กรุงเทพฯ--22 มี.ค.--ไดอิจิ – คิคากุ
ชาร์ปตอกย้ำความเป็นผู้นำในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้วยการทำให้อากาศบริสุทธ์ผ่านเทคโนโลยี “พลาสม่าคลัสเตอร์” ลิขสิทธิ์เฉพาะจากชาร์ปที่ผ่านการพิสูจน์ประสิทธิภาพจากสถาบันวิจัยชั้นนำของโลกรวม 13 แห่ง และในประเทศไทย 2 แห่ง เผยโฉมผลิตภัณฑ์ล่าสุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสม่าคลัสเตอร์ “เครื่องพ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ สำหรับใช้ในรถยนต์” ที่พัฒนาขึ้นเจาะกลุ่มผู้ใช้รถเมืองไทยที่ห่วงใยสุขภาพตนเองและครอบครัว
มร.ทัตซึยะ มิยากิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาร์ป ไทย จำกัด เผยว่า “ปัจจุบันผู้บริโภคชาวไทยมีความตื่นตัวในการป้องกันมลพิษทางอากาศที่ประกอบด้วยเชื้อรา ซากจากไรฝุ่น แบคทีเรีย รวมถึงไวรัส ที่เป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มากขึ้น และส่งผลให้กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนของชาร์ป อาทิ เครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศ เครื่องพ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ และตู้เย็นที่ใช้เทคโนโลยี “ชาร์ป พลาสม่าคลัสเตอร์” มีอัตราการเติบโตในประเทศไทยมากกว่าปีละ 30 %
ดังนั้นชาร์ปจึงเดินหน้ามุ่งขยายพื้นที่อากาศบริสุทธิ์เพิ่มมากขึ้น โดยขยายตลาดกลุ่มเครื่องพ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์สู่กลุ่มผู้ใช้รถยนต์ ได้แก่ “เครื่องพ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ สำหรับใช้ในรถยนต์” ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีประสิทธิภาพในการทำงานและมีขนาดพอดีกับที่วางแก้วในรถยนต์ เนื่องจากการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของคนไทยที่อาศัยในตัวเมืองซึ่งมีการจราจรคับคั่ง และต้องใช้ชีวิตอยู่ภายในรถที่มีการหมุนเวียนของอากาศค่อนข้างจำกัดวันละหลายชั่วโมง ด้วยประสิทธิภาพของอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ที่กระจายตัวเข้าสู่ห้องโดยสารจะช่วยฆ่าเชื้อโรคในอากาศภายในรถได้ทันที และที่สำคัญยังช่วยสลายกลิ่นอับชื้นจากช่องปรับอากาศ สลายกลิ่นบุหรี่ และทำลายสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นใต้พรมได้ทันที จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ รวมถึงผู้ที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ”
“เครื่องพ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ สำหรับใช้ในรถยนต์” มีหลักการทำงานเหมือนเครื่องฟอกอากาศพลาสม่าคลัสเตอร์ แต่จะแตกต่างกันตรงที่เครื่องพ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์จะมีปริมาณความเข้มข้นของพลาสม่าคลัสเตอร์ที่พ่นออกมาเพื่อฆ่าเชื้อโรคสูงกว่าเครื่องฟอกอากาศพลาสม่าคลัสเตอร์ 3 เท่าตัว
โดยระบบพลาสม่าคลัสเตอร์จะมีหลักการทำงาน คือ อนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ที่พ่นออกมาจะถูกห้อมล้อมด้วยโมเลกุลน้ำในอากาศกลายเป็นกลุ่มอนุภาคแอคทีพไฮดรอกซิล ซึ่งมีคุณสมบัติคือไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ ต้องไปจับตัวกับอนุภาคของสิ่งต่างๆ ดังนั้นเมื่อไปเจอกับเชื้อโรคในอากาศ กลุ่มอนุภาคเหล่านี้ก็ไปจับกับอะตอมไฮโดรเจนบนผนังเซลล์ของเชื้อโรค ทำให้โครงสร้างทางเคมีของผนังเซลล์เปลี่ยนไป จนคงรูปอยู่ไม่ได้ เท่ากับปริแตก และทำให้เชื้อโรคตายไปในที่สุด
ด้วยหลักการทำงานนี้เอง ทำให้พลาสม่าคลัสเตอร์สามารถฆ่าเชื้อโรคในอากาศ ทั้งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เชื้อวัณโรค และยังสามารถสลายสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการสลายกลิ่นบุหรี่ กลิ่นอับชื้นจากช่องปรับอากาศได้ทันทีที่เปิดเครื่อง อนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ ปลอดภัยต่อร่างกาย ไม่เหมือนกับการใช้ระบบโอโซน หรือแสงยูวี ที่เป็นพิษต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังประหยัดเงิน เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแผ่นฟอกอากาศ ทั้งยังมีอายุการใช้งานยาวนาน โดยชุดกำเนิดอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ในเครื่องพ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ สำหรับใช้ในรถยนต์จะมีอายุการใช้งานถึง 17,500 ชั่วโมง หรือ 6 ปี ในกรณีที่ใช้งาน 8 ชั่วโมงต่อวัน
“ในปีที่ผ่านมาตลาดเครื่องฟอกอากาศในประเทศไทยมีมูลค่ารวมถึง 700 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องปีละ 15 – 20 %
ซึ่งเกิดจากปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมลพิษต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัว ทำให้คนไทยหันมาใส่ใจในเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น โดยชาร์ปเป็นหนึ่งในบริษัทระดับโลกที่ให้ความสำคัญต่อการคิดค้น และพัฒนาเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์นี้เพื่อทำให้อากาศบริสุทธิ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 และมียอดจำหน่ายเครื่องกำเนิดอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ ซึ่งใช้ในธุรกิจต่างๆ อาทิ สุขภัณฑ์ที่มีฝารองนั่ง ระบบระบายควัน ระบบลิฟท์ ระบบปรับอากาศที่ภัตตาคารและห้องพักแขกบนชั้น 7 ของโรงแรมอิมพีเรียล โรงแรมหรูที่ประเทศญี่ปุ่น รถไฟชินคันเซ็น รวมแล้วมากกว่า 20 ล้านยูนิตทั่วโลก” มร. มิยากิ กล่าวเสริม
พบกับ “เครื่องพ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ สำหรับใช้ในรถยนต์” ได้แล้ววันนี้ที่ ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า และห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ ในราคา 4,990 บาท
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกับเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.sharp-pci.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ไดอิจิ – คิคากุ (ประเทศไทย) จำกัด
โทร 0-2949-2782 และ 0-2949-2785 หรือ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ชาร์ป ไทย จำกัด
โทร 0-2638-3662
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit