โครงการนิทรรศการ ย้อนรอย ๗ ภัณฑารักษ์ ศาลาไทยเวนิสเบียนนาเล่ ครั้งที่ ๕๓

15 Jun 2009

กรุงเทพฯ--15 มิ.ย.--

โครงการนิทรรศการ ย้อนรอย ๗ ภัณฑารักษ์ ศาลาไทยเวนิสเบียนนาเล่ ครั้งที่ ๕๓

Re-visit 7 curatorial concepts: 53rd Venice Biennale, Thai Pavilion

๑. หลักการและเหตุผล

ในโลกของงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ไม่มีใครไม่รู้จักมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ซึ่งเป็นเสมือนหนึ่งเวทีโอลิมปิกของศิลปะร่วมสมัยที่ทุกประเทศพยายามผลักดันให้ศิลปะร่วมสมัยของประเทศตนได้เข้าไปมีส่วนร่วม เพื่อให้ชื่อประเทศของตนได้ปรากฏอยู่บนแผนที่โลกแห่งศิลปะร่วมสมัย ซึ่งงานมหกรรมนี้จัดขึ้นในทุก ๆ สองปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ณ เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี สำหรับประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตอนเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ก็ได้เสด็จทอดพระเนตรงานมหกรรมนี้ และหลังจากนั้นสิบปีพระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง ในการเสด็จประพาสครั้งนี้พระองค์ก็ยังเสด็จทอดพระเนตรงานมหกรรมนี้อีกเป็นครั้งที่สอง

การเข้าร่วมงานมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ของประเทศไทยนั้นเริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยศิลปินไทยได้แก่ มณเฑียร บุญมา และ ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช ได้เข้าร่วมแสดงงาน และในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ประเทศไทยได้เกิดหน่วยงานใหม่คือ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ซึ่งมีภารกิจหลักในการส่งเสริม สนับสนุนงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยขึ้น ดังนั้น คณะกรรมการจัดงานมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ จึงได้เชิญประเทศไทยให้เข้าร่วมงานมหกรรมดังกล่าวอย่างเป็นทางการ โดยเชิญผ่านมาทางสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งเป็นการจัดงานมหกรรม เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ ๕๐ หลังจากนั้นประเทศไทยก็ได้รับเชิญอย่างเป็นทางการตลอดมาทุกครั้ง และในปีนี้ซึ่งเป็นการจัดงานครั้งที่ ๕๓ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยได้ประกาศรับสมัครข้อเสนอโครงการจากภัณฑารักษ์ เพื่อคัดเลือกโครงการที่มีความเหมาะสมที่สุดไปแสดงในงานมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ ๕๓ ซึ่งคัดเลือกโดยคณะกรรมการที่สำนักงานฯ แต่งตั้งขึ้น โดยในปีนี้ได้มีผู้เสนอโครงการทั้งสิ้นจำนวน ๗ โครงการ

การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับนิทรรศการจากการที่ประเทศไทยได้เข้ามีส่วนร่วมในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ หลายครั้งประกอบกับการได้รับข้อเสนอโครงการและรับฟังการนำเสนอโครงการจากภัณฑารักษ์ทั้ง ๗ ราย สำนักงานฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ อย่างละเอียดโดยนำเสนอถึงแนวนโยบายของประเทศ ประกอบกับการประสานงานการเข้าร่วมงานทั้งในมุมมองของฝ่ายนโยบาย และฝ่ายปฏิบัติ ทั้งภัณฑารักษ์ และศิลปิน โดยให้เห็นถึงตัวอย่างจริงน่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้ศึกษาและทราบข้อมูลของงานมหกรรมดังกล่าว สำนักงานฯ จึงเห็นควรให้จัดนิทรรศการจากข้อเสนอโครงการของภัณฑารักษ์ทั้ง ๗ ราย เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชนให้ได้รับชม และมีโอกาสศึกษาเรียนรู้แนวความคิดดังกล่าว ในโอกาสที่สำนักงานฯ จะเปิดตัว “ห้องปฏิบัติการศิลปะ สศร.” หรือ “Lab Space by OCAC” โดยในระหว่างงานนิทรรศการจะจัดให้มีการเสวนาในหัวข้อที่มีความเกี่ยวข้องกับงานศิลปะร่วมสมัย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้สนใจได้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนางานศิลปะร่วมสมัยต่อไป

๒. วัตถุประสงค์

๒.๑ เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้และประสบการณ์ในการเข้าร่วมงานมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่

๒.๒ เพื่อเผยแพร่ข้อเสนอโครงการที่เสนอเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแสดงในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ ๕๓

๒.๓ เพื่อให้ผู้สนใจที่จะส่งข้อเสนอโครงการเกิดความตื่นตัว และเตรียมการเสนอโครงการสำหรับการคัดเลือกเพื่อแสดงในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ ๕๔ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔

๒.๔ เพื่อเปิดตัว “ห้องปฏิบัติการศิลปะ สศร.” หรือ “Lab Space by OCAC” ซึ่งจะเป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะร่วมสมัยสำหรับเด็ก เยาวชน นิสิต นักศึกษา ศิลปิน และประชาชนผู้สนใจ

๒.๕ เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภัณฑารักษ์ ศิลปิน และผู้ชมงาน เพื่อจะได้นำความรู้ ไปพัฒนางานด้านศิลปะร่วมสมัยต่อไป

๓. กิจกรรม

๓.๑ จัดงานนิทรรศการเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชน

๓.๒ จัดการเสวนา หัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการ และงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะร่วมสมัย

๔. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

๔.๑ ผู้เข้าร่วมการเสวนา และชมนิทรรศการเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเข้าร่วมงานมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่

๔.๒ ผู้สนใจได้เข้ามาเรียนรู้และรับรู้ถึงวิธีการนำเสนอโครงการที่คัดเลือกไปแสดงในงานมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ซึ่งจะช่วยให้สังคมได้รับรู้โครงการดังกล่าวในวงกว้าง

๔.๓ เด็ก เยาวชน ศิลปิน และผู้สนใจ ได้รับรู้และเข้าใช้บริการ “ห้องปฏิบัติการศิลปะ สศร.” หรือ “Lab Space by OCAC” ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะร่วมสมัยแหล่งใหม่

๔.๔ กลุ่มเป้าหมายทางด้านศิลปะด้านสมัยได้รับความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

๗. สถานที่

๗.๑ จัดเสวนาทางวิชาการก่อนพิธีเปิด ณ ห้องกรุงเทพบอลล์รูม โรงแรมรอยัลซิตี้โรงแรมรอยัลซิตี้ ถ.บรมราชชนนี บางพลัด กรุงเทพมหานคร

๗.๒ จัดนิทรรศการ ณ “ห้องปฏิบัติการศิลปะ สศร.” หรือ “Lab Space by OCAC” ชั้น ๖ อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์

๘. ระยะเวลา

ระหว่างวันที่ ๑๘ มิถุนายน-๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit