บรรยายใต้ภาพ: นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการมอบรางวัล Thomson Reuters FX Awards ปี 2 แก่สถาบันการเงินในประเทศไทย ณ โรงแรมเรอเนสซองซ์ กรุงเทพ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์
บุคลลในภาพจากซ้ายไปขวา:
Devika Dutt ผู้จัดการสายงานบริหารเงิน ทอมสัน รอยเตอร์, วศิน ไสยวรรณ ผู้จัดการตลาดบริหารการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์, สุรธันว์ คงทน ผู้จัดการสาขากรุงเทพ ธนาคารเจพี มอร์แกน เชส, กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, อรกัญญา พิบูลธรรม กรรมการผู้จัดการฝ่ายบริหารเงินและการค้าตราสารอนุพันธ์ ธนาคารดอยซ์ แบงก์, ศิริวรรณ ณรงค์ตะณุพล รองผู้อำนวยการ ธนาคารซิตี้แบงก์, ลลิต ธรรมเสรี ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ธนาคารธนชาต, Anthony Northam ผู้อำนวยการฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชีย ทอมสัน รอยเตอร์, สุวิมล เตชัสวรารักษ์ ผู้จัดการธุรกิจประจำประเทศไทย ทอมสัน รอยเตอร์ และ Michael Tsang ผู้อำนวยการสายงานบริหารเงินประจำภูมิภาคเอเชีย ทอมสัน รอยเตอร์
ทอมสัน รอยเตอร์ ประกาศรายชื่อสถาบันการเงินที่ได้รับรางวัลด้านการปริวรรตเงินตราต่างประเทศ (FX AWARDS) เป็นครั้งที่สองสำหรับวงการการเงินของไทยซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมเรอเนสซองซ์ กรุงเทพ ราชประสงค์เมื่อวานนี้ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แสดงปาฐกถาพิเศษต่อแขกผู้มีเกียรติซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน โดยระบุถึงเศรษฐกิจไทยที่กำลังมีการขยายตัว รวมถึงโอกาสด้านการลงทุนและสถานการณ์การเมืองที่เปลี่ยนไป
รางวัลดังกล่าวได้จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและสภาพคล่องในตลาดปริวรรตเงินตราของไทย และได้ตระหนักถึงความสำคัญของตลาดดังกล่าวที่มีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยสถาบันการเงินที่ได้รับรางวัลนั้น ได้รับการคัดเลือกจากปริมาณการซื้อขายและการให้ข้อมูลด้านราคาผ่านระบบซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนแบบอิเล็กทรอนิกส์ของทอมสัน รอยเตอร์
สถาบันการเงินที่ได้รับรางวัลด้านการปริวรรตเงินตราต่างประเทศสาขาต่างๆ ของทอมสัน รอยเตอร์ ได้แก่
สาขาผู้จัดสรรสภาพคล่องดอลลาร์สหรัฐ/บาทยอดเยี่ยม (จากระบบซื้อขาย Dealing Spot Matching)
รางวัลชนะเลิศ: ธนาคารดอยซ์ แบงก์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: ธนาคารกรุงเทพ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)
สาขาผู้จัดสรรสภาพคล่องสกุลเงินต่างประเทศยอดเยี่ยม (จากระบบซื้อขาย Dealing Spot Matching)
รางวัลชนะเลิศ: ธนาคารเจพี มอร์แกน เชส
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: ธนาคารทหารไทย
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: ธนาคารกรุงเทพ
สาขาผู้จัดสรรสภาพคล่องสกุลเงินต่างประเทศยอดเยี่ยม (จากระบบซื้อขาย RTFX)
รางวัลชนะเลิศ: ธนาคารธนชาต
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: ธนาคารยูโอบี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: ธนาคารกสิกรไทย
สาขาผู้ให้ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนยอดเยี่ยม
รางวัลชนะเลิศ: ธนาคารไทยพาณิชย์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ คอร์ปอเรชั่น
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: ธนาคารโตเกียว มิตซูบิชิ
สาขาผู้ให้ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยสกุลเงินบาทยอดเยี่ยม
รางวัลชนะเลิศ: ธนาคารซิตี้แบงก์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: ธนาคารทหารไทย
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: ธนาคารดอยซ์ แบงก์
การซื้อขายเงินตราต่างประเทศเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีปริมาณการซื้อขายที่สูง และยังคงได้รับความสนใจอย่างมากจากวงการซื้อขายทั่วโลก โดยในเดือนมกราคม 2544 มีปริมาณการซื้อขายในตลาดสปอตทั่วโลกโดยเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 1.45 แสนล้านดอลลาร์ โดยทอมสัน รอยเตอร์ เป็นบริษัทแรกที่เปิดตัวระบบซื้อขายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สหรัฐ ผ่านทางบริการจับคู่การซื้อขายทางอิเล็กทรอนิกส์
นางสาวสุวิมล เตชัสวรารักษ์ ผู้จัดการธุรกิจของทอมสัน รอยเตอร์ประจำประเทศไทย เวียดนาม และอินโดจีน กล่าวว่า “เรามีความยินดีที่จะยกย่องบทบาทที่สำคัญของกลุ่มสังคมธุรกิจปริวรรตเงินตราของไทยในการจัดหาสภาพคล่อง และสร้างความโปร่งใสในตลาดที่มีพลวัตแห่งนี้ การทำธุรกิจปริวรรตเงินตราและการให้ข้อมูลด้านราคา ได้นำมาซึ่งการสร้างอัตราอ้างอิงมาตรฐานที่เชื่อถือได้ และอำนวยความสะดวกสำหรับการกำหนดโครงสร้างราคาของเงินบาท เรามีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของกลุ่มสังคมแห่งนี้”
เงินบาทแข็งค่าขึ้น 10.5% ในปี 2553 ซึ่งนับเป็นสกุลเงินที่ปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งที่สุดเป็นอันดับสามในเอเชียรองจากเงินเยน ญี่ปุ่น และมาเลเซียน ริงกิต และในปีเดียวกันตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้น 41% จากกระแสเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าเป็นมูลค่าถึง 1.9 พันล้านดอลลาร์ โดยประเทศไทยมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากอินโดนีเซีย
ทอมสัน รอยเตอร์ในประเทศไทย
ทอมสัน รอยเตอร์เปิดสำนักงานในกรุงเทพมากว่า 100 ปีแล้ว และปัจจุบันมีพนักงานกว่า 1,200 คน โดยธุรกิจส่วนใหญ่ของบริษัทได้อยู่ในประเทศไทยซึ่งรวมถึงการมีผู้เชี่ยวชาญในด้านการเงิน กฏหมาย ภาษีและบัญชี ธุรกิจด้านการรักษาสุขภาพ รวมถึงบริการด้านข่าวของรอยเตอร์และบริการสื่ออื่นๆ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาของทอมสัน รอยเตอร์เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ของไทย และเป็นบริษัทแรกในไทยที่ได้รับใบรับรองมาตรฐาน CMMI (Capability Maturity Model Integration) ซึ่งเป็นมาตรฐานในการปรับปรุงคุณภาพซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพ
สำนักงานของทอมสัน รอยเตอร์ในกรุงเทพนับเป็นศูนย์กลางที่สำคัญสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพ การวิเคราะห์ทางธุรกิจและการสนับสนุนผลิตภัณฑ์สำหรับการดำเนินงานทั่วโลก
นอกจากนี้ ทอมสัน รอยเตอร์ยังมีโครงการรับผิดชอบทางสังคม (CSR) ในประเทศไทย และพนักงานจำนวนมากได้สละเวลาให้กับโครงการเพื่อชุมชนในโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ ซึ่งหลังจากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์สึนามิในปี 2547 มูลนิธิทอมสัน รอยเตอร์ก็ได้ทำการบริจาคเพื่อบรรเทาทุกข์ของผู้ประสบภัยและครอบครัว
ทอมสัน รอยเตอร์
ทอมสัน รอยเตอร์เป็นผู้ให้บริการชั้นนำของโลกด้านข้อมูลสำหรับธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญ โดยผสมผสานความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเข้ากับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีในการนำเสนอข้อมูลที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารระดับสูงในวงการการเงิน กฎหมาย ภาษีและการบัญชี ธุรกิจด้านการรักษาสุขภาพและวิทยาศาสตร์ รวมถึงตลาดสื่อ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรข่าวที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดของโลก
บริษัทมีสำนักงานใหญ่ที่นิวยอร์ค และศูนย์ดำเนินงานที่สำคัญอยู่ในลอนดอนและเมืองอีแกน รัฐมินนีโซต้า โดยทอมสัน รอยเตอร์มีพนักงาน 55,000 คนและเปิดดำเนินการในกว่า 100 ประเทศ ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thomsonreuters.com
ติดต่อ
แดเนียล บิลลิงส์ ภัทรภร ธนทรงตระกูล
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ทอมสัน รอยเตอร์ ฝ่ายขาย ทอมสัน รอยเตอร์
โทร: +852 2843 6911 โทร. +66 (0)2 648 9612
[email protected] [email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit