ผู้เชี่ยวชาญเผยผลสำรวจชี้ผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจียในเอเชียทรมานจากอาการปวดเรื้อรังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต

03 Nov 2009

กรุงเทพฯ--3 พ.ย.--เวเบอร์ แซนวิค

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช นายกสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย (ซ้าย) ร่วมกับ ดร. เฮนรี่ ลู หัวหน้าคลินิคควบคุมความปวดแห่งศูนย์การแพทย์มาคาติ ประเทศฟิลิปปินส์ (ขวา) เผยผล “การสำรวจศึกษาแนวโน้มสถานการณ์และความรู้ความเข้าใจของโรคไฟโบรมัยอัลเจียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” รายงานโดยเครือข่ายพันธมิตรเพื่อการรักษาความปวดจากไฟโบรมัยอัลเจีย ผลสำรวจพบโรคไฟโบรมัยอัลเจียยังไม่เป็นที่คุ้นเคยในแพทย์ ทำให้คนไข้ได้รับการส่งตรวจค้นทางห้องปฏิบัติการหลายอย่างและปรึกษาแพทย์อย่างน้อย 2 คนถึงจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยเฉลี่ย 5.5–15.4 เดือน ผลการสำรวจยังชี้ว่าผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจียได้รับผลกระทบด้านการเงินเป็นอย่างมากจากค่าใช้จ่ายการตรวจค้นหาสาเหตุและการรักษา รวมถึงสมรรถภาพในการดำรงชีพและประกอบอาชีพถดถอย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก โดยโรคนี้มีแนวโน้มการเกิดกับเพศหญิงวัยทำงานมากกว่าเพศชาย โดยมีอัตราส่วนหญิง : ชาย ที่ 9 : 1 บรรยายภาพ (จากซ้าย) รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช นายกสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย,ผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจีย, ดร. เฮนรี่ ลู หัวหน้าคลินิคควบคุมความปวดแห่งศูนย์การแพทย์มาคาติ ประเทศฟิลิปปินส์

สื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:

คุณอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ / คุณภาวัช อนุวงศ์ โทรศัพท์: 0-2343-6059 / 0-2343-6062

อีเมล์: [email protected], [email protected]

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net