10 สุดยอดตำนานแห่งปี 2010: ปีแห่งชีวิตของ สายการบินบริติช แอร์เวย์

01 Feb 2011

กรุงเทพฯ--1 ก.พ.--สตาร์ พีอาร์

สายการบินบริติช แอร์เวย์สร้างตำนานอีกหน้าของวงการอุตสาหกรรมการบินด้วยการวมกิจการกับสายการบินไอบีเรีย

เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มร.วิลลี่ วอล์ช ได้เข้ารับตำแหน่งซีอีโออย่างเป็นทางการในบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์ไลน์ กรุ๊ป หรือ ไอเอจี (International Airlines Group (IAG)) ซึ่งเป็นบริษัทที่เกิดขึ้นจากการรวมกิจการของสายการบินบริติช แอร์เวย์และสายการบินไอบีเรียตำนานอีกบทจาก 12 เดือนที่ผ่านมาที่สายการบินบริติช แอร์เวย์ไม่เคยหยุดยั้งในการที่จะสร้างประวัติศาสตร์ให้เป็นที่จารึกแก่วงการอุตสาหกรรมการบิน นี่คือ 10 สุดยอดเหตุการณ์แห่งตำนานที่จะต้องเป็นที่จดจำของสายการบินปีที่ผ่านมาซึ่งก่อให้เกิดการรวมกิจการของสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์การบิน

มร.วิลลี่ วอล์ช, ประธานบริหารบริษัท ไอเอจี, กล่าวว่า “ไอเอจียังมีอนาคตอีกยาวไกล ทั้งสองสายการบินคือบริติช แอร์เวย์และไอบีเรียจะยังคงดำเนินการต่อไปภายใต้ชื่อเดิมแต่เสริมความแข็งแกร่งและมีศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดถึงสองแห่งในทวีปยุโรป การรวมกิจการของทั้งสองจะก่อให้เกิดรายได้รายปีกว่า 400 ล้านปอนด์ภายในปีที่ 5 และ ทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้นของ ไอเอจี รวมถึงผู้โดยสารของทั้งสองสายการบินและพนักงานก็จะได้รับประโยชน์เช่นกัน สายการบินบริติช แอร์เวย์และสายการบินไอบีเรียคือสองสายการบินแรกภายใต้ไอเอจีและจะไม่เป็นสองสายการบินสุดท้ายอย่างแน่นอน เป้าหมายของเราคือเพิ่มจำนวนสายการบินภายใต้ไอเอจีให้มากขึ้นและต้องเป็นสายการบินที่มีคุณภาพเท่านั้น วันนี้คือก้าวแรกของการสร้างกลุ่มสายการบินนานาชาตินานาสายการบิน”

1. ไอเอจี: บริษัทเกิดใหม่

เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา การรวมกิจการของสายการบินบริติช แอร์เวย์ และสายการบินไอบิเรียได้เสร็จสมบูรณ์อย่างเป็นทางการโดยได้มีกาีรจัดตั้งบริษัทใหม่ภายใต้ชื่อ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์ไลน์ กรุ๊ป หรือ ไอเอจี (International Airlines Group (IAG)) และได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนเป็นที่เรียบร้อย โดยมี มร.วิลลี่ วอล์ช ดำรงตำแหน่งประธานบริหารบริษัท ทั้งนี้ทั้งสองสายการบินจะเปิดให้บริการตามปกติภายใต้ชื่อเดิม บริษัทที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่นี้จะให้ผู้บริการผู้โดยสารกว่า 62 ล้านคน สู่กว่า 250 ปลายทางทั่วโลก ด้วยเครือข่ายเส้นทางการบินในกลุ่มทวีปอเมริกาเหนือและเอเชียของสายการบินบริติช แอร์เวย์ และความครอบคลุมของเส้นทางการให้บริการทางการบินของประเทศกลุ่มละติน อเมริกาจากสายการบินไอบีเรียทำให้ผู้โดยสารมีตัวเลือกเพิ่มมากขึ้นในประเทศปลายทาง ทั้งยังมีเที่ยวบินให้บริการเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย สำนักงานใหญ่ของไอเอจีจะตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และการประชุมผู้บริหารจะเกิดขึ้นที่เมืองแมดริด ประเทศสเปน

2. ข้อตกลงเป็นพันธมิตรร่วมในเส้นทางบิน – สายการบินบริติช แอร์เวย์ และสายการบินไอบีเรียได้รับการอนุมัติในข้อตกลงด้านการเป็นพันธมิตรร่วมกับสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ส

นอกจากจะเกิดการรวมกิจการกันระหว่างสายการบินบริติช แอร์เวย์และสายการบินไอบิเรีย ทั้งสองสายการบินยังได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมาธิการยุโรปและกระทรวงคมนาคมสหรัฐในข้อตกลงด้านการเป็นพันธมิตรร่วมในเส้นทางบินทรานส์ แอตแลนติกกับสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ส ซึ่งมีผลให้ผู้โดยสารของสายการบินได้รับประโยชน์จากเส้นทางการบินที่เพิ่มขึ้นกว่า 500 ปลายทาง, ค่าตั๋วโดรสารที่ถูกลงและความสะดวกสบายที่เพิ่มมาขึ้นในการต่อเครื่องบินระหว่างการเดินทาง ทั้งนี้การเป็นพันธมิตรร่วมในเส้นทางบิน ยังทำให้ผู้โดยสารของทั้งสามสายการบินสามารถสะสมและใช้ไมล์ร่วมกันเพื่อบินข้ามทวีปได้อีกด้วย นอกจากนี้การเป็นพันธมิตรร่วมยังช่วยให้สายการบินสามาึรถเปิดเส้นทางการบินใหม่ได้ิอย่างมีประสิทูธิภาพ และเส้นทางการบินใหม่ จากสนามบินฮีทโธรว์ไปยัง เมืองแซนดิเอโก (รัฐแคลิฟอร์เนีย), ประเทศสหรัฐอเมริกา จะเปิดให้บริการในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

3. สายการบินบริติช แอร์เวย์เปิดตัวเที่ยวบินชั้นเฟิร์ส คลาสรูปโฉมใหม่

เที่ยวบินชั้นเฟิร์ส คลาสรูปโฉมใหม่ของสายการบินบริติช แอร์เวย์ เปิดให้บริการในเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีงบลงทุนสูงถึง 100 ล้านปอนด์ ห้องโดยสารใหม่นี้จะให้ท่านผู้โดยสารได้สัมผัสกับประสบการณ์อันแสนพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งออกแบบอย่างหรูหราและคลาสสิค, เตียงนอนที่กว้างขึ้นถึง 60 เปอร์เซ็นต์ บริเวณที่วางไหล่, ตู้เสื้อผ้าส่วนตัว, จอทีวีส่วนตัว ขนาด 15 นิ้ว และชุดของใช้ส่วนตัวที่ออกแบบโดย อันย่า ฮินด์มาร์ช และชุดผลิตภัณฑ์จาก ดร. ฮาร์รี่ แอนด์ โค แอนด์เรน

การออกแบบของที่นั่งโดยสารชั้นเฟิร์ส คลาสได้รับแรงบันดาลใจจากแบรนด์ระดับพรีเมี่ยมของประเทศอังกฤษและการผสมผสานของความคลาสสิคและความทันสมัยทำให้เกิดประสบการณ์สุดพิเศษเสมือนการบินด้วยเครื่องบินเจ็ทส่วนตัว ที่นั่งโดยสารตกแต่งด้วยโทนสีน้ำเงิน ครีม ช่วยทำให้ที่นั่งดูกว้างขว้างขึ้น พร้อมเบาะ “อัจฉริยะ” ใหม่ และผ้าปูเตียงจากลินินอียิปต์ ทอละเอียดด้วยด้ายกว่า 400 เส้น การพัฒนาของเที่ยวบินชั้นเฟิร์ส คลาสใหม่ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยโดยมีกำหนดที่จะเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2555

4. เครื่องบินโดยสารระยะทางไกลโบอิ้ง 777-300อีอาร์ เครื่องสำหรับการบินทุกชั้น

สายการบินบริติช แอร์เวย์เป็นสายการบินแรกในเครือสหราชอาณาจักรที่ได้นำเครื่องบินระยะทางไกล โบอิ้ง 777-300อีอาร์ มาให้บริการรองรับผู้โดยสาร โดยเครื่องถูกออกแบบมาให้เงียบขึ้นและปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยลงเพื่อการแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาไปอีกขึ้นของสายการบิน บริติช แอร์เวย์ ห้องโดยสารถูกรวบรวมไว้ในทุกชั้นการบินไม่ว่าจะเป็นชั้นเฟริส คลาส, เวิลด์ ทราเวลเลอร์ พลัส, เวิลด์ ทราเวลเลอร์และคลับ เวิลด์โดยมีจำนวนที่นั่ง 297 ที่นั่ง การให้บริการของเครื่องโบอิ้ง 777-300อีอาร์ เป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นของบริติช แอร์เวย์ที่จะให้ผู้โดยสารของสายการบินได้รับแต่ประสบการณ์การเดินทางที่สุดพิเศษด้วยการเสนอสินค้าและบริการที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าและความพยายามลดก๊าซคาร์บอนเพื่อสิ่งแวดล้อม ผู้โดยสารชั้นเวิลด์ ทราเวลเลอร์ พลัสและเวิลด์ ทราเวลเลอร์ยังสามารถเพลิดเพลินไปกับอุปกรณ์ให้ความบันเทิงที่ทันสมัยโดยมีภาพยนตร์ให้เลือกเพิ่มขึ้นกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ทั้งยังเพิ่มจำนวนรายการทีวีและรายการเพลงขึ้นอีกเท่าตัว

5. เพิ่มความเป็นส่วนตัวเมื่อเดินทางกับบริติช แอร์เวย์

ปีนี้ยังเป็นปีที่สายการบินบริติช แอร์เวย์ได้เปิดตัวการให้บริการเครื่องบินเจ็ทส่วนตัว “ไพรเวทคอนเน็ค” (PrivateConnect) ซึ่งเป็นเครื่องบินเจ็ทที่ให้บริการลูกค้าของสายการบินที่มีความประสงค์ที่จะเดินทางในเส้นทางระหว่างอเมริกาเหนือและแคริบเบียน บริการ “ไพรเวทคอนเน็ค” คิดค่าบริการแบบเที่ยวต่อเที่ยวตามแต่ละจุดหมายการบิน (pay-by-the-trip) โดยให้บริการโดยเครือข่ายของบริษัท ไซเทชั่นแอร์ (CitationAir) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท เซสนา แอร์คราฟท์ (Cessna Aircraft Company)

การลงทะเบียนผ่านทางอินเตอร์เน็ตแบบออนไลน์และหมายเลขโทรศัพท์ของบริติช แอร์เวย์ช่วยเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาัีรโดยสามารถชำระเงินผ่านบัตรเครดิตได้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงข้อผูกมัดระยะยาวและการชำระเงินล่วงหน้าซึ่งเป็นขึ้นตอนปฏิบัติที่มักเกิดขึ้นเมื่อเช่าเครื่องบินส่วนตัวทั่วไป

6. “ฟลายอิ้ง สตาร์ท” การเดินทางที่เริ่มจากบริติช แอร์เวย์และ คอมิก รีลีฟ

ในเดือนมิถุนายน สายการบินบริติช แอร์เวย์ได้เปิดตัว “ฟลายอิ้ง สตาร์ท” (Flying Start) กิจกรรมการร่วมมือเพื่อการกุศลระดับโลกร่วมกับ คอมิก รีลีฟ (Comic Relief) ด้วยความตั้งใจที่จะระดมเงินบริจาคให้ถึง 8 ล้านปอนด์ภายในปี 2556 เพื่อที่จะช่วยเหลือเด็กที่ด้อยโอกาสในประเทศอังกฤษและทั่วโลก คอมิก รีลีฟเป็นองค์กรการกุศลขนาดใหญ่ในประเทศอังกฤษที่ตั้งขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างให้โลกปราศจากความยากจน องค์กรคอมิก รีลีฟมีชื่อเสียงจากเคมเปญระดมเงินบริจาคใหญ่ 2 แคมเปญที่จัดในปีที่ต่างกัน คือ แคมเปญ “เรด โนส เดย์” (Red Nose Day) และ “สปอร์ต รีลีฟ” (Sport Relief) ในปีที่ผ่านมา สายการบินบริติช แอร์เวย์มอบเงินกว่า 5 ล้านปอนด์ให้แก่องค์กรเพื่อใช้ดำเนินงานสำหรับกิจการการกุศล โดยเป็นการมอบให้ผ่านทางลูกค้าและการบริจาคเงินอื่น ๆ

7. ผู้นำในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเพื่อลดภาวะโลกร้อน

ในปีที่ผ่านมา สายการบินบริติช แอร์เวย์ ได้มีการแถลงการณ์ครั้งใหญ่ใน 2 เรื่องด้วยกันในการเป็นผู้นำการผลักดันในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากภาคอุตสาหกรรมการบิน

ในเดือนกุมภาพันธ์ สายการบินบริติช แอร์เวย์ ภายใต้ความร่วมมือกับกลุ่มบริษัท Solena Group จะดำเนินการก่อตั้งโรงงานผลิตเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินแบบยั่งยืนแห่งแรกของทวีปยุโรปขึ้น และมีแผนการที่จะใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนต่ำ ในการขับเคลื่อนเครื่องบินโดยสารบางส่วน นับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป

โดยเชื้อเพลิงชนิดใหม่ดังกล่าว จะได้มาจากกากชีวมวลและผ่านกระบวนการผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย ที่สามารถเปลี่ยนขยะนานาชนิดที่ต้องนำไปฝังดิน ให้กลายเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน

โรงงานจะเพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ และมีแนวโน้มที่จะตั้งอยู่ทางตะวันออกของกรุงลอนดอนแห่งนี้ จะสามารถเปลี่ยนขยะจำนวน 500,000 ตันต่อปี ให้กลายเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ถึง 16 ล้านแกลลอนต่อปี ผ่านกระบวนการที่สามารถช่วยลดวงจรการสะสมของก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 95% เมื่อเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงเครื่องบินที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันเชื้อเพลิงที่จะผลิตได้จากโครงการนี้ คิดเป็นกว่า 2 เท่าของปริมาณเชื้อเพลิงสะอาดที่ต้องการใช้ในการขับเคลื่อนเที่ยวบินโดยสารทั้งหมดของบริติช แอร์เวย์ มายังสนามบินลอนดอน ซิตี้ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยไม่ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนสุทธิขึ้นในชั้นบรรยากาศ หรือที่เรียกกันว่าภาวะคาร์บอนสมดุล

นอกจากนี้ สายการบินบริติช แอร์เวย์ยังร่วมกับองค์กรที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมการบิน ทั้งแอร์บัส สมาคมขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ และท่าอากาศยานแก็ตวิก ประกาศการสนับสนุนโครงการนำร่องของมหาวิทยาลัยแครนฟิลด์เพื่อปลูกสาหร่ายที่จะนำมาผลิตเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินเจ็ทในปริมาณที่เพียงพอสำหรับการพาณิชย์

การร่วมมือกัน ซึ่งเรียกว่า “การนำเชื้อเพลิงพลังงานทดแทนมาใช้อย่างยั่งยืน” โดยกล่าวถึงข้อควรคำนึงที่สำคัญสำหรับการใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพจากแหล่งพลังงานทดแทนอย่างสาหร่ายน้ำมันไบโอดีเซล มหาวิทยาลัยฯ มีคณะที่ผลิตนักบินอยู่แล้วที่ภายในมหาวิทยาลัยและมีการปลูกและนำสาหร่ายมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ แต่ทั้งนี้วัตถุประสงค์ท้ายสุดคือเพื่อการอนุรักษ์ทะเลเพื่อการผลิตชีวมวลของเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อวัตถุประสงค์ทางพาณิชย์ที่ยั่งยืน

8. การเปิดตัวแอพพลิเคชั่นโทรศัพท์ใหม่ โมบาย บอร์ดดิ้ง พาส

ในเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมา สายการบินบริติช แอร์เวย์ได้เปิดตัวแอพพลิเคชั่นใหม่สำหรับโทรศัพท์มือถือที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถประหยัดเวลาโดยการเช็คอินผ่านทางสมาร์ทโฟนของลูกค้า จากการเป็นหนึ่งในพัฒนาการที่น่าสนใจสำหรับลูกค้า ผู้ใช้ไอโฟนแบบ “เอ็กเซ็กคูทีฟ คลับ” (Executive Club) สามารถใช้แอพพลิเคชั่นใหม่นี้ที่แสดงบอร์ดดิ้ง พาสบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ มาสแกน ณ จุดเช็คอินเพื่อผ่านขั้นตอนการขึ้นเครื่องบินได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยแอพพลิเคชั่นนี้ยังออกแบบมาสำหรับเครื่องแบล็คเบอร์รี่และสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบแอนดรอยด์ด้วยเช่นกัน

แอพพลิเคชั่นดังกล่าวใช้งานง่ายและมีหน้าเมนูการปฎิบัติงานที่ทันสมัยซึ่งทำให้เกิดความสะดวกสำหรับลูกค้าในการตรวจสอบรายละเอียดของ เอ็กเซ็กคูทีฟ คลับ และรายละเอียดล่าสุดของเที่ยวบิน แอพพลิเคชั่นนี้ให้ความมั่นใจได้ว่าลูกค้าจะสามารถใช้งานได้ด้วยฟังก์ชั่นที่ดีเยี่ยม และสามารถเข้าถึงข้อมูลของเที่ยวบินที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการสำรองที่นั่ง รายละเอียดของ เอ็กเซ็กคูทีป คลับ และคำแนะนำที่เข้าใจง่ายสำหรับลูกค้าเกี่ยวกับแต่ละขั้นตอนของการเดินทาง

9. การทำการบินร่วมกับสายการบินคิงฟิชเชอร์ (Codeshare)

จากการเข้าร่วมเป็นพันธมิตร “วันเวิลด์” (oneworld) ของสายการบิน คิงฟิชเชอร์ แอร์ไลน์ส เมื่อต้นปีที่ผ่านมา สายการบินบริติช แอร์เวย์ได้ประกาศโค้ดแชร์ร่วมกับคิงฟิชเชอร์ แอร์ไลน์ส ซึ่งถือเป็นการร่วมพันธมิตรโค้ดแชร์ครั้งแรกกับสายการบินจากประเทศอินเดีย การร่วมโค้ดแชร์ในครั้งนี้ของบริติช แอร์เวย์ ได้ขยายเส้นทางของสายการบินฯ ออกไปใน 11 เส้นทางในประเทศอินเดีย และหนึ่งเส้นทางในศรีลังกา ซึ่งล้วนเป็นเส้นทางของคิงฟิชเชอร์ แอร์ไลน์ส ในขณะที่คิงฟิชเชอร์ แอร์ไลน์ส ได้ขยายขอบเขตออกไปในเส้นทาง 9 แห่งของสายการบินบริติช แอร์เวย์เช่นกัน ทั้งในฮีทโธร์ว และเส้นทางอื่น ๆ ในประเทศอังกฤษและทวีปยุโรป ลูกค้าของสายการบินสามารถสำรองที่นั่งเพื่อเดินทางจากเว็ปไซต์ของสายการบินใดสายการบินหนึ่งที่เป็นโค้ดแชร์นี้ได้ พร้อมทั้งรับคะแนนไมล์สะสมจากการเดินทางไปยังเส้นทางที่ร่วมโค้ดแชร์ และได้รับสิทธิ์ในการใช้ห้องรับรองผู้โดยสารของอีกสายการบินหนึ่ง มร.วิลลี่ วอล์ช ประธานของสายการบินบริติช แอร์เวย์กล่าวว่า “อินเดียยังคงเป็นหนึ่งในเส้นทางที่สำคัญที่สุดของเที่ยวบินไปสู่จุดหมายปลายทางในระยะไกล การร่วมเป็นพันธมิตรโค้ดแชร์กับคิงฟิชเชอร์ แอร์ไลน์สในครั้งนี้จะช่วยให้ลูกค้าของเราเข้าถึงจุดหมายปลายทางในประเทศอินเดียและศรีลังกา ด้วยสายการบินที่มีอายุน้อย มุ่งมั่นและให้บริการด้วยคุณภาพสูง

10. อาคารผู้โดยสาร 5 สนามบินลอนดอน ฮีทโธรว์ ต้อนรับผู้โดยสารที่มาใช้บริการคนที่ 50 ล้าน

อาคารผู้โดยสาร 5 สนามบินฮีทโธรว์ ของสายการบินบริติช แอร์เวย์ได้ทำการต้อนรับผู้โดยสารคนที่ 50 ล้านที่เดินทางมาใช้บริการของสนามบินในช่วงฤดูร้อนหลังเปิดให้บริการแก่ผู้โดยสารมา 3 ปี

ตั้งแต่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ.2551 อาคารผู้โดยสาร 5 เป็นที่ยกย่องในเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกจากผู้โดยสารที่มาใช้บริการ – และอาคารผู้โดยสร้างก็ถูกวางแผนที่จะมีการ ปรับปรุงให้ดีขึ้นอีก ฮีทโธรว์คือสนามบินที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในโลกและสิ่งอำนวยความสะดวกของอาคารผู้โดยสาร 5 ก็รองรับผู้โดยสารได้เป็นอย่างดีโดยซึ่งก่อให้เกิดเป็นสถิติในเรื่องของความตรงต่อเวลาของการบริการต่างๆ หลังจากที่ย้ายอาคารผู้โดยสารขาออกไปอยู่ที่อาคาร 5 ก็ทำให้สถิติเรื่องความตรงต่อเวลาของเที่ยวบินเพิ่มมากขึ้นถึง 80 เปอร์เซ็นต์จากที่เคยเป็น 50 เปอร์เซ็นต์เมื่ออยู่ที่อาคารผู้โดยสาร 1 และ 4 ในบางวันความตรงแต่เวลาของการออกเดินทางของแต่ละเที่ยวบินมีสูงสุดถึง 90 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ อาคารผู้โดยสาร 5 ของสายการบินบริติช แอร์เวย์ยังได้รับการยกย่องว่าดีที่สุดในเรื่องของการนำส่งสัมภาระของผู้โดยสารว่ามีความเที่ยงตรงเมื่อเปรียบเทียบกับสายการบินอื่นๆที่มีศูนย์กลางอยู่ในทวีปยุโรป ทั้งนี้การนำส่งสัมภาระของผู้โดยสารจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีกเมื่อส่วนที่สามของสนามบินที่เรียกว่า T5 C ได้เปิดให้บริการ T5 C ใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างถึง 300 ล้านปอนด์

11. การเติบโตในด้านการบริหารท่าอากาศยานลอนดอนซิตี

ในปี 2552 สายการบินบริติช แอร์เวย์ได้กลายเป็นสายการบินพาณิชย์สายการบินแรกที่ได้ให้บริการการเดินทางระยะไกลแก่ผู้โดยสารชั้นธุรกิจจากท่าอากาศยานลอนดอนซิตี การเปิดบริการเส้นทางสู่ท่าอากาศยานนานาชาติ จอห์น เอฟ เคเนดี้ แห่งมหานครนิวยอร์ก – เสนอความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางระหว่างสองสถานที่อันเป็นศูนย์กลางด้านการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ตั้งแต่นั้นมา จนถึงปี 2553 การดำเนินงานของสายการบินบริติช แอร์เวย์จากท่าอากาศยานลอนดอนซิตีได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเส้นทางบินใหม่เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก้ลูกค้านักธุรกิจและนักท่องเที่ยวเมื่อต้องการเดินทางไปทำงานหรือวันหยุดในช่วงสั้นๆ เส้นทางการบินที่ได้เปิดให้บริการแล้วเมื่อปีที่ผ่านมาคือคือ ชองเบอรี่, โคเปนเฮเกน, แฟรงค์เฟิร์ต, อิบิซา, พัลมา (มาจอร์กา) และ สต๊อกโฮล์ม และเปิดให้บริการบินสู่บาร์เซโลน่าอีกครั้ง การเปิดเส้นทางการบินใหม่ในในเดือน มกราคม 2553 ส่งผลให้ สายการบินบริติช แอร์เวย์มีเที่ยวบินเข้าสู่ท่าอากาศยานลอนดอนซิตีถึง 54 ไฟลท์ต่อสัปดาห์ และให้บริการได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม เยี่ยมชมได้ที่ www.ba.com

สอบถามข้อมูลประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

ประชาสัมพันธ์สายการบิน British Airways:

ธัญญวรรณ

Star PR Co. Ltd

[email protected]

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net