กรุงเทพฯ--29 ต.ค.--ไอดีซี
จากข้อมูลการสำรวจรายไตรมาสของ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก เกี่ยวกับตลาดหมึกสำหรับเครื่องพรินเตอร์ พบว่า ตลาดหมึกพรินเตอร์มีอัตราการ เติบโตราว 5% จากปีก่อนและมียอดจำหน่ายสูงถึง 46 ล้านตลับในไตรมาสที่สอง ของปี พ.ศ. 2551 ตลับหมึกอิงค์เจทยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 80% ของตลาดหมึกพรินเตอร์ทั้งหมด หรือมีจำนวนเท่ากับ 37 ล้านตลับ ขณะที่ตลาดหมึกพิมพ์สำหรับเครื่องเลเซอร์พรินเตอร์ยังเป็นตลาด ที่มีอัตราการเติบโตอยู่ในระดับสูง โดยมีอัตราการเติบโต 18% เมื่อเปรียบเทียบจากปีที่แล้ว และยอด จำหน่ายมากกว่า 9 ล้านตลับในไตรมาสนี้
การเพิ่มขึ้นของการใช้งานพรินเตอร์ทั้งแบบที่มีฟังก์ชั่นพิมพ์อย่างเดียว (Single Function Printers - SFPs) และแบบที่มีฟังก์ชั่นการทำงานหลายอย่างในเครื่องเดียวกัน (Multifunction Peripheral - MFPs) ทำให้มีความต้องการใช้หมึกพิมพ์อย่างต่อเนื่องในตลาด ดังจะเห็นได้จากการเติบโตของบริษัทผู้ค้าหมึก พิมพ์รายใหญ่ที่มีอัตราการเติบโตมากถึง 2 หลัก เชอร์ลี เตียว ผู้จัดการฝ่ายวิจัยด้านอุปกรณ์ต่อพ่วง ประจำ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า มีอัตราการเติบโตมากกว่า 20% ของตลาดหมึกพิมพ์พรินเตอร์ ในหลายประเทศ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย จีน และ ไทย
เอชพี ยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำตลาดคิดเป็น 58% จากยอดจำหน่ายหมึกพิมพ์ทั้งหมด ซึ่งยังคงรักษา ระยะห่างจาก ซัมซุง ที่มีสัดส่วน 12% ซึ่งเป็นยี่ห้อที่มีการผลักดันและสร้างยอดจำหน่ายได้อย่าง น่าชื่นชม จากการที่มีการใช้งานเครื่องพิมพ์เลเซอร์ ยี่ห้อเอชพี ทั้งแบบ SFPs และ MFPs ในองค์กร ขนาดใหญ่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชน หรือ หน่วยงานของรัฐฯ ที่ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้มีแนวโน้ม ที่จะใช้หมึกพิมพ์สูงขึ้น ได้ช่วยรักษาความเป็นผู้นำของ เอชพี ไว้ได้ อย่างไรก็ตาม เอชพี ยังคงถูกท้าทาย ด้วยการแข่งขันมากขึ้นจากผู้ค้าที่เป็นมือที่สาม อย่างผู้ค้าหมึกเทียมและตลาดมืดที่ นำเข้าหมึก นอกเหนือไปจากที่จะต้องแข่งขันกับผู้ค้าหมึกแท้รายอื่นๆ ในตลาด
เชอร์ลี ยังกล่าวเสริมอีกว่า ซัมซุง กำลังขยายตลาดของตนเองอย่างมากด้านตลาดหมึกพิมพ์ ซึ่งได้รับ แรงผลักดันจากการได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้นจากลูกค้ากลุ่มต่างๆ ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ ภายหลัง จากที่ได้สร้างฐานลูกค้าที่ดีในกล่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMB) ไว้แล้ว ความน่าเชื่อถือนี้ได้ สร้างความต้องการให้กับหมึกพิมพ์เลเซอร์พรินเตอร์ต่อไปในอนาคต
ในไตรมาสที่สองของปี พ.ศ. 2551 ตลาดหมึกพิมพ์อิงค์เจท มีอัตราการเติบโตแค่ 2% ซึ่งน้อยกว่า ปีที่แล้วที่มีอัตราการเติบโตที่ 8% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันเมือปีที่แล้ว การเติบโตในหลาย ประเทศโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 3-4% ในไตรมาสที่สองของปี พ.ศ. 2551 ยกเว้น ่ในบาง ประเทศ ที่มีอัตราการเติบโตสูงอย่าง ไทย (10%) และ ฟิลิปปินส์ (7%) เอชพี เอปสัน และ แคนนอน ยังคงเป็นผู้นำตลาดในตลาดหมึกพิมพ์อิงค์เจท โดยทั้งสามยี่ห้อนี้มียอดจำหน่ายรวมกันคิดเป็น 90% ของตลาดหมึกพิมพ์อิงค์เจททั้งหมด
ด้วยสัดส่วนการจำหน่ายเครื่องพิมพ์อิงค์เจทประเภท MFPs ที่เพิ่มขึ้นนั้น ทำให้เกิดความต้องการพิมพ์ ที่มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งมาจากการหน้าที่การทำงานที่พ่วงอยู่ในเครื่องพิมพ์อย่าง การสแกน การถ่าย เอกสารและการส่งแฟกซ์ นอกจากนี้การเพิ่มศักยภาพให้กับเครื่องพรินเตอร์ในความสามารถที่จะพิมพ์ ภาพถ่ายที่มีคุณภาพคงทนได้ ก็เป็นส่วนที่ทำให้ผู้ใช้มีความต้องการพิมพ์เพิ่มสูงขึ้น จากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ส่งเสริมให้ตลาดหมึกพิมพ์อิงค์เจทมีการเติบโตอย่างคงที่ และลดผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้น จาก การเปลี่ยนผลิตภัณฑ์จากอิงค์เจทไปเป็นเลเซอร์ได้ในช่วงปีนี้
ในอีก 5 ปีข้างหน้านั้น ไอดีซี คาดว่า ตลาดหมึกพิมพ์เลเซอร์ จะมีอัตราการโตแบบเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 16% ในด้านยอดจำหน่าย ขณะที่การเติบโตแบบเฉลี่ยต่อปีของตลาดหมึกพิมพ์อิงค์เจทจะมีอัตราการเติบโต ที่น้อยลงเพียง 5% ต่อปี การใช้หมึกพิมพ์สีจะเป็นตัวกระตุ้นตลาดและสร้างอัตราการเติบโตให้กับทั้ง สองตลาดในช่วงที่คาดการณ์
คาดการณ์ยอดจำหน่ายหมึกพิมพ์ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
Source: IDC, Sep 2008
ในตลาดสิงค์โปร์ผู้ค้าหมึกแท้พึงพอใจกับอัตราความภักดีที่มีค่าสูงในการใช้หมึกพิมพ์แท้
อัตราความ ภักดีคือ 4 ใน 5 หมายถึงมีคนซื้อหมึกแท้ 4 คนในจำนวนผู้ซื้อทุกๆ 5 คน สิงค์โปร์เป็นประเทศที่มี อัตราค่าความภักดีในการใช้หมึกแท้สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งค่าความภักดีในเอเชียแปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่นอยู่ที่ 59% อัตราความภักดีนี้มีมีหลายประเทศที่มีค่าต่ำกว่า 50% ได้แก่ จีน46% และ อินเดีย 39% ที่ซึ่งมีองค์ประกอบจาก ลูกค้าที่มีการคำนึงด้านต้นทุนสำหรับการพิมพ์สูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ผู้ค้าหมึกแท้กำลังจับตาดูอย่างใกล้ชิด จากการที่ยอดจำหน่ายเครื่องพิมพ์เลเซอร์เพิ่มสูง ขึ้นในช่วงที่ผ่านจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้ค้ามือที่สามเข้ามาตลาดนี้ เพื่อสร้างรายได้แหล่งใหม่ให้กับตนเอง
ค่าความภักดีสำหรับหมึกอิงค์เจทแท้ มีค่าเฉลี่ยที่ 62% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไม่รวม ญี่ปุ่น ผู้ค้าหมึกแท้ยังรู้สึกปลอดภัยกับตัวเลข สองในสามส่วนนี้ ของ ตลาดหมึกอิงค์เจทในหลายประเทศ แต่ ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายในตลาด อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลี และ จีน ซึ่งผู้ใช้งาน ในประเทศ เหล่านี้ ส่วนใหญ่นิยมใช้ผลิตภัณฑ์ ของผู้ค้ามือที่สาม โดยเฉพาะสินค้าและบริการที่รับเติมหมึกราคาถูก
ผู้ค้าหมึกแท้ ต้องมองหาแนวทางในการสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้ามากกว่านี้ เช่น การนำ เสนอคุณภาพงานพิมพ์ที่โดดเด่นมีชีวิตชีวา รองรับการพิมพ์ที่ยาวนาน การสร้างความภักดีจากลูกค้า เปรียบเทียบความคุ้มค่าในการใช้หมึกแท้สำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีงานพิมพ์น้อย หรือ กลุ่มงานพิมพ์มาก ฯลฯ ในทางกลับกัน หากไม่รวมถึงด้านราคาที่มีการแข่งขันอย่างสูง บริษัทผู้ค้าที่สาม ได้มีการนำเสนอ สินค้าที่หลากหลายแก่ลูกค้าเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การมีระบบจัดหาหมึกให้อย่างต่อเนื่อง หรือ การออก ชุดเติมหมึกแบบคุณก็ทำได้ ที่สามารถดึงดูดความสนใจของลูกค้า ณ ตอนนี้ลูกค้าได้ยืนอยู่ระหว่าง สงครามการแย่งชิงลูกค้า ของผู้ค้าหมึกแท้ และ ผู้ค้าหมึกเทียม โดยมีทางเลือกให้แก่ลูกค้ามากขึ้น จากวิกฤติการณ์ด้านการเงินในปัจจุบันๆ จะส่งผลกระทบต่อตลาดหมึกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะ ในประเทศ อินเดีย และจีน ที่ซึ่ง มีลูกค้าที่มีความอ่อนไหวต่อราคามากกว่าประเทศอื่น ซึ่งสิ่งนี้จะเป็น การสร้างโอกาสสินค้าเทียมมากขึ้นไปอีก นอกจากนี้การพิมพ์งานในบ้านน่าจะมีแนวโน้มที่ลดลง ทำให้ส่งผลต่อความต้องการใช้หมึกอิงค์เจทตามไปด้วย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับ ผู้ค้าหมึกแท้ ที่จะหา แนวทางต่อสู้กับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ต้นทุนที่สูงขึ้นและการสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่มากขึ้น ให้กับลูกค้า เช่น การแนะนำตลับหมึกที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าด้วยต้นทุนการพิมพ์ต่อหน้าที่ถูกลง นอกเหนือจากนี้ ผู้ค้าหมึกแท้ ต้องตื่นตัวต่อการปะทะ กับหมึกเทียม ที่ซึ่ง มักจะปะปนกับสินค้าแท้ และ สินค้าเลียนแบบ
เกี่ยวกับIDC
IDC เป็นบริษัทที่ปรึกษา และ วิจัยข้อมูลการตลาดชั้นนำระดับโลก ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ โทรคมนาคม และ คอนซูเมอร์เทคโนโลยี โดยนำเสนอข้อมูลจากการวิเคราะห์เจาะลึก แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ผู้บริหาร และ นักลงทุน ให้สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจจัดซื้อ เทคโนโลยีและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ ปัจจุบัน IDC มี นักวิเคราะห์ กว่า 1,000 คน ใน 100 ประเทศ ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูล และ ให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์อย่างรอบด้านแก่ลูกค้า ในเรื่องเทคโนโลยี รวมถึงโอกาสทางธุรกิจและแนวโน้มของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และ ในแต่ละ ประเทศ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมากว่า 44 ปี เพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุทุก วัตถุประสงค์ ทางธุรกิจ IDC เป็นบริษัทในเครือของ IDG ซึ่งดำเนินธุรกิจสื่อสายเทคโนโลยี วิจัย และจัดงานสัมมนา ชั้นนำระดับโลก ค้นหา ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.idc.co.th
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
คุณศศิธร แซ่เอี้ยว
ที่หมายเลข 662-651-5585 ต่อ 113
Email: [email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit