หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จัดการบรรยายโดยนักวิจารณ์ศิลปะจากโครงการ Brand New 2009

23 Mar 2009

กรุงเทพฯ--23 มี.ค.--หอศิลปวิทยนิทรรศน์

การบรรยายโดยนักวิจารณ์ศิลปะจากโครงการ Brand New 2009

วันอังคารที่ 24 มีนาคม 2552 เวลา 15.00 - 17.00 น.

ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ ชั้น 7 สถาบันวิทยบริการ (หอสมุดกลาง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เกี่ยวกับนักวิจารณ์

ณรงค์ศักดิ์ นิลเขต (วิจารณ์งาน "สภาวะไม่มั่นคงทางอารมณ์" ของดวงกมล แสวงสิน แสดงงานที่หอศิลปวิทยนิทรรศน์)

เกิดเมื่อปี 2526 ที่กรุงเทพฯ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ด้วยความสนใจทางด้านศิลป วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ จึงตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะโบราณคดี วิชาเอกมานุษยวิทยา วิชาโทประวัติศาสตร์ศิลปะ หลังจากจบการศึกษามีความสนใจด้านการจัดการศิลป วัฒนธรรม จึงเข้าศึกษาหลักสูตรวุฒิบัตร การบริหารงานศิลปวัฒนธรรม ที่ศูนย์ศิลปะนานาชาติ สมาคมฝรั่งเศส หลังจากนั้น ก็ได้มีโอกาสทำงานด้านการจัดการและประสานงานที่โรงละครอักษรา พร้อมทั้งโครงการศิลปะ ภาพยนตร์ และการออกแบบต่างๆ ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาโท สาขาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

สุริยะ ฉายะเจริญ (วิจารณ์งานของบุษราพร ทองชัย ผู้ซึ่งตั้งคำถามเกี่ยวกับเพศสภาพของมนุษย์ แสดงงานที่หอศิลปวิทยนิทรรศน์)

เกิดเมื่อปี 2524 จบจากวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี ก็เข้าเรียนต่อที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรจนจบมาด้วยเกียรตินิยมอันดับ2 ในสาขาจิตรกรรม ขณะนี้กำลังศึกษาระดับปริญญาโททาง ทฤษฎีศิลป์ที่สถาบันเดิม แล้วด้วยการให้โอกาสของโครงการ Brand New 2009 นี้ ทำให้ผมมีกำลังใจขึ้น ในบทบาท ของนักเขียน วิจารณ์ศิลปะ ได้เห็นและรับประสบการณ์การร่วมงานกันระหว่างองค์กร ภัณฑารักษ์ ศิลปิน และนักวิจารณ์ ที่ไม่สามารถหาได้จากสถาบันการศึกษาใดๆ โอกาสดังกล่าวทำให้ผมมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ในการที่จะก้าวออกสู่สังคม ในบทบาทนักวิจารณ์หลังจากได้เปิดโลกทัศน์จากการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้

ภาริณี อินทร์สูงเนิน (ร่วมกับ ธนวัฒน์ วิจารณ์งานวิดีโอของพร้อมบุญ ชุณห์ช่วงโชติ แสดงงานที่หอศิลปวิทยนิทรรศน์)

เกิดเมื่อปี 2530 ที่ กรุงเทพฯ กำลังศึกษาอยู่ ชั้นปีที่ 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชาทัศนศิลป์ สาขาวิชา ศิลปะจินตทัศน์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มีความสนใจทางด้าน ปรัชญา การเมือง และศิลปะ ความสนใจในด้านการวิจารณ์ศิลปะได้เริ่มขึ้นขณะเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 ในรายวิชา Writing in Art จึงทำให้ได้ฝึกทักษะ ในการเขียนมากขึ้น แม้ว่าจะเรียนปฏิบัติด้วย แต่ก็ได้เห็นความสำคัญของงานวิจารณ์ว่าเป็น สิ่งสำคัญ และสามารถ ช่วยพัฒนางานศิลปะได้มากขึ้น จึงสนใจ และเรียนรู้แนวคิดผลงานของศิลปินเพื่อนำมาวิเคราะห์อยู่เสมอ

ธนวัฒน์ กันภัย (ร่วมกับ ภาริณี วิจารณ์งานวิดีโอของพร้อมบุญ ชุณห์ช่วงโชติ แสดงงานที่หอศิลปวิทยนิทรรศน์)

เกิดเมื่อปี 2529 ที่จังหวัดตราด กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาเอก ทัศนศิลป์-เซรามิกส์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความสนใจในงานเขียนวิจารณ์ผลงานศิลปะ จากการเรียนในวิชา Writing in Art มีความชื่นชอบในวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะวันตก ซึ่งประวัติศาสตร์ศิลปะนี้ ช่วยทำให้เรามอง สิ่งต่างๆเป็น มีความสำคัญ ในการพัฒนาทักษะการเขียนวิจารณ์ผลงานทางศิลปะ

ปวีณา เอื้อน้อมจิตต์กุล (วิจารณ์งาน Dice ของโอฬาร เนตรรังษี แสดงงานที่หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)

เกิด พ.ศ. 2522 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิจิตรศิลป์ เอกจิตรกรรม ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัย ศิลปากร คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ สาขาทฤษฎีศิลป์ มีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับศิลปะ ตั้งแต่เด็ก เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ศิลป์ตั้งแต่โมเดิร์นถึงหลังสมัยใหม่ ความมุ่งหวังในอนาคต คือการได้เป็นนักวิจารณ์ศิลปะ หรืออาจารย์สอนศิลปะ

ลลินธร เพ็ญเจริญ (วิจารณ์งาน 24 Arts Project ซึ่งมีกฤษฎา ดุษฎีวนิชเป็นผู้นำกลุ่ม แสดงงานที่หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)

เกิดเมื่อปี 2527 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะสถาปัตยกรรมศาตร์ ภาควิชาวิจิตรศิลป์ ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาโท ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะจิตกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ สิ่งที่อยากทำคือเป็นสื่อกลางเผยแพร่ศิลปะไปสู่วงกว้าง ไม่ใช่แค่เพียงด้าน ความงามเท่านั้นแต่ต้องทำให้เห็นคุณค่าของศิลปะด้วย เรายังคงมองเห็น “ศิลปะ” อยู่เพียงมุมเดียวคือ “งานฝีมือ” ยังไม่เคยมองด้านทัศนศิลป์กันอย่างจริงจัง บางทีเราควรเริ่มตั้งแต่การศึกษา ในวัยเด็ก ซึ่งโรงเรียนของเราแทบไม่เคยมีทัศนศึกษาตามหอศิลป์ นั่นเป็นเพราะว่าอะไร นี่เป็นเพียงแค่ทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้คนไทยหันมามองศิลปะ ในมุมที่ดีขึ้น

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

สิริวัฒน์ โพธิ์กระเจน (โย)

เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

โทร 081-629-0457 อีเมล์ [email protected] หรือ [email protected]

หอศิลปวิทยนิทรรศน์

ชั้น 7 สถาบันวิทยบริการ (หอสมุดกลาง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330

โทรศัพท์: 0-2218-2965 โทรสาร: 0-2218-2907

เว็บไซต์: www.car.chula.ac.th/art

อีเมล์: [email protected]

เปิดทำการ จันทร์-ศุกร์: 9.00-19.00 น. เสาร์: 9.00-16.00 น.

ปิดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0816290457 โย หอศิลปวิทยนิทรรศน์ สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย