เว็บไซต์เพลย์พาร์คจูงมือเกมเมอร์ละหน้าจอ! ลุยทะเล “รวมพลังกรีน” ร่วมปลูกปะการังที่สัตหีบ

24 Mar 2009

กรุงเทพฯ--24 มี.ค.--เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น

อากาศที่ร้อนระอุขึ้นทุกวันๆ และมหันตภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยๆ บนโลกของเราในทุกวันนี้ ล้วนเกิดขึ้นจากสภาวะโลกร้อนอันเกิดจากน้ำมือมนุษย์ตัวเล็กๆ อย่างพวกเรา! ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระเบิดหรือสารเคมีในการจับสัตว์น้ำ การเก็บประการังเหล่านี้ล้วน ส่งผลให้ประการังในท้องทะเลบ้านเรา เกิดสภาวะเสื่อมโทรม และตายไปเป็นจำนวนมาก ทางหน่วยงานของรัฐ “กองเรือป้องกันฝั่ง” ได้เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ท้องทะเลจึงได้จัดตั้ง “กองทุนอนุรักษ์ปะการัง” ขึ้น เพื่อทำการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศน์ใต้ทะเลสัตหีบ โดยเบื้องต้นมีเกาะขาม อ.สัตหีบ เป็นเป้าหมายแรกการอนุรักษ์ปะการัง สัตว์และพืชใต้ทะเล รวมทั้งเป็นแหล่งส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล และด้วยการเล็งเห็นความสำคัญในการร่วมอนุรักษ์ และอยากปลูกฝังให้เยาวชนไทยมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บริษัท เพลย์พาร์ค จำกัด ผู้ให้บริการเกมออนไลน์ออดิชั่น ฟรีสไตล์ เกมเศรษฐีออนไลน์เว็บท่าเกมออนไลน์ชั้นนำของเมืองไทยจึงได้ร่วมมือกับ “เป๊ปซี่” จัดกิจกรรม “เพลย์พาร์ค รวมพลังกรีน” เชิญชวนให้เยาวชนออนไลน์เข้าร่วมกิจกรรมการปลูกปะการังบนเว็บไซต์เพลย์พาร์คดอทคอม นอกจากนี้ ยังพาเหล่าเกมเมอร์ร่วมเดินทางไปปลูกปะการังของจริงกันถึงแหล่งอนุรักษ์ปะการังที่เกาะขาม อำเภอสัตหีบ โดยมีวัตถุประสงค์กระตุ้นให้เยาวชนไทย โดยเฉพาะกลุ่มเกมเมอร์ให้เลิกหมกหมุ่นอยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์ มาลุยแดด ย่ำน้ำทะเลและเอาใจใส่ในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ท่ามกลางแดดเปรี้ยงริมหาดบนเกาะขาม อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นเป้าหมายแรกของการอนุรักษ์ปะการัง พี่ย้ง - สุวรรณี ตั้งจิตร์พร ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เพลย์พาร์ค จำกัด เล่าถึงกิจกรรม “เพลย์พาร์ครวมพลังกรีน” ว่า “เพลย์พาร์ค รวมพลังกรีน เกิดขึ้นภายใต้เจตนาที่ต้องการเห็นเยาวชนในสังคมเมืองที่ใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ได้ออกมารวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ พอเราได้คุยกับเป๊ปซี่ ก็เจอกันทางความคิดว่า เราน่าจะจัดกิจกรรมเยาวชนที่สามารถทำได้ทั้งบนโลกออนไลน์ และสร้างกิจกรรมได้ในชีวิตจริงด้วย เราจึงจัดแคมเปญนี้ขึ้นมา โดยนอกจากเด็กๆ จะได้ร่วมกันปลูกปะการังบนหน้าเว็บไซต์ จนมันเติบโตขึ้นแล้ว เรายังพาพวกเค้าออกมาปลูกปะการังจริงกันที่เกาะขาม สัตหีบ เพื่อให้เค้าได้ซึมซัมความรู้สึกรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราเชื่อแน่ว่าเยาวชนที่ร่วมเดินทางมาปลูกปะการังครั้งนี้ นอกจากความสนุกสนาน ที่พวกเค้าได้รับแล้วนั้น เค้าจะตระหนักถึงความสำคัญ ในการมีจิตใจอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมและสามารถ ไปแนะนำ บอกต่อ เพื่อน หรือ คนใกลชิดพวกเค้า ได้อีกทางหนึ่งด้วย”

การอนุรักษ์ปะการังนั้น ทำได้ไม่ยาก แต่ต้องอาศัย เวลา และความร่วมมือ จากทุกฝ่าย เพราะปะการังเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เปราะบาง และใช้เวลายาวนานในการเติบโต การปลูกปะการังนั้น จะอาศัยวิธิการสืบพันธ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อขยายออกไปจากตัวเดิมทำให้ก้อนปะการังมีขนาดใหญ่ขึ้น โดย เอากิ่งปะการังปักลงในท่อพีวีซีแล้วใช้น๊อตเป็นตัวบังคับให้กิ่งปะการังแน่น แล้วเอาท่อพีวีซีปักลงในพื้นทราย ให้ปะการังเติบโต

น้องเบิร์ด ตัวแทนวัยรุ่น จากผู้เข้าประกวด เพลย์ไอดอล 2008 เปิดเผยถึงความรู้สึกในการมาเข้าร่วม กิจกรรม เพลยพาร์ครวมพลังกรีนครั้งนี้ว่า “ผมเป็นคนชอบเล่นเกม และ ชอบท่องโลกอินเตอร์เน็ตเป็นประจำ เหมือนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันที่ขาดไม่ได้ ตอนแรก ที่ผมเห็นกิจกรรมเพลย์พาร์ครวมพลังกรีนที่หน้าเว็บไซต์ http://www.playpark.com ชวนให้ร่วมปลูกปะการังออนไลน์ ก็เห็นว่าน่าสนใจดี ยังไม่เคยเห็นมีเว็บไซต์ไหนทำมาก่อน จนได้มารวมทริป ออกมาลุยทะเลปลูกปะการังจริงๆ นี่ เป็นอีกความรู้สึกที่ปลื้มมากๆ เพราะนอกจาก ผมจะได้ออกมาทำกิจกรรม ร่วมกับเพื่อนๆ ผมยังได้รู้ว่า ปะการังบางชนิดมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 1-2 เซนติเมตรต่อปีเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นกว่าที่เราจะเห็นเค้าสวยๆอยู่ในทะเล นั้นต้องใช้เวลานานมาก ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพวกเราที่ต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้ครับ” ด้านน้องเฟิร์น สาวสวยที่มาร่วมกิจกรรมปลูกปะการังครั้งนี้กล่าวว่า “พอมาได้ศึกษาจริงๆแล้วถึงได้รู้ว่า การร่วมใจกันอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลนั้น ไม่ได้ยากเลย ซึ่งเพื่อนๆทุกคนก็สามารช่วยกันได้ เช่น เราไม่ควรไปเดินหรือยืน บนปะการัง ไม่ควรเก็บประการังจากทะเลติดมือกลับบ้าน ไม่ทิ้งขยะ สิ่งปฎิกูล ลงสู่งทะเล ง่ายๆแค่นี้เราก็ร่วมกันอนุรักษ์ได้แล้ว เพราะปะการังนั้น นอกจากจะสร้างความสวยงาม ยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำทะเลที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอย่างมาก อยากให้ทุกคนมาร่วมใจกันอนุรักษ์ ปะการังกันนะค่ะ”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 086 8825911 สุวพร

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net