กรุงเทพฯ--18 ส.ค.--คอร์ แอนด์ พีค
นายรัฐสิริ ไข่แก้ว ผู้จัดการ ประจำภูมิภาค อินโดจีน บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการ และรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต กล่าวว่า ปัจจุบันภัยคุกคามออนไลน์ยังคงสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่อง โดยอาชญากรไซเบอร์จะยังคงใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมการท่องอินเทอร์เน็ต แพลตฟอร์ม และเทคโนโลยีต่างๆ ตลอดจนค้นหาวิธีการใหม่ๆ และวิธีที่ดีขึ้นกว่าเดิมในการแพร่กระจายตัวช่วยในการติดตั้งมัลแวร์ต่างๆ โดยแนวโน้มของภัยคุกคามออนไลน์ล่าสุดที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย ได้แก่
1. การค้นหาที่เป็นอันตราย (POISONED SEARCHES): อาชญากรไซเบอร์จะตรวจสอบคำหรือวลีที่มีผู้นิยมใช้ในการค้นหาสูงสุดเพื่อกำหนดเป้าหมายโจมตีไปยังผู้ใช้ซึ่งกำลังค้นหาข้อมูลจากหัวข้อที่กำลังได้รับความนิยม เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมที่ประเทศปากีสถาน เหตุการณ์โคลนถล่มที่ประเทศจีน หรือการเสีย ชีวิตของดาราหรือนักร้องชื่อดังอย่างไมเคิล แจ็คสัน โดยอาชญากรไซเบอร์เหล่านี้จะพยายามผลักดันเพจที่เป็นอันตรายของตนให้ติดอันดับสูงๆ ในหน้าผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหาเมื่อมีการค้นหาด้วยคำยอดนิยมดังกล่าว
2. สคริปต์ร้ายกาจยิ่งขึ้น (MALICIOUS SCRIPTS): การหลอกล่อให้ผู้ใช้ทำการดาวน์โหลดยังคงเป็นแนวทางหลักที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องผ่านการใช้สคริปต์ที่เป็นอันตราย สิ่งนี้ถือเป็นภัยคุกคามร้ายแรง เนื่องจากชุดคำสั่งที่ใช้เริ่มการโจมตีนั้นจะอาศัยการโต้ตอบจากผู้ใช้น้อยมาก นั่นคือแค่หลอกล่อให้ผู้ใช้เข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่มีอันตรายซ่อนอยู่ก็เพียงพอแล้ว
3. โฆษณามัลแวร์ (อันตราย) (”Mal”vertisements): อาชญากรไซเบอร์อาจเปลี่ยนลักษณะของโฆษณาที่แฝงไปด้วยอันตรายให้กลายเป็นเนื้อหาที่ดูเป็นเรื่องสำคัญได้ ซึ่งนั่นทำให้การแยกแยะระหว่างเนื้อหาที่ถูกต้องและเนื้อหาที่เป็นอันตรายไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
นอกจากนี้ การใช้ไซต์เครือข่ายทางสังคมที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดช่องทางใหม่สำหรับการโจมตีใน รูปแบบเดิม โดยขณะนี้เครือข่ายทางสังคมตกเป็นเป้าหมายหลักของอาชญากรไซเบอร์แล้ว ตัวอย่างเช่น Facebook ซึ่งมีผู้ใช้งานกว่า 300 ล้านรายทั่วโลกก็ได้ตกเป็นเป้าโจมตีของบ็อตเน็ต KOOBFACE เช่นเดียวกัน
นายรัฐสิริ กล่าวเพิ่มเติมว่า “และในปีนี้บริษัทฯ พร้อมนำเสนอเทรนด์ ไมโคร ออฟฟิศ สแกน (Trend Micro? OfficeScan?) ซึ่งเป็นโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยสำหรับจุดรับส่งข้อมูลภายในองค์กรของบริษัท ที่ได้รับการจัดอันดับจากศูนย์ทดสอบเอ็นเอสเอส แล็บส์ (NSS Labs) ว่ามีประสิทธิภาพดีที่สุดในด้านการป้องกันมัลแวร์ที่มาในรูปแบบกลลวงทางสังคม โดยโซลูชั่นออฟฟิศ สแกนของเทรนด์ ไมโคร ได้รับคะแนนในด้านการป้องกันตลอดระยะเวลาการทดสอบที่ 95.2% ส่วนคะแนนการบล็อกไซต์ที่เป็นอันตรายโดยไม่ซ้ำกันอยู่ที่ 86% และได้รับ 60.6% สำหรับเวลาเริ่มต้นในการบล็อก ซึ่งเป็นระยะเวลาการบล็อกภัยคุกคามหลังจากที่ได้รับการเปิดเผยเป็นครั้งแรก ณ จุดส่งข้อมูล โดยเวลาในการบล็อกโดยเฉลี่ยของบริษัท เทรนด์ ไมโครไม่ถึง 5 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับเวลาเฉลี่ยโดยรวมที่มีระยะเวลาเกือบสองวัน (45.8 ชั่วโมง) ทั้งนี้เวลาในการบล็อกคือเวลาเฉลี่ยหลังจากที่ผู้ค้าซอฟต์แวร์ได้เปิดเผยครั้งแรกเมื่อทำการบล็อกภัยคุกคามใหม่”
โซลูชั่นเทรนด์ ไมโคร ออฟฟิศ สแกน ออกแบบมาสำหรับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ช่วยปกป้องเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป แล็ปท็อป เซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และสมาร์ทโฟน ทั้งที่เชื่อมต่อและไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่ายองค์กร ด้วยการผสมผสานสุดยอดนวัตกรรมการป้องกันมัลแวร์และการป้องกันแบบออนไลน์จากเทคโนโลยีเครือข่ายป้องกันภัยอัจฉริยะ (Trend Micro? Smart Protection Network?) รูปแบบการตรวจสอบประวัติไฟล์ใหม่ที่แยกจากอุปกรณ์ปลายทางของผู้ใช้งาน โดยใช้วิธีการย้ายไฟล์ แพทเทิร์นไปเก็บไว้บนคลาวด์และการตรวจสอบประวัติเว็บไซต์ที่สามารถปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสถาปัตยกรรมแบบปลั๊กอิน, ระบบควบคุมอุปกรณ์แบบใหม่, ฟังก์ชัน HIPS, ระบบเสมือนจริง และการขยายแพลตฟอร์มที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดการให้น้อยลง และเพิ่มความยืดหยุ่นได้มากขึ้น
“สำหรับกลยุทธ์ทางธุรกิจของเทรนด์ ไมโคร ในปีนี้ จะยังคงเน้นให้ความสำคัญกับบริการ และการสนับสนุนฐานลูกค้า “ที่มีอยู่เดิม” ด้วยการทำให้ลูกค้า “มั่นใจในตัวเอง” มากขึ้น และจัดสัมมนาอัพเดทความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและรักษาความปลอดภัยข้อมูลในองค์กรให้กับกลุ่มลูกค้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเน้นทำตลาดผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยสำหรับเซิร์ฟเวอร์และศูนย์ข้อมูลเพิ่มมากขึ้น และการพัฒนาคู่ค้ารายสำคัญด้วยโปรแกรมที่คู่ค้าแต่ละรายสามารถกำหนดเองได้ เพื่อให้สามารถบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และครอบคลุมกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น” นายรัฐสิริ กล่าวสรุปท้าย
สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
บุษกร สนธิกร โทร +66 (0) 2439 4600 ต่อ 8202 อีเมล [email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit