ผลวิจัยล่าสุดเผยการใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินบำบัดอาการติดบุหรี่ ช่วยใช้สิงห์อมควันสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้

29 Apr 2009

ดับลิน--29 เม.ย.--พีอาร์นิวสไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์


ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้เข้าร่วมประชุมทางการแพทย์ในกรุงดับลิน เพื่อหารือถึงแนวทางการบำบัดรักษาผู้ติดบุหรี่

ผลวิจัยล่าสุดที่มีการนำเสนอขึ้นในระหว่างการประชุมสัมนาหัวข้อ Society for Research on Nicotine and Tobacco (SRNT) ระบุว่า การใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินบำบัดรักษาอาการติดบุหรี่ที่เหมาะสมด้วยวิธีการใหม่ๆช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาได้ย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มทางเลือกในการเลิกบุหรี่ได้มากขึ้นด้วย โดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการเลิกบุหรี่จากทั่วโลกได้ร่วมพูดคุยถึงผลการศึกษาทางคลินิกและผลลัพท์ที่แท้จริงที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงวิธีการบำบัดรักษาอาการติดบุหรี่แบบใหม่ที่สามารถรักษาอาการติดบุหรี่และช่วยเพิ่มทางเลือกในการเลิกสูบบุหรี่ของแต่ละคนได้ดีกว่าการใช้สารนิโคตินแบบเดิมๆ(1)

การศึกษาที่มีการหารือกันที่งานประชุมดังกล่าวได้วิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพในการใช้นิโคตินบำบัดอาการติดบุหรี่ด้วยวิธีการต่างๆ ควบคู่ไปกับการลดอัตราการสูบ และใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินบำบัดอื่นๆร่วมด้วย และเพื่อป้องกันมิให้อาการอยากกำเริบขึ้นอีกหลังจากที่สามารถเลิกบุหรี่ได้แล้ว(2) นอกจากนี้ รายงานการวิจัยฉบับใหม่ยังประเมินถึงการใช้นิโคตินบำบัดรักษากลุ่มผู้สูบบุหรี่ที่ไม่คิดจะเลิกบุหรี่ว่า การค่อยๆลดจำนวนการสูบบุหรี่เป็นวิธีการรักษาอาการติดบุหรี่ที่ได้ผลสำหรับนักสูบกลุ่มนี้ (3) ยิ่งไปกว่านั้น คณะผู้เชี่ยวชาญที่นำเสนอระบบการดูแลสุขภาพในรูปแบบต่างๆทั่วโลกยังเน้นย้ำถึงการใช้นิโคตินบำบัดรักษาที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพจากการตอบรับทางคลินิก, หน่วยงานกำกับดูแล และจากผู้ป่วย ทั้งนี้ ผู้นำจากประเทศต่างๆยังร่วมกันมองหาโอกาสในการพัฒนาการรักษาทางคลินิก และหารือถึงอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนร่วมแสดงข้อมูลความสำเร็จและแนวทางการทำงานที่ดีที่สุดในแต่ละประเทศ

"วิธีการรักษาแบบเดียวที่ใช้ได้กับกลุ่มคนทุกประเภทสำหรับช่วยให้เหล่าสิงห์อมควันเลิกสูบบุหรี่นั้นเป็นอะไรที่ล้าสมัยไปแล้ว เพราะจากผลการศึกษาล่าสุดพบว่า มีแนวทางใหม่ๆในการใช้นิโคตินบำบัดที่เข้าถึงกลุ่มคนเหล่านี้ได้มากขึ้น" จอห์น ฮิวส์ ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาจิตเวชศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวอร์มองต์และผู้เชี่ยชาญจากแกล็กโซสมิธไคลน์ คอนซูเมอร์ เฮลท์แคร์กล่าว "วิธีการใหม่ๆเหล่านี้สามารถช่วยเพิ่มช่องทางการรักษาให้กับเหล่าสิงห์อมควันที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการเดิมๆ"

ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจที่นำเสนอในที่ประชุม SRNT ยังจำแนกกลุ่มนักสูบบุหรี่ตามความพร้อมในการเลิกสูบบุหรี่ โดยผลสำรวจพบว่ามีผู้สูบบุหรี่หลายกลุ่มทีเดียวที่สนใจในวิธีการบำบัดรักษาโดยใช้ NiQuitin Minis (R) ซึ่งเป็นการบำบัดรักษาด้วยสารนิโคตินชนิดใหม่ล่าสุดที่ประกอบด้วยยาอมนิโคตินขนาดเล็กที่ดูดซึมได้เร็ว ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่นักสูบที่มีความพร้อมในการเลิกสูบบุหรี่เท่านั้นที่สนใจการรักษาด้วยวิธีนี้ แต่ผู้ที่ยังไม่พร้อมจะเลิกสูบและผู้ที่ผลัดผ่อนที่จะเลิกบุหรี่ รวมถึงกลุ่มที่ยังลังเลที่จะเลิกสูบก็ให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์ตัวนี้มากขึ้นเช่นกัน

ผลสำรวจระบุว่า 14% ของผู้สูบบุหรี่ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่อย่างจริงจัง ซึ่งคนกลุ่มนี้เคยเข้ารับการบำบัดทางการแพทย์เพื่อเลิกบุหรี่มาแล้ว และพร้อมที่จะเลิกบุหรี่ภายใน 3 เดือน ดังนั้น จึงเป็นผู้ใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินในการรักษามากที่สุด และยังมีความสนใจที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ NiQuitin Minis มากที่สุดด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกันผลสำรวจยังพบว่า มีผู้สูบบุหรี่จำนวนไม่น้อยที่ยังไม่พร้อมเลิกบุหรี่ ซึ่งรวมถึงกลุ่มผู้ที่ลังเลที่จะเลิกสูบ (26%) แต่ยังมีเหตุผลหลายประการในการเลิกสูบ ผู้ที่ผลัดวันประกันพรุ่ง (25%) คือสนใจที่จะเลิก แต่ไม่เคร่งครัดกับกรอบเวลาที่ชัดเจน ผู้สูบบุหรี่ที่ยังเลิกไม่ได้ (18%) ที่มีความพยายามในการเลิกสูบมาก่อน แต่ไม่สามารถเลิกได้ ทั้งนี้ กลุ่มผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ใน 3 ประเภทนี้ไม่สนใจการใช้นิโคตินบำบบัดรักษาอย่างที่มีอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับการใช้แผ่นปิดผิวหนังนิโคติน หมากฝรั่งนิโคติน และยาอมนิโคตินที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว ผู้สูบบุหรี่ทั้ง 3 กลุ่มมีความสนใจผลิตภัณฑ์ NiQuitin Minis (4) ซึ่งมีส่วนผสมของเม็ดขนาดเล็กที่ดูดซึมได้เร็วอย่างเห็นได้ชัด

“แม้ว่าผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่แสดงความสนใจที่จะเลิกบุหรี่ แต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีความตั้งใจจริงที่จะเลิกสูบให้ได้ภายในช่วงเวลาที่กำหนด และผู้สูบบุหรี่ที่ตั้งใจจะเลิกให้ได้นั้นส่วนใหญ่กลับไม่มีตัวช่วย” ซอล ชิฟฟ์แมน ศาสตราจารย์นายแพทย์ประจำคณะจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยพิทท์สเบิร์กและที่ปรึกษาของแกล็กโซสมธไคลน์ คอนซูเมอร์ เฮลท์แคร์กล่าว “การใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินในการบำบัดรักษาอาการเลิกบุหรี่แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่ผู้สูบจะเลิกบุหรี่ได้มากกว่าการใช้วิธีแบบหักดิบ (5) ถึงสองเท่า ดังนั้น ยาอม NiQuitin Minis จึงเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดสำหรับใช้เพื่อบำบัดรักษาอาการติดบุหรี่ ”

การรักษาด้วยผลิตภัณฑ์นิโคติน อาทิ ยาอม NiQuitin และแผ่นปิดผิวหนังนิโคติน ( Nicabate ในออสเตรเลีย รวมถึง Commit และ NicoDerm ในสหรัฐอเมริกา) ช่วยบรรเทาอาการอยากในระหว่างที่หยุดสูบบุหรี่ (6) ผลวิจัยจากการทดลองทางคลินิกกว่า 110 ครั้งในผู้ทำการทดลองกว่า 40,000 คนนำมาซึ่งข้อมูลการรักษาด้วยผลิตภัณฑ์นิโคตินที่ปลอดภัยและได้ผลในการใช้บำบัดรักษาโดยตรง (5) นอกจากนี้ นิโคตินบำบัดยังได้มีการแนะนำให้ใช้กับผู้ติดบุหรี่ในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เป็นการรักษาอันดับแรก และมีการกำหนดไว้ในแนวทางการรักษาขององค์การอนามัยโลก (WHO) ด้วย (6,7,8) ปัจจุบันนี้ การใช้นิโคตินรักษาของแกล็กโซสมิธไคลน์สามารถช่วยให้มีผู้เลิกบุหรี่ได้แล้วกว่า 6 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งและโรคอื่นๆที่เกิดการการสูบบุหรี่ได้ (9)

ทั้งนี้ กลุ่มผลิตภัณฑ์นิโคตินที่ใช้บำบัดอาการติดบุหรี่มีวางจำหน่ายตามร้านขายยา และร้านค้าทั่วไปหลายพันแห่งทั่วโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้บรรเทาอาการอยากสูบบุหรี่ในระหว่างที่เลิกบุหรี่โดยเฉพาะ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะค่อยๆออกฤทธิ์ควบคุมการส่งสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกาย


เกี่ยวกับการสัมมนา

การสัมมนาในหัวข้อ "Pushing the Envelope: Optimizing the Efficacy of Therapeutic Nicotine” ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนช่วยเหลือด้านการศึกษาจากแกล็กโซสมิธไคลน์ คอนซูเมอร์ เฮลท์แคร์ ซึ่งข้อมูลที่มีการนำเสนอในที่ประชุมประกอบด้วย

- ประสิทธิภาพในการใช้สารนิโคตินบำบัด -ดร.ซอล ชิฟฟ์แมน: มหาวิทยาลัยพิทท์สเบิร์ก

- การใช้สารนิโคตินบำบัดในกลุ่มผู้สูบบุหรี่รายใหม่ – ดร.จอห์น ฮิวส์: มหาวิทยาลัยเวอร์มองต์

- การใช้สารนิโคตินบำบัดสำหรับการรักษาทางคลินิก(คณะแพทย์) – ดร.รีนี บิททอน: มหาวิทยาลัยซิดนีย์, ดร.โจนาธาน ฟอลด์ส: วิทยาลัยพยาบาล UMDNJ) แจน โฮลดิ้ง: สำนักงานสุขภาพแห่งชาติสหราชอาณาจักร, มิทช์ เซลเลอร์: สมาคม Pinney Associates, บีเทสด้า, รัฐแมรี่แลนด์ (ประธานการประชุม)


เกี่ยวกับผลสำรวจยาอม NiQuitin Minis

ผลสำรวจในหัวข้อ "Appealing to Smokers Who Are Not Ready to Quit" โดยแกล็กโซสมิธไคลน์ คอนซูเมอร์ เฮลท์แคร์นั้นอ้างอิงข้อมูลจากผลสำรวจผู้สูบบุหรี่จำนวน 1,028 คนในฝรั่งเศสที่มีอายุ 18 ปีขึ้นจากคณะวิจัยแหล่งชาติ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะให้น้ำหนักกับชาวฝรั่งเศสเป็นหลัก ทั้งนี้ จากปัจจัยด้านพฤติกรรมและทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน, การใช้สารนิโคติน และประวัติการเลิกสูบบุหรี่รวมถึงทัศนคติในการเลิกสูบบุหรี่ ทำให้ต้องมีการใช้เครื่องมือการวิจัยแฝงในการจำแนกประเภทของผู้สูบบุหรี่เป็นกลุ่มย่อย


เกี่ยวกับ แกล็กโซสมิธไคลน์ คอนซูเมอร์ เฮลท์แคร์

แกล็กโซสมิธไคลน์ คอนซูเมอร์ เฮลท์แคร์ เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพชั้นนำของโลก และเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าชื่อดังกว่า 30 แบรนด์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ช่วยเลิกบุหรี่อย่าง NicoDerm(R), CQ and Commit(R), NiQuitin(R) และ Nicabate(R) รวมถึงผลิตภัณฑ์ชื่อดังอื่นๆ อาทิ Aquafresh(R), Panadol(R), Horlicks(R), Sensodyne(R) และ Lucozade(R) ทั้งนี้ แกล็กโซสมิธไคลน์ คอนซูเมอร์ เฮลท์แคร์ ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยให้ผู้สูบบุหรี่สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายในการเลิกบุหรี่ได้


เกี่ยวกับ แกล็กโซสมิธไคลน์

แกล็กโซสมิธไคลน์ เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลกด้านการดูแลสุขภาพและเภสัชกรรม บริษัทมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน ด้วยการช่วยทำให้พวกเขาสามารถทำอะไรๆได้มากขึ้น รู้สึกดีขึ้น และมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น


เอกสารอ้างอิง

(1) Shiffman et al. Pushing the envelope: optimizing the efficacy of
therapeutic nicotine. SRNT sponsored symposium Dublin. April 2009.
(2) Shiffman, Saul. New ways of using therapeutic nicotine to increase
efficacy. Presentation for SRNT sponsored symposium. Dublin. April 2009.
(3) Hughes, John. Extending therapeutic nicotine use to new populations of
smokers. Presentation for SRNT sponsored symposium. Dublin. April 2009.
(4) Shiffman, Saul. Appealing to smokers varying in readiness to quit.
Poster. SRNT annual meeting. Dublin. April 2009.
(5) Silagy et al. Nicotine replacement therapy for smoking cessation
(Cochrane Review). In: The Cochrane Library, Issue 1, 2004. Chichester, UK:
John Wiley & Sons, LTD
(6) Fiore MC, Jaen CR, Baker TB, et al. Treating Tobacco Use and
Dependence: 2008 Update. Clinical Practice Guideline. Rockville, MD: U.S.
Department of Health and Human Services. Public Health Service. May 2008.
(7) World Health Organization. WHO Report on the Global Tobacco Epidemic,
2008. Geneva: World | Health Organization; 2008 [cited 2008 Mar 21]. Available
from: http://www.who.int/tobacco/mpower/en/
(8) NICE. 2002. Guidance on the use of nicotine replacement therapy (NRT)
and bupropion for smoking cessation. Technology Appraisal Guidance - No.39.
(9) GSK data on file.

แหล่งข่าว : แกล็กโซสมิธไคลน์ คอนซูเมอร์ เฮลท์แคร์


สื่อมวลชนติดต่อ เทเรซ่า คาลันนี จาก โกลินแฮร์ริส

โทร: 312 729 4229

อีเมล: [email protected]


ไบรอัน โจนส์ จากแกล็กโซสมิธไคลน์ คอนซูเมอร์ เฮลท์แคร์

โทร 00+1+215+751+3415

อีเมล: [email protected]


--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --