กรุงเทพฯ--8 ก.ย.--กองประชาสัมพันธ์ กทม.
ดร.พงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้สำนักพัฒนาสังคม กทม. และสำนักงานเขต 17 เขตของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเข้าเป็นกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร แทนตำแหน่งที่ว่างลง ในวันอาทิตย์ที่ 13 ก.ย. 52 ระหว่างเวลา 08.00-15.00 น. ณ หน่วยเลือกตั้งที่มีรายชื่อ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรระดับกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีนางเพียงใจ วิศรุตรัตน รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการอำนวยการ และจัดตั้งศูนย์สนับสนุนและประสานงานการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552 ณ กลุ่มงานส่งเสริมเกษตรกรรม กองส่งเสริมอาชีพ สำนักพัฒนาสังคม กทม. โทร. 0 2247 9540, 0 2247 9499 เพื่อจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรร่วมฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตเกษตรกร
กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเป็นนิติบุคคล ซึ่งจัดตั้งตาม พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพชีวิต การแก้ไขปัญหาของเกษตรกร การฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม การพัฒนาความรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกร และพัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและเกื้อกูลกันระหว่างเกษตรกร ทั้งนี้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งผู้แทนเกษตรกร ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกองค์กรเกษตรกรใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวมจำนวน 20 คน เป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี โดยในส่วนของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มภูมิภาคที่สอง (ภาคกลาง) ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตราด นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง มีตัวแทนเกษตรกรได้ทั้งสิ้น 4 คน
17 เขตกทม. กลุ่มภูมิภาคที่สอง มี 19 หน่วยเลือกตั้งรวมผู้มีสิทธิ 11,826 คน
สำหรับหน่วยเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ.2552 ในเขตกรุงเทพมหานคร 17 สำนักงานเขต มีจำนวนทั้งสิ้น 19 หน่วยเลือกตั้ง รวมจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 11,826 คน ประกอบด้วย เขตหนองจอก รวม 3 หน่วยเลือกตั้ง ณ ศาลาประชาคม เขตหนองจอก ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 3,209 คน เขตคลองสามวา 1 หน่วยเลือกตั้งบริเวณโถลงชั้น 1 หน้าห้องฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตคลองสามวา ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1,566 คน เขตลาดกระบัง 1 หน่วยเลือกตั้งบริเวณศาลาประชาคม สำนักงานเขตลาดกระบัง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 806 คน เขตมีนบุรี 1 หน่วยเลือกตั้ง ณ ศาลาประชาคมเมืองมีนถิ่นทอง สำนักงานเขตมีนบุรี ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1,008 คน เขตสะพานสูง 1 หน่วยเลือกตั้ง บริเวณโถงชั้น 1 หน้าห้องฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตสะพานสูง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 688 คน เขตประเวศ 1 หน่วยเลือกตั้ง บริเวณพื้นที่ด้านหน้าอาคารสำนักงานเขตประเวศ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 372 คน เขตดอนเมือง 1 หน่วยเลือกตั้ง บริเวณชั้น 1 อาคารสำนักงานเขตดอนเมือง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 435 คน เขตจตุจักร 1 หน่วยเลือกตั้งบริเวณโถงชั้น 1 หน้าห้องฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตจตุจักร ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 320 คน
เขตดินแดง 1 หน่วยเลือกตั้ง ณ สำนักงานเขตดินแดง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 215 คน เขตคลองเตย 1 หน่วยเลือกตั้งบริเวณชั้น 1 อาคารสำนักงานเขตคลองเตย ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 258 คน เขตทุ่งครุ 1 หน่วยเลือกตั้งบริเวณโถงสำนักงานเขตทุ่งครุ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 219 คน เขตบางขุนเทียน 1 หน่วยเลือกตั้ง ณ สำนักงานเขตบางขุนเทียน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1,009 คน เขตภาษีเจริญ 1 หน่วยเลือกตั้งบริเวณ ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานภาษีเจริญ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 347 คน เขตตลิ่งชัน 1 หน่วยเลือกตั้งบริเวณหน้าที่ทำการฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตตลิ่งชัน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 284 คน เขตทวีวัฒนา 1 หน่วยเลือกตั้ง ณ โรงเรียนคลองบางพรหม ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 286 คน เขตหนองแขม 1 หน่วยเลือกตั้งบริเวณ ณ สำนักงานเขตหนองแขม ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 342 คน และเขตบางแค 1 หน่วยเลือกตั้งบริเวณห้องโถงอาคารสำนักงานเขตบางแค ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 462 คน
กลุ่มภาคกลางมีผู้ยื่นสมัครเป็นผู้แทน 23 คน
มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ภูมิภาคที่สอง (ภาคกลาง) มีจำนวนทั้งสิ้น 23 คน ได้แก่ หมายเลข 1 น.ส.สุวภัทร พลกลาง จ.อ่างทอง หมายเลข 2 นายประยุทธ ศรีทอง จ.สุพรรณบุรี หมายเลข 3 นายพิพัฒน์ บุญเสริมรัตน์ จ.ชัยนาท หมายเลข 4 นางแสงอรุณ เข็มดี จ.ตราด หมายเลข 5 นายวินัย เมืองวงษ์ จ.กาญจนบุรี หมายเลข 6 นายจรูญ เสมอจันทร์ทิพย์ จ.ลพบุรี หมายเลข 7 นายสุวรรณ เหรียญทอง จ.สมุทรสาคร หมายเลข 8 นายทองหล่อ มานุจำ จ.สระแก้ว หมายเลข 9 นางขวัญเรียม อินเกตุ จ.ปราจีนบุรี หมายเลข 10 นายชินชัย สถิรยากร จ.สมุทรสงคราม หมายเลข 11 นายสมบูรณ์ ปัสเสนะ จ.ตราด หมายเลข 12 นางสิริภาส รุจิพงศ์ จ.ปทุมธานี หมายเลข 13 นายสมบัติ สุขาภิรมย์ จ.ราชบุรี หมายเลข 14 นายวัฒนา หินทอง จ.ประจวบคีรีขันธ์ หมายเลข 15 นายอนิรุทธ์ ขาวสนิท จ.เพชรบุรี หมายเลข 16 นายสุทิน อ่อนฟุ้ง กรุงเทพมหานคร หมายเลข 17 นายธนะพงษ์ เสวีวัลล จ.ฉะเชิงเทรา หมายเลข 18 นายพัลลภ ฉายวิมล จ.ระยอง หมายเลข 19 นางอัมพร จันทบาล จ.นครนายก หมายเลข 20 นายสมาน เนตร์อำพร จ.ฉะเชิงเทรา หมายเลข 21 นายสมพงษ์ นามสวัสดิ์ จ.นครปฐม หมายเลข 22 นายปรีชา แป้นพัฒน์ จ.สระบุรี และหมายเลข 23 นายสุชาติ ม่วงสกุล จ.ลพบุรี ทั้งนี้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง ได้ที่สำนักงานเขต หรือสถานที่เลือกตั้ง
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit