กรุงเทพฯ--28 ต.ค.--เวเบอร์ แซนวิค
โรคไฟโบรมัยอัลเจีย คือโรคปวดเรื้อรังที่ยังเป็นองค์ความรู้ใหม่ ด้วยอาการที่ซ้ำซ้อนทำให้เกิดความลำบากและล่าช้าในการวินิจฉัยโรค
ผลสำรวจล่าสุดที่จัดขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจีย จำนวน 506 ราย และกลุ่มแพทย์ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 941 คน แสดงให้เห็นว่าโรคไฟโบรมัยอัลเจียยังไม่เป็นที่คุ้นเคยในแพทย์ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันพบว่า สาเหตุกลไกพยาธิสภาพความปวดของโรคไฟโบรมัยอัลเจียเกิดจากสมองส่วนที่ทำหน้าที่รับรู้ความปวดและความเครียดอยู่ในสภาวะที่ไวกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดได้ง่ายและรุนแรงกว่าปกติ และมักจะมีอาการได้หลายแห่งตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย พบบ่อยในเพศหญิงวัยทำงาน โดยมีอัตราส่วนหญิง : ชาย ที่ 9 : 1 และเนื่องจากอาการปวดที่มีหลายแห่งทำให้ได้รับการส่งตรวจค้นทางห้องปฏิบัติการหลายอย่างและปรึกษาแพทย์อย่างน้อย 2 คนถึงจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง ทำให้เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยเฉลี่ย 5.5–15.4 เดือน ด้วยอาการเรื้อรังของอาการปวดและความเครียดของผู้ป่วยทำให้มักจะส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ ทำให้ปวดเมื่อยตามตัว ฝืดตึงตามข้อต่าง ๆ และร่างกายเสื่อมโทรม ผลการสำรวจยังชี้อีกว่า ผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจีย ได้รับผลกระทบด้านการเงินเป็นอย่างมากเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการตรวจค้นหาสาเหตุและรักษาความเจ็บป่วย รวมถึงสมรรถภาพในการดำรงชีพและประกอบอาชีพถดถอย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก
เครือข่ายพันธมิตรเพื่อการรักษาความปวดจากไฟโบรมัยอัลเจีย (The Fibromyalgia Pain Management Alliance - FPMA) ได้เผยผลรายงานล่าสุดเรื่อง “การสำรวจศึกษาแนวโน้มสถานการณ์และความรู้ความเข้าใจของ โรคไฟโบรมัยอัลเจียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ The SE Asia FACTS (South East Asia Fibromyalgia Awareness, Concerns and Trends Survey) เนื่องในโอกาสการประชุมวิชาการประสาทวิทยาโลก (World Congress of Neurology - WCN) โดยเครือข่าย FPMA ประกอบด้วยสมาชิกผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาวิชาจากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค
การสำรวจเรื่อง “แนวโน้มสถานการณ์และความรู้ความเข้าใจของโรคไฟโบรมัยอัลเจียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นการสำรวจครั้งแรกภายใต้หัวข้อนี้ โดยผลสรุปข้อมูลที่ได้ล้วนมีความสำคัญเนื่องจากเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงสภาพความเป็นจริงของภูมิภาคเราที่เป็นอยู่จริงในขณะนี้ เรายินดีที่มี
การสำรวจครั้งนี้ เพราะทุกข้อมูลคือเสียงสะท้อนที่ถือว่านำมาซึ่งพัฒนาได้อย่างถูกทิศทาง สอดคล้องกับความต้องการของสังคม” รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช นายกสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย กล่าว และยังเสริมว่า “ผมหวังว่าข้อมูลจากผลการสำรวจที่เราได้ จะช่วยเสริมสร้างกระแสการตื่นตัว เพื่อการวินิจฉัยที่รวดเร็วขึ้น และการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ในกลุ่มผู้ป่วยปวดเรื้อรังไฟโบรมัยอัลเจียของทวีปเอเชียต่อไป”
โรคไฟโบรมัยอัลเจีย เป็นโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยๆ โดยมักมีอาการเจ็บปวดเรื้อรังและอาการปวดจะขยายลุกลามไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และมีผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากโรคนี้มากกว่า 40 ล้านคนทั่วโลก ข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดสนับสนุนว่า สาเหตุสภาพความปวดของโรคไฟโบรมัยอัลเจียเกิดจากสมองส่วนสั่งงานและที่ทำหน้าที่รับรู้ความปวดทำงานไวกว่าปกติ (neuronal hyper-excitability) ทำให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงอาการเจ็บปวดได้ง่ายและรุนแรงกว่าคนปกติ นอกจากนี้อาการปวดยังขยายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนทำให้ผู้ป่วยมักเกิดอาการเครียด คนป่วยเป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจีย มักจะมีอาการนอนหลับไม่สนิท แทรกซ้อนมาด้วยทำให้รู้สึกเมื่อยล้า และเหนื่อยอ่อน ไฟโบรมัยอัลเจียเป็นโรคที่มีแนวโน้มการเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีอัตราส่วนหญิง : ชาย ที่ 9 : 1 หรือ ประมาณ 87 เปอร์เซ็นต์ พบว่าเป็นผู้ป่วยเพศหญิง
ผลกระทบในแง่ลบที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
จากผลการสำรวจ ผู้ป่วยอย่างน้อย 1 ใน 5 คนรายงานว่าคุณภาพชีวิตทั่วไปของพวกเขาได้รับผลกระทบจากโรคไฟโบรมัยอัลเจียในระดับที่ “สูงมาก” (very strong) และ “สูง” (strong) นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่รายงานว่าโรคไฟโบรมัยอัลเจียส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย ตลอดจนสภาพอารมณ์และความสามารถในการดูแลครอบครัว ในประเทศอินโดนีเซียและประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ที่ได้รับผลกระทบจากโรคต่อคุณภาพของการทำงาน
ผลกระทบทางด้านการเงินจากโรคไฟโบรมัยอัลเจีย
ผลการวิจัยข้างต้นพบว่าผู้ป่วยในประเทศไทยเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ และอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ ใน 4 ประเทศจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้จัดทำการวิจัย รายงานว่าพวกเขาไม่สามารถประกอบอาชีพได้อย่างเต็มที่ และไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้เท่ากับเมื่อตอนที่ยังไม่ป่วยเป็นโรค และในทุกประเทศพบว่าผู้ป่วยอย่างน้อย 1 ใน 5 รายที่ยังมีสภาพเป็นลูกจ้างรายงานว่าพวกเขาต้องขาดงานประมาณ 2-5 วันในรอบปีที่ผ่านมาเนื่องจากอาการป่วยของโรคไฟโบรมัยอัลเจีย
ความล่าช้าและยุ่งยากกว่าจะได้รับการวินิจฉัย
ราวๆ 60 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยในประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย และอีกราวๆ 30 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยในมาเลเซียและสิงคโปร์ รายงานว่าการเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยโรคไฟโบรมัยอัลเจียเป็นสิ่งที่ทำยุ่งยาก โดยผู้ป่วยต้องรอประมาณเฉลี่ย 5.5 - 15.4 เดือนเพื่อเข้าพบแพทย์หลังจากเริ่มมีอาการของโรคไฟโบรมัยอัลเจียแสดงขึ้นเป็นครั้งแรก และเมื่อได้พบแพทย์เป็นครั้งแรกเพื่อตรวจดูอาการแล้ว และกว่าจะได้รับการวินิจฉัยใช้เวลาประมาณ 7.3 – 9.5 เดือน และในทุกประเทศ ผู้ป่วยจะต้องเข้าพบแพทย์ 2 คนโดยเฉลี่ยก่อนเข้ารับการวินิจฉัยโรค
ทักษะและความคุ้นเคยของแพทย์ในการวินิจฉัยโรคไฟโบรมัยอัลเจีย
กลไกการเกิดโรคไฟโบรมัยอัลเจียนับว่าเป็นองค์ความรู้ใหม่ในวงการแพทย์ การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไฟโบรมัยอัลเจียในแพทย์จึงเป็นข้อมูลที่พบส่วนใหญ่ในการสำรวจ โดยแพทย์รักษาโรคทั่วไปในประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ส่วนใหญ่รายงานว่าพวกเขาไม่มีความรู้มากนัก (not very) หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับโรคไฟโบรมัยอัลเจียเลย (not at all) และกว่าครึ่งที่ไม่มั่นใจว่าจะสามารถพัฒนาแผนการรักษาโรคไฟโบรมัยอัลเจียให้กับผู้ป่วยได้ นอกจากนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ อ้างเช่นกันว่าพวกเขาไม่มั่นใจว่าจะสามารถรับดูแลปัญหาผู้ป่วยได้ในระยะยาว อย่างไรก็ตามบุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ได้รายงานว่าตนได้รับการฝึกอบรมน้อยมากหรือไม่ได้รับการฝึกอบรมที่เกี่ยวกับโรคไฟโบรมัยอัลเจียเลย โดยมีผู้เชี่ยวชาญน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ และเพียง 25 เปอร์เซ็นต์ ของแพทย์รักษาโรคทั่วไปถือว่าเป็นบุคคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดีเพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรคไฟโบรมัยอัลเจีย
“ปวดเรื้อรังไฟโบรมัยอัลเจียยังเป็นองค์ความรู้ใหม่ในวงการแพทย์ ผลของการสำรวจได้บ่งชี้ว่าบุคลากรทางการแพทย์ทั่วเอเชียยังขาดประสบการณ์และการฝึกอบรมในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจีย ซึ่งน่าจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการตรวจวินิจฉัยและบำบัดโรค” ดร. เฮนรี่ ลู หัวหน้าคลินิคควบคุมความปวดแห่งศูนย์การแพทย์มาคาติ ประเทศฟิลิปปินส์ กล่าว “เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ชุมชนการแพทย์ในท้องถิ่นจะต้องเริ่มปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับแพทย์ภายในภูมิภาค ทั้งในด้านความรู้ การฝึกอบรม และการสนับสนุนที่จำเป็นต่อการช่วยดูแลผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจีย”
เกี่ยวกับการสำรวจ
เครือข่ายพันธมิตรเพื่อการจัดการความปวดจากไฟโบรมัยอัลเจีย (The Fibromyalgia Pain Management Alliance - FPMA) ภายใต้การสนับสนุนโดย ไฟเซอร์ อิงก์ ได้จัดทำการสำรวจภายใต้หัวข้อ “การสำรวจศึกษาแนวโน้มสถานการณ์และความรู้ความเข้าใจของโรคไฟโบรมัยอัลเจียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ The SE Asia FACTS (South East Asia Fibromyalgia Awareness, Concerns and Trends Survey) ออกแบบขึ้นเพื่อเป็นการประเมินผลกระทบของโรคไฟโบรมัยอัลเจียที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และเพื่อบ่งชี้ถึงอุปสรรคและข้อจำกัดต่างๆ ในการวินิจฉัย รวมถึงเป็นการสำรวจความคิดเห็นของแพทย์และผู้ป่วยที่มีต่อโรคนี้ ตลอดจนเข้าใจการรับรู้ของทั้งแพทย์และผู้ป่วยเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่สามารถกระทำได้ในปัจจุบัน โดยการสำรวจเรื่องนี้ได้รับการสนับสนุนจากไฟเซอร์ อิงค์ และจัดทำโดยการรวมรวมข้อมูลจากแพทย์ 941 คนและผู้ป่วย 506 รายจากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย โดยฐานข้อมูลดังกล่าวได้รับการเก็บรวบรวมระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2552 ผ่านการสัมภาษณ์ที่กระทำทั้งหมดโดยการสอบถามแบบตัวต่อตัวเป็นภาษาอังกฤษหรือเป็นภาษาท้องถิ่น ผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติเข้าร่วมการวิจัยทั้งหมดในครั้งนี้ได้ผ่านการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจียโดยแพทย์ทั่วไป และแพทย์เฉพาะทางต่างๆ ที่ได้รับเชิญให้ร่วมการวิจัยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย แพทย์รักษาโรคทั่วไป (GPs) แพทย์รักษาโรคไขข้อ (Rheumatologist) แพทย์ด้านประสาทวิทยา (Neurologist) ผู้เชี่ยวชาญด้านการอาการเจ็บปวด (Pain Specialist) และจิตแพทย์ (Psychiatrist)
ไฟเซอร์ อิงค์: มุ่งมั่นสานต่อพันธกิจในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อให้ประชากรโลกมีสุขภาพที่ดีขึ้น
ที่ไฟเซอร์ เรานำ_วิทยาศาสตร์และทรัพยากรที่มีอยู่ทั่วโลกมาเพื่อพัฒนาสุขภาพและความเป็นอยู่ในทุกช่วงวัยของชีวิต เรามุ่งมั่นเพื่อสร้างมาตรฐานด้านคุณภาพ ความปลอดภัยและคุณค่าในการค้นคว้า พัฒนาและผลิตยาเวชภัณฑ์และชีวเวชภัณฑ์ ธุรกิจของเราจึงประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขภาพและอนามัยหลากหลายชนิดมากยิ่งขึ้น ครอบคลุม ธุรกิจยาโมเลกุลขนาดเล็ก และวัคซีนหรือชีวเวชภัณฑ์เพื่อใช้ป้องกันและรักษาในคน และในสัตว์ เรายังมีผลิตภัณฑ์หลายชนิดในธุรกิจโภชนาการ และ ธุรกิจเวชภัณฑ์เสริมสุขภาพ หรือ คอนซูมเมอร์เฮลท์ ในแต่ละวันพนักงานของไฟเซอร์ทั่วโลกร่วมมือกันเพื่อพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าด้านสุขภาวะ การป้องกัน การรักษาและบำบัด ซึ่งท้าทายโรคภัยไข้เจ็บทั้งยุคนี้และในอนาคต ในฐานะผู้นำด้าน ชีวเวชภัณฑ์ชั้นนำของโลก เรามุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมมือกับทุกภาคส่วน ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการดูแลรักษา (healthcare providers) อาทิ บุคคลกรทางการแพทย์ และโรงพยาบาล รวมทั้งให้ความร่วมมือกับภาครัฐบาล และชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ในการสนับสนุนและขยายช่องทางการเข้าถึงการรักษาที่ได้คุณภาพ เป็นเวลามากกว่า150 ปีแล้ว ที่ไฟเซอร์ทำงานเพื่อสร้างสิ่งที่ดีและแตกต่างให้กับทุกชีวิตที่เราสามารถมีส่วนช่วย รับทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พันธกิจของเรา สามารถเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.pfizer.com ปัจจุบัน ไวเอทเป็นบริษัทลูกของไฟเซอร์ อิงค์ การควบรวมกิจการของไวเอทเข้ากับ ไฟเซอร์ ในบางประเทศอาจจะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ทางกฎหมายและกฎระเบียบในแต่ละประเทศ
ติดตามความเคลื่อนไหวของไฟเซอร์ได้ที่ www.twitter.com/pfizer_news
สื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:
คุณอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ / คุณภาวัช อนุวงศ์ โทรศัพท์: 0-2343-6059 / 0-2343-6062
อีเมล์: [email protected], [email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit