เจนีวา--23 ก.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์ – เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
- สมาพันธ์หัวใจโลก (World Heart Federation) เรียกร้องให้นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีในที่ทำงานเนื่องในวันหัวใจโลก (World Heart Day)
รายงานการวิจัยฉบับใหม่ของสมาพันธ์หัวใจโลก ซึ่งจัดทำโดย Opinion Health[i] ระบุว่า คนทำงานส่วนใหญ่ (91%) เชื่อว่าการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีต่อสุขภาพเป็นหน้าที่ของนายจ้าง ทั้งนี้ ราว 1 ใน 3 (32%) ของลูกจ้างรู้สึกว่า สถานที่ทำงานของพวกเขาบั่นทอนการมีสุขภาพชีวิตที่แข็งแรง
สามารถชมข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่: http://multivu.prnewswire.com/mnr/prne/whf/44224/
“ผลสำรวจบ่งชี้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างลูกจ้างที่ทำงานในบางภาคอุตสาหกรรมกับการมีส่วนร่วมในโครงการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีในที่ทำงาน ซึ่งปูทางไปสู่การมีสุขภาพหัวใจที่แข็งแรง” ดร.แคทรีน ทอเบิร์ต (Dr. Kathryn Taubert) ผู้บริหารด้านวิทยาศาสตร์ระดับอาวุโสจากสมาพันธ์หัวใจโลก กล่าว “พวกเราหลายคนใช้เวลากว่าค่อนวันในที่ทำงาน ดังนั้น สถานที่ทำงานจึงควรเป็นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่จะลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ”
ผลสำรวจที่ได้รับการเปิดเผยในวันนี้มีขึ้นก่อนถึงวันหัวใจโลก ซึ่งการจัดทำรายงานดังกล่าวนับเป็นโครงการใหญ่ที่สุดที่ทางสมาพันธ์หัวใจโลกได้ริเริ่มและจัดทำขึ้น เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักถึงอันตรายของโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โดยทุกๆ ปีมีประชากรราว 17.1 ล้านคนที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นโรคที่ส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้ [ii] ทั้งนี้ เนื่องในวันหัวใจโลก (26 กันยายน พ.ศ.2553) ทางสมาพันธ์หัวใจโลก และที่ประชุมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ต่างกระตุ้นให้นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันสร้างเสริมสถานที่ทำงานที่เอื้อต่อการมีสุขภาพหัวใจที่แข็งแรง ด้วยการจัดตั้งโครงการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีในที่ทำงาน เพื่อช่วยให้ลูกจ้างมีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีขึ้น เช่น การจัดกิจกรรมด้านสุขภาพด้วยการเปิดรับสมาชิกของสถานที่ออกกำลัง หรือปรับแผนการทำงาน สนับสนุนให้ลูกจ้างเลิกบุหรี่ด้วยการกำหนดให้สถานที่ทำงานเป็นเขตปลอดบุหรี่ หรือจัดโครงการเลิกบุหรี่
“นอกเหนือจากการใส่ใจต่อสุขภาพของลูกจ้างแล้ว นายจ้างควรชี้ให้เห็นถึงประโยชน์จากโครงการสร้างสุขภาวะที่ดีในที่ทำงาน ซึ่งจะทำให้อัตราการลาป่วยลดลง และจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณ รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ และการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ” โอลิวิเยร์ เรย์โนด์ (Olivier Raynaud) ผู้อำนวยการระดับอาวุโสด้านอุตสาหกรรมสุขภาพและสุขภาพระดับโลก จากที่ประชุมเศรษฐกิจโลกกล่าว “ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หลายภาคธุรกิจตระหนักถึงความสำคัญเรื่องสุขภาพของลูกจ้าง และมีมติที่จะกำหนดแนวทางสร้างเสริมสุขภาพขึ้นเป็นนโยบายสำคัญอันดับแรกขององค์กร”
รายงานการสำรวจได้ทำการเปรียบเทียบคำตอบจากลูกจ้างใน 5 ภาคอุตสาหกรรมจากอินเดีย เม็กซิโก โปแลนด์ และโปรตุเกส* โดยผลสำรวจลูกจ้างของสมาพันธ์หัวใจโลกมีดังนี้:
- ราว 1 ใน 10 (11%) ของลูกจ้างไม่เห็นด้วยที่นายจ้างสนับสนุนให้มีสถานที่ทำงานที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี แต่ 6 ใน 10 (63%) ของลูกจ้างสนับสนุนการจัดโครงการเพื่อสุขภาพ และ 8 ใน 10 (80%) เห็นว่า นโยบายประกันสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญมากในการเลือกนายจ้าง
- ลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร (เช่น เกษตรกร) / ผู้ใช้แรงงานจำนวนมากทำงานนานกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อีกทั้งยังมีเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพมากกว่าลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ และมีแนวโน้มว่าจะเป็นกลุ่มที่มีการลาป่วยมากกว่าภาคอุตสาหกรรมอื่น โดยเกือบ 1 ใน 4 (22%) ของลูกจ้างลาป่วยไป 11 วัน หรือมากกว่านั้น ในปีที่ผ่านมา
- ลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมด้านความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง (เช่นทนายความ และนักาบัญชี) มีแนวโน้มว่ามีนายจ้างที่ดำเนินโครงการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีในที่ทำงาน มากกว่าลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยมีกิจกรรมด้านสุขภาพ 5 หรือ 6 โครงการ (เช่นโครงการเลิกบุหรี่ หรือ กิจกรรมเดินมาทำงาน)
- ลูกจ้างในหน่วยงานภาครัฐและการบริการสาธารณะ (เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ หรือ นักวิชาการศึกษา) และภาคอุตสาหกรรมด้านความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง (เช่น ทนายความ และนักบัญชี) มีวิธีการรักษาสุขภาพหัวใจที่แข็งแรง (เช่น บังคับตัวเองให้ออกกำลังการอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ หรือเลิกสูบบุหรี่) มากกว่าลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมการผลิต/วิศวกรรม (เช่น สายงานด้านการค้า และจัดจำหน่าย)
“วันหัวใจโลก ถือเป็นวันสำคัญที่ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกัน รักษา และควบคุมโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ” ศาสตราจารย์เพกกา พัสกา (Pekka Puska) ประธานสมาพันธ์หัวใจโลก กล่าว “เราหวังว่าวันนี้จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนหาแนวทางป้องกันโรคดังกล่าวในที่ทำงาน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ และประชาชนทั่วโลกจะร่วมฉลองในวันหัวใจโลกและต่อสู้กับโรคนี้ไปด้วยกัน”
เพื่อเป็นการฉลองความสำเร็จในการต่อสู้กับโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ และฉลองเนื่องในวาระครบรอบ 10 ปีของวันหัวใจโลก ทางสมาพันธ์หัวใจโลกได้จัดทำรายงานฉบับแรกเรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจขึ้น โดยได้ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (CVD) ร่วมกันทำงานในฐานะคณะกรรมการบรรณาธิการ
"รายงานเรื่อง 'State of the Heart' ถือเป็นการฉลองความคืบหน้าด้านสุขภาพหัวใจในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งระบุความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า และเรียกร้องให้รัฐบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ นายจ้าง และบุคคลทั่วไปเดินหน้าใช้มาตรการต่างๆ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ” ศาสตราจารย์เพกกา พัสกา เสริม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวันหัวใจโลก หรือดาวน์โหลดรายงานเรื่อง 'State of the Heart' สามารถเข้าชมได้ที่ http://www.worldheartday.org
ติดตามความเคลื่อนไหวของวันหัวใจโลกทางทวิตเตอร์ได้ที่ ( http://twitter.com/worldheartfed/ )
มีส่วนร่วมในวันหัวใจโลกทางเฟซบุ๊คได้ที่ ( http://www.facebook.com/home.php?#!/group.php?gid=136086051788 )
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
รายงานผลการสำรวจ
ตัวเลขทั้งหมดมาจาก Opinion Health เว้นเสียแต่ว่าจะระบุไว้เป็นอื่น โดยข้อมูลทั้งหมดมาจากการสำรวจกลุ่มคนทำงานชายและหญิงจำนวน 4,000 คน ในโปแลนด์ เม็กซิโก อินเดีย และโปรตุเกสซึ่งมีการจัดทำขึ้นในรูปแบบออนไลน์ระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม พ.ศ.2553 ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวเป็นข้อมูลที่มีน้ำหนัก และใช้เป็นตัวอย่างได้
*โปแลนด์ เม็กซิโก อินเดีย และโปรตุเกส ได้รับเลือกให้เข้าร่วมการสำรวจเนื่องจากเป็นตัวแทนประเทศที่มีความแตกต่างกันด้านรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ต่อหัว จากการจัดกลุ่มประเทศของธนาคารโลก (World Bank) หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมของหลักเกณฑ์ทั่วไปในการจัดกลุ่มประเทศทั่วโลก สามารถเข้าชมข้อมูลได้ที่ http://data.worldbank.org/country
[i] Opinion Health Online Healthcare Consumer Survey, September 2010.
[ii] World Health Organization, Cardiovascular diseases (CVDs). Last
แหล่งข่าว: สมาพันธ์หัวใจโลก
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit