ได๋-ไดอาน่า ได้รับตำแหน่ง ฑูตผู้ลี้ภัยคนแรกของเมืองไทยจาก USCRI พร้อมเปิดตัวหนังสือ World Refugee Survey เล่มใหม่ 2009

22 Jun 2009

กรุงเทพฯ--22 มิ.ย.--ยูเอสซีอาร์ไอ

สำนักงานคณะกรรมการเพื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ แห่งสหรัฐอเมริกา (ยูเอสซีอาร์ไอ) ประจำประเทศไทย นำโดย ผู้อำนวยการยูเอสซีอาร์ไอ ประจำประเทศไทย นายวีรวิชญ์ เธียรชัยนันท์ ได้เปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ เวิลด์รีฟูจีเซอร์เวย์ 2009 – เซอร์วายเวิล เดอะ เวอสท์ พร้อมกับเผยโฉมฑูตผู้ลี้ภัยคนแรกของเมืองไทย ไดอาน่า (ได๋) จงจินตนาการ นักแสดงสาวชาวไทยที่ได้รับความนิยมจากผู้ชม ได้รับการแต่งตั้งให้รับตำแหน่งฑูตผู้ลี้ภัยคนไทยอย่างเป็นทางการจากยูเอสซีอาร์ไอ พิธีการโดยย่อจัดขึ้นที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้กับงานวันผู้ลี้ภัยโลกที่ผ่านมาในวันที่ 20 มิถุนายนนี้

วีรวิชญ์ได้กล่าวว่า “ผมได้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากได๋ เพราะการที่คุณไดอาน่าไม่ได้แสดงถึงความลังเลในการตอบรับข้อเสนอของทางองค์กรเพื่อดำรงตำแหน่งนี้ตลอดจนรับฟังเรื่องราวของสถานการณ์เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในประเทศไทยอย่างสนใจและใคร่รู้อย่างจริงจัง ผมในนามของยูเอสซีอาร์ไอประจำประเทศไทย อยากจะขอแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจต่อการเสียสละและความตั้งใจอันดีงามที่คุณไดอาน่าจะร่วมมาเป็นหนึ่งในทีมงานของเราเพื่อที่จะประสบความสำเร็จตามจุดหมายของการรณรงค์ด้วยกัน”

ไดอาน่ากล่าวว่า เธอรู้สึกภูมิใจที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของยูเอสซีอาร์ไอ ประเทศไทย ในการรณรงค์เพื่อช่วยให้ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยเข้าใกล้ความต้องการที่แท้จริงของพวกเขา ไดอาน่าคิดว่า “โอกาส” คือความฝันที่ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยต่างก็สืบเสาะค้นหาดังนั้นเธอจึงมีความเห็นที่สอดคล้องกับทางยูเอสซีอาร์ไอเกี่ยวกับการที่ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยถูกกักกันอยู่แต่ภายในค่ายผู้ลี้ภัยเป็นเวลากว่า 25 ปีทำให้เขาพวกอยู่ห่างจาก “โอกาส” เป็นอย่างมาก ไดอานายินดีเป็นอย่างยิ่งที่เธอได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฑูตผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการจากยูเอสซีอาร์ไอในวันนี้ เธอกล่าวย้ำว่า “ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เห็นผู้ลี้ภัยทั้งหมดได้รับโอกาสที่พวกเขารอคอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ลี้ภัยที่เป็นเด็กๆ ดิฉันอยากจะเห็นเด็กๆเหล่านี้ได้มีโอกาสเข้าถึงระบบการเรียนการสอนของไทย ยิ่งไปกว่านั้นดิฉันก็ยังเชื่อในศักยภาพของคนตราบใดก็ตามที่เขาสามารถได้รับ “โอกาส” ในการดำรงชีวิตอย่างมีศักด์ศรีและมีความภาคภูมิใจ”

ในฐานะฑูตผู้ลี้ภัยประจำประเทศไทย ไดอาน่าจะมีส่วนช่วยในการให้ความรู้แก่คนทั่วไปและภาคประชาสังคมของไทยไม่ใช่แค่เพียงเรื่องราวเกี่ยวกับสภาพของผู้ลี้ภัยในประเทศไทยเท่านั้น แต่จะถ่ายทอดเรื่องราวของความอดทนและความกล้าหาญของผู้ลี้ภัยที่เอาชนะความยากลำบากต่างๆนานาในการที่จะสร้างชีวิตใหม่ของพวกเขา ยิ่งไปกว่านั้นไดอาน่าก็จะช่วยเป็นกระบอกเสียงในการบอกกล่าวให้ภาคประชาสังคมของไทยได้รับรู้ถึงความสามารถของผู้ลี้ภัยที่จะสามารถช่วยสนับสนุนสังคมของประเทศเจ้าบ้านให้เติบโตยิ่งๆขึ้นไปถ้าเพียงแต่พวกเขาได้รับสิทธิพื้นฐานของมนุษย์และโอกาสที่ประเทศเจ้าบ้านจะหยิบยื่นให้แก่พวกเขา

นอกจากนี้แล้ว ยังมีแขกคนสำคัญอีกทายมายเช่น ยาจิตร ยุวบูรณ์ ทนงบุรานนท์ และนพ.ชัชดนัย มุสิกไชย มาร่วมเป็นสักขีพยานในการรับมอบตำแหน่งนี้ จากนั้น ทางคณะผู้จัดก็ ได้รับเกียรติจาก อจ.แอน-ชัชนิต มุสิกไชย มหาคุณ มาเล่าประสบการณ์ ที่เธอเคยช่วยองค์กรชื่อ FIRN ในรัฐ แมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา สอนหนังสือผู้ลี้ภัยที่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศได้แล้วอีกด้วย อจ.แอนเห็นว่า การยกระดับมนุษย์ไม่ว่าชาติใด ถือเป็นการยกระดับปัญญาของสังคมโลกโดยรวม

หนังสือเวิลด์รีฟูจีเซอร์เวย์สนับสนุนอิสรภาพและการดำรงชีวิตของผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศของตน และยังช่วยส่งเสริมในการรณรงค์เพื่อยุติการกักเก็บผู้ลี้ภัยให้อยู่ในค่าย เนื่องจากการเหนี่ยวรั้งให้ผู้ลี้ภัยดำรงชีวิตอยู่แต่ในค่าย หรือแม้แต่การแยกพวกเขาบางคนไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศโลกที่สาม เสมือนกับการกีดกันพวกเขาไม่ให้ได้รับสิทธิมนุษยชนพื้นฐานที่พวกเขาพึงจะได้ตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยขององค์การสหประชาชาติ

เวิลด์รีฟูจีเซอร์เวย์ฉบับปี 2009 นี้มีเนื้อหาที่บรรจุไว้ในเล่มกล่าวถึงข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับประเทศที่ดูแลผู้ลี้ภัยอย่างดีที่สุดและเลวร้ายที่สุดทั่วโลกและตบท้ายด้วยการให้เกรดตั้งเอจนถึงเอฟ นอกจากนั้นก็ยังมีสถิติเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยต่างๆ รายงานเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในแต่ละประเทศ รายงานเกี่ยวกับภาพรวมของการปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในแต่ละทวีป และทั่วโลก หนังสือเล่มนี้เปิดเผยถึงความเป็นจริงและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยซึ่งอาจจะก่อให้เกิดข้อโต้แย้งให้กับประเทศใดๆก็ตามที่ได้ถูกกล่าวถึงไว้ในหนังสือฉบับนี้

สำนักงานคณะกรรมการเพื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพแห่งสหรัฐอเมริกา (ยูเอสซีอาร์ไอ) ได้ปฏิบัติงานเพื่อพูดถึงความต้องการต่างๆและสิทธิอันชอบธรรมของบุคคลใดก็ตามที่ถูกบังคับให้อพยพ หรืออพยพจากบ้านเกิดของตนด้วยความสมัครใจทั่วโลกมาเป็นเวลาเกือบร้อยปีตั้งแต่ปี คศ. 1911 ด้วยการกำหนดนโยบายสาธารณะว่าด้วยเรื่องของสิทธิมนุษยชน พร้อมกับอำนวยความสะดวกและให้บริการทางด้านการกำหนดแนวทางในการประกอบอาชีพ ตลอดจน.ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับการมีส่วนร่วมของผู้อพยพในการดำรงชีวิตกับชุมชน อีกไม่นานคุณสามารถที่จะพบและอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการทำหน้าที่ฑูตผู้ลี้ภัยประจำประเทศไทย ของ ได๋ ไดไอาน่า จงจินตนาการได้ที่ เว็บไซต์ของยูเอสซีอาร์ไอ ประเทศไทยwww.khonthaijaidee,org/www.uscrithailand.org.

ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ เกศินี ศิลปี,Tel: 02 354 9362, [email protected]

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-712-6551 ศศิวิมล

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net