ประเทศ ซึ่งถูกสุ่มให้ได้รับยา Procoralan(R) หรือยาหลอก นอกเหนือไปจากการรักษาแบบมาตรฐาน ด้วยการประเมินคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเป็นระยะเวลาสองปี โดยใช้ Kansas City Cardiomyopathy Questionnaire (KCCQ) ซึ่งเป็นแบบประเมินสมรรถภาพและคุณภาพชีวิตเฉพาะโรค [2] KCCQ เป็นแบบสอบถามที่ผู้ตอบกรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง เพื่อแสดงแง่มุมต่างๆของชีวิตแบบวันต่อวัน อาทิ ข้อจำกัดทางกาย อาการของโรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง ปัญหาในการเข้าสังคมในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว
จากการสังเกต พบว่ากลุ่มที่ใช้ยา Procoralan(R) มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยในการวิเคราะห์แบบเจาะจงที่ไม่รวมผู้ป่วยที่เสียชีวิตนั้น ปรากฏว่า คะแนนสรุปทางคลินิก (CSS) เกี่ยวกับอาการของโรคนั้นดีขึ้น และคะแนนสรุปโดยรวม (OSS) ซึ่งรวมถึงแง่มุมทางสังคมและทางคลินิก ดีขึ้นมากกว่าสองเท่าในกลุ่มที่ได้รับยา Procoralan
ผลการวิเคราะห์ใหม่เหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ผลการศึกษาหลักของ SHIFT มีความสมบูรณ์ โดยแสดงให้เห็นว่า Procoralan(R) ลดความเสี่ยงของการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอันเนื่องมาจากภาวะหัวใจล้มเหลวกำเริบได้มากกว่า 25% (26%, p<0.0001) และลดแนวโน้มการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้ในระดับเดียวกัน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้น ปรากฏขึ้นหลังผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยา Procoralan เพียง 3 เดือน แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาแบบมาตรฐานอยู่แล้วก็ตาม
ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย 15 ล้านคนในยุโรป (2-3% ของประชากรทั้งหมด) ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังจะทำให้หัวใจมีความสามารถในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายลดลง ภาวะหัวใจล้มเหลวส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินของโรคและรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้ป่วย และยังมีผลกระทบโดยหลักต่อระบบการดูแลสุขภาพ และเศรษฐกิจ
ภาวะหัวใจล้มเหลวส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วยในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายและการทำกิจวัตรประจำวัน อาทิ งานบ้านและการเข้าสังคม เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวจำนวนครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตภายในระยะเวลา 4 ปี
เมื่อเปรียบเทียบกับโรคเรื้อรังอื่นๆ พบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงในรูปแบบเดียวกับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง โรคซึมเศร้า และโรคตับอักเสบเรื้อรัง [3]
ทั้งนี้ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวจะสามารถทำกิจวัตรประจำวันและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ควบคู่ไปกับความก้าวหน้าในการรักษาที่จะช่วยยืดอายุของผู้ป่วย
“ผลการศึกษาคุณภาพชีวิตในครั้งนี้ ช่วยสนับสนุนผลการศึกษาหลักของ SHIFT ซึ่งชี้แนะถึงความจำเป็นในการพิจารณาวิธีการลดอัตราการเต้นของหัวใจด้วยการใช้ยา ivabradine กับผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวที่มีจังหวะการเต้นของหัวใจปกติ (sinus rhythm) และมีอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 70 ครั้งต่อนาที (bpm)" ศาสตราจารย์ มิเชล โคมัจดา (Michel Komajda) ประธานร่วมของคณะกรรมการบริหาร SHIFT กล่าวสรุป
* ivabradine วางจำหน่ายในชื่อ Procoralan(R), Coralan(R), Coraxan(R), หรือ Corlentor(R) ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ
อ้างอิง
[1] Ekman I. Ivabradine is associated with improved health related
[2] Green CP, Porter CB, Bresnahan DR, Spertus JA. Development and
[3] Juenger J, et al. Health related quality of life in patients with
แหล่งข่าว: Servier
AsiaNet 44636
-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit