โอกิลวี่ย้ำจีนและเอเชียแกร่งจะฝ่าพ้นวิกฤติการเงินและการตลาดได้เร็ว

23 Jan 2009

กรุงเทพฯ--23 ม.ค.--โอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่นส์ เวิลด์วายด์

หลังจากบารัค โอบามาสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ ชาวอเมริกันดูเหมือนจะขานรับด้วยท่าทีที่มีความหวังมากขึ้น ทว่าในความเป็นจริง วิกฤติการณ์ทางการเงินที่สหรัฐอเมริกาพบในขณะนี้เป็นได้เพียง 20% ของปัญหาที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด ประธานาธิบดีคนใหม่ของพวกเขาจะต้องรับศึกหนักไปอีกยาวนาน แต่พวกเราชาวเอเชียดูจะมีหวังมากว่าด้วยพื้นฐานทีจะรับมือกับวิกฤติการณ์นี้อย่างมีกลยุทธ์

จากเวทีสัมมนาในหัวข้อ “การตลาดในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย” ซึ่งจัดขึ้นที่ฮ่องกง โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ บริษัทโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และไดเร็คมาร์เก็ตติ้งชั้นนำระดับโลก ได้เชิญ 2 กูรูด้านเศรษฐศาสตร์และการตลาด ได้แก่ มร.สตีเฟน โรช ประธาน บริษัทมอร์แกน สแตนลีย์ เอเชีย และ มร.คริสโตเฟอร์ เกรฟส์ ประธาน ของโอกิลวี่พีอาร์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มาให้ความเห็นแก่บรรดานักการตลาดจากทั่วเอเชีย โดยมีมุมมองที่น่าสนใจหลายเรื่อง

มร.สตีเฟน โรช คิดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียจะผูกพันกับสภาวการณ์ของสหรัฐอเมริกา โอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะปรับตัวดีขึ้นเมื่อถึงกลางปี 2010 มีเพียงร้อยละ 60 เท่านั้น และต่อให้ฟื้นก็ยังอยู่ในสภาพที่ “อ่อนแอและไม่สมบูรณ์เท่าใดนัก” เขายังเตือนอีกว่า เศรษฐกิจโลกจะไม่มีทางกลับสู่สภาพเดิมได้หากไม่กระตุ้นให้ผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาใช้จ่ายเงิน

“การบริโภคของภาคประชาชนในช่วงเวลา 7 ปีที่ผ่านมาคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ (หรือ 67%) แต่หลังจากได้รับแรงเสริมจากการปล่อยสินเชื่อที่ง่ายเกินไปและภาวะฟองสบู่ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ผู้บริโภคชาวสหรัฐฯกลายเป็น “กลุ่มการบริโภคที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก” ทำให้สัดส่วนการบริโภคของภาคประชาชนเพิ่มเป็น 72% ของระบบเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจในสหรัฐฯจะฟื้นตัว ตัวเลขนี้ต้องลดลงมา 5 จุดหรือจากมาอยู่ที่ 67% ซึ่งก็ยังไม่ใช่ตัวเลขที่ดีนัก”

“ถ้าถามว่าในเวลานี้สหรัฐฯอยู่ตรงไหนกันแล้ว หลังจากที่ย่ำแย่มา 2 ไตรมาสติดต่อกันในเรื่องอัตราการบริโภค” มร.โรชตั้งตำถามก่อนจะตอบว่า “เราลดลงมาอยู่ที่ 71% ซึ่งถ้าหากคุณคำนวณดูให้ดีๆ ก็แปลว่าจะเห็นว่าเราผ่านมาเพียง 20% ของภาวะถดถอยเท่านั้น ยังเหลืออีก 80% ที่เรากำลังต้องเผชิญ”

ส่วนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในเอเชีย มร.โรชบอกว่า เนื่องจากการส่งออกคือตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของเอเชีย ไม่ใช่การบริโภคภายในภูมิภาค ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ฟื้นแล้ว ก็ไม่มีใครซื้อสินค้าส่งออกจากเอเชีย “ อย่างไรก็ตาม ประธานบริษัท มอร์แกน สแตนลีย์ ยังบอกอีกว่า เอเชียจะเปลี่ยนไปหลังจากวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ “นี่คือทศวรรษที่ผู้บริโภคชาวเอเชียจะกลายเป็นกำลังสำคัญ

มร.โรช ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลจีนเพิ่งประกาศออกมาด้วยวงเงินจำนวน 6 แสนล้านดอลลาร์ ว่าแผนการดังกล่าวอาจสร้าง “ฐานที่แข็งแกร่งเพื่อต่อยอดให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไปได้” แต่เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนไม่มีหลักประกันความปลอดภัย อาทิ แผนประกันคุ้มครองระหว่างตกงาน หรือเงินบำนาญ เมื่อได้เงินกระตุ้นดังกล่าวพวกเขาก็จะเก็บเงินไว้แทนที่จะใช้จ่ายออกไป

อย่างไรก็ตาม มร.คริสโตเฟอร์ เกรฟส์ ซีอีโอของโอกิลวี่พีอาร์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลับชี้ว่า ไม่ใช่ผู้บริโภคทุกคนในประเทศจีนที่จะมีพฤติกรรมแบบเดียวกันจากผลการศึกษา “การตลาดในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย” ระบุว่า ไม่ใช่ผู้บริโภคทุกกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบ

จากการวิเคราะห์ของโกลบอล เดโมกราฟฟิกส์ ซึ่งเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 30 ปีเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการใช้จ่ายของผู้บริโภค “เพื่อให้งบประมาณทางการตลาดของคุณทำงานได้ดีขึ้น ต้องบอกว่า “กลุ่มผู้บริโภคระดับบนที่มีรายได้ต่อปีมากกว่า 5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯจะเพิ่มการใช้จ่ายประมาณ12-17% ในปีนี้ ถ้าคุณเป็นนักการตลาดที่มองข้ามโอกาสอันเรืองรองภายใต้ช่วงเวลาที่มืดมัวแบบนี้ มันจะเป็นเหมือนโศกนาฏกรรมเลยล่ะ”มร.เกรฟส์ กล่าวย้า

ใครอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการรับมือกับภาวะวิกฤติ เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ogilvyonrecession.com เพื่อดาวน์โหลดความรู้มากระตุ้นธุรกิจ

จากเป็นหนังสือ 7 เล่ม ได้แก่

  • ใช้งบการตลาดให้เกิดประโยชน์สูงสุดในภาวะเศรษฐกิจถดถอย
  • จะทำโฆษณาแรงๆ ได้อย่างไรในภาวะเศรษฐกิจถดถอย
  • สื่อดิจิตอลในยุคเศรษฐกิจถดถอย กลยุทธ์ที่ชาญฉลาดในยุคมืด
  • พีอาร์แนวใหม่ – ใช้สื่อดิจิตอลสร้างยอดขายและชื่อเสียงองค์กร
  • ปรับเปลี่ยนแนวทางการสร้างแรงจูงใจในช่วงโค้งสุดท้าย (The Last Mile)
  • เสริมกำลังให้ฝ่ายขายอย่างเต็มพิกัด
  • ใช้งบโปรดักชั่นและไอเดียสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

รายละเอียดเพิ่มเติม : จินตนา ดวงแก้ว ([email protected])/

สุภาพร มาศิริ ([email protected])

บริษัท โอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่นส์ เวิลด์วายด์ จำกัด

โทร. 0 84673 8889, 0 2205 6653, 0 2205 6643

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit