กรุงเทพฯ--15 ต.ค.--วีโร่ พับลิครีเลชั่นส์
ธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนกำลังตกเป็นเป้า
การประกาศเอาจริงกับการป้องปรามธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนในประเทศไทยของตำรวจ และการเสนอเงินรางวัลก้อนโตให้แก่พนักงานผู้รายงานการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กรโดยกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ ทำให้ผู้นำธุรกิจควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าองค์กรของตนปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้พ้นจากความเสี่ยงในการถูกตรวจค้นและจับกุมในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
องค์กรธุรกิจควรปฏิบัติตาม 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อให้รอดพ้นจากความเสี่ยงข้างต้น
เว็บไซต์แนะแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยแก่ผู้บริหารและผู้จัดการ
แผนกไอที ทั้งสองเว็บไซต์นำเสนอลิงค์ที่นำไปสู่เรื่องราวที่เป็นประโยชน์ วีดีโอ และข้อมูลต่างๆ
สำหรับผู้บริหารที่ไม่แน่ใจว่าสินทรัพย์ประเภทซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในองค์กรถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่
การตรวจสอบซอฟต์แวร์ช่วยให้มั่นใจได้ว่าซอฟต์แวร์ที่องค์กรครอบครองอยู่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องครบถ้วน การตรวจสอบซอฟต์แวร์ยังช่วยให้รู้ว่ามีการสูญเปล่าในระบบไอทีหรือไม่ “บางบริษัทยังคงจ่ายเงินซื้อซอฟต์แวร์ที่บริษัทไม่ใช้อีกต่อไป” นาวสาว ศิริภัทร ภัทรางกูร โฆษกคณะกรรมการกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ประจำประเทศไทยกล่าว “การตรวจสอบซอฟต์แวร์เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะใช้งานซอฟต์แวร์ได้เต็มประสิทธิภาพ”
การที่พนักงานดาว์นโหลดซอฟต์แวร์เถื่อนอาจส่งผลให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ แม้ว่าผู้บริหารจะไม่รับทราบถึงการกระทำนั้นก็ตาม การมีนโยบายที่เขียนไว้ชัดเจนช่วยป้องกันการดาว์นโหลดที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้ได้และควรสื่อสารให้พนักงานทุกคนทราบ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดปัญหาได้
ปัจจุบันอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยที่สูงถึง 78% ทำให้เป็นไปได้มากว่าคู่แข่งของคุณกำลังใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนอยู่ อย่างไรก็ดีบริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์แท้สามารถเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานได้มากกว่ารวมทั้งมีความปลอดภัยสูงกว่าซึ่งทำให้ได้เปรียบในการแข่งขัน
จากการประกาศเอาจริงต่อการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่จะเริ่มในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ โดยตำรวจจะเข้าตรวจค้นองค์กรธุรกิจที่ต้องสงสัยว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วประเทศ บริษัทไม่มีทางรู้ได้เลยว่าตนตกเป็นผู้ต้องสงสัยจนกว่าเจ้าหน้าที่จะมาแสดงตนขอตรวจค้น “การประสบผลสำเร็จทางธุรกิจขึ้นอยู่กับการเตรียมพร้อม” นางสาว ศิริภัทรกล่าว “การดูแลเรื่องซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ในการทำธุรกิจก็ไม่ต่างกัน บริษัทควรเร่งดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าตนใช้เฉพาะซอฟต์แวร์แท้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ”
ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2551 ตำรวจเข้าตรวจค้นจับกุมบริษัทจำนวน 39 แห่ง ใน 15 จังหวัด ทั่วทุกภาคของประเทศไทย รวมมูลค่ารวมของซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดกว่า 125 ล้านบาท
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบีเอสเอ
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (www.bsa.org) เป็นผู้นำแถวหน้าที่ทุ่มเทให้กับการส่งเสริมโลกดิจิตอลที่ปลอดภัย และถูกกฎหมาย บีเอสเอเป็นกระบอกเสียงของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ และคู่ค้าฮารด์แวร์ทั่วโลกต่อหน้ารัฐบาล ของประเทศต่างๆ และในตลาดการค้าระหว่างประเทศ สมาชิกบีเอสเอ ประกอบด้วยผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก บีเอสเอสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยี ผ่านโครงการเพื่อการศึกษาและนโยบายที่ส่งเสริมการปกป้องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ การค้าและอีคอมเมิร์ส
สมาชิกบีเอสเอ รวมถึง อโดบี, อาจิเลนท์ เทคโนโลยี, อัลเทียม, แอปเปิ้ล, ออโต้เดสค์, อาวิด, เบนลี่ ซิสเต็มส์, บอร์แลนด์, ซีเอ, คาร์เดนซ์ ดีไซน์ ซิสเต็มส์, ซิสโค ซิสเต็มส์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์/มาสเตอร์แคม, คอเรล,ไซเบอร์ลิงค์, เดล, อีเอ็มซี, ฟรอนท์ไลน์ พีซีบี โซลูชั่นส์ (ในเครือออร์โบเท็ค วาเลอร์ คัมปานี), เอชพี, ไอบีเอ็ม, อินเทล, แมคอาฟี, ไมโครซอฟท์, ไมเจ็ท, มินิแทบ, โมโนไทพ์ อิเมจิ้ง, พีทีซี, เคิร์ค, เควสท์ ซอฟต์แวร์, เอสเอพี, เอสเอเอส อินสทิทิว, ซีเมนส์, แดสเซิลท์ ซิสเต็มส์ โซลิดเวิร์คส์ คอร์ปอเรชั่น, เอสพีเอสเอส, ไซเบส, ไซแมนเทค, ไซนอปซิส, เทคล่า, เดอะ แมธเวิร์กส์ และ เทรนด์ ไมโคร สมาชิกบีเอสเอในประเทศไทยคือไทยซอฟต์แวร์ เอ็นเตอร์ไพร์ส
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
อาทิมา ตันติกุล
วีโร่ พับลิครีเลชั่นส์
โทร +66 (0) 2684 1551
อีเมล์
สุจิตรา ยิ่งเพิ่มมงคล
วีโร่ พับลิครีเลชั่นส์
โทร +66 (0) 2684 1551
อีเมล์ [email protected]
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit