ผลวิจัยล่าสุดเผยยาอมนิโคตินช่วยลดอาการผิดปกติของร่างกายในนักสูบที่พยายามเลิกสูบบุหรี่

19 Sep 2008

ซานดิเอโก--19 ก.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์


อดีตแพทย์ทหารประจำกองทัพสหรัฐและคณะผู้เชี่ยวชาญพูดคุยถึงวิธีใหม่ในการให้ความช่วยเหลือนักสูบบุหรี่


ผลวิจัยล่าสุดที่ได้รับการเปิดเผยในการประชุมแพทย์ประจำปีแสดงให้เห็นว่า นักสูบบุหรี่ที่ขาดสารนิโคตินเนื่องจากการพยายามเลิกบุหรี่จะมีประสิทธิภาพในการรับรู้และนึกคิดลดลง (อาทิ มีสมาธิน้อยลง เป็นต้น) ซึ่งอาจส่งผลให้การเลิกบุหรี่เป็นไปได้ยากกว่าเดิม และนักสูบอาจกลับไปสูบบุหรี่ตามเดิม(1) นอกจากนั้น เทคโนโลยีสแกนภาพในสมองยังแสดงให้เห็นว่านักสูบที่อมยานิโคติน NiQuitin(R) ขนาด 4 มิลลิกรัม (หรือในชื่อ Nicabate ในออสเตรเลีย) จะมีอาการผิดปกติจากการพยายามเลิกบุหรี่น้อยลงมาก(2) ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้แพทย์เข้าใจอาการของผู้ป่วยและสามารถหาวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสม

“ผลวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าความช่วยเหลือของแพทย์เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจอาการของตัวเองและเลิกบุหรี่ได้ในที่สุด” ดร.ซี เอเวอเรทท์ คูป อดีตแพทย์ทหารและผู้เขียนรายงานหัวข้อการ “เสพติดนิโคติน ผลพวงจากการสูบบุหรี่” ในปี พ.ศ.2531 กล่าว “แพทย์ควรนำข้อมูลดังกล่าวไปพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าใจอาการเสพติดนิโคตินมากขึ้น นอกจากนั้นยังควรพูดถึงผลกระทบที่มองจะได้รับจากการเลิกบุหรี่และวิธีรักษาอาการดังกล่าว”

การวิจัยครั้งนี้เน้นไปที่การศึกษาผลกระทบของการขาดสารนิโคตินจากการเลิกสูบบุหรี่ที่มีต่อสมอง และประสิทธิภาพของยาอมนิโคติน NiQuitin(R) ขนาด 4 มิลลิกรัม ในการช่วยลดอาการผิดปกติจากการพยายามเลิกบุหรี่(3)

ผลการศึกษาเผยว่า การขาดนิโคตินจะส่งผลกระทบต่อสมองบางส่วน โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบการทำงานต่างๆ ซึ่งยาอมนิโคติน NiQuitin(R) ขนาด 4 มิลลิกรัม สามารถช่วยพัฒนาการทำงานของระบบการรับรู้ในสมองได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ยา placebo (ยาที่มีผลทางจิตใจแต่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษา) นอกจากนั้นยังช่วยลดอาการผิดปกติที่เกิดจากการเลิกสูบบุหรี่ลงได้มาก ไม่ว่าจะเป็นอาการอยากยา หงุดหงิดและกระสับกระส่าย(3) รวมถึงอาการควาจำสั้นและสมาธิสั้น(3)

“การเลิกสูบบุหรี่จะทำให้สมองของนักสูบทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้นักสูบมีความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ลดลง” ดร.ไมเคิล เดอร์แคน ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการการแพทย์ของแกล็กโซสมิทไคล์น คอมซูเมอร์ เฮลธ์แคร์ (GlaxoSmithKline Consumer Healthcare) กล่าว “การสแกนภาพสมองของผู้ที่กำลังเลิกบุหรี่ช่วยให้แพทย์และนักสูบเข้าใจและบริหารอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น สำหรับนักสูบที่เคยเกิดความผิดปกติด้านการตั้งสมาธิและการตัดสินใจหลังพยายามเลิกบุหรี่ ยาอมนิโคติน NiQuitin(R) ขนาด 4 มิลลิกรัม สามารถช่วยให่ท่านเลิกบุหรี่ได้สำเร็จในที่สุด”

ผลิตภัณฑ์ยานิโคตินเป็นเภสัชภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนามาเป็นพิเศษเพื่อลดอาการผิดปกติที่เกิดจากการหยุดรับสารนิโคตินจากการสูบบุหรี่ ด้วยการช่วยให้ผู้ป่วยค่อยๆ ลดการเสพสารนิโคตินอย่างช้าๆ จนเลิกได้ในที่สุด ทั้งนี้ ยาอมนิโคติน NiQuitin(R) ขนาด 4 มิลลิกรัม มีประสิทธิภาพช่วยลดอาการอยากยา หงุดหงิดและกระสับกระส่าย(3) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นักสูบที่ใช้ผลิตภัณฑ์ยานิโคตินทั้งหลายในตลาด ซึ่งรวมถึงยาอมนิโคติน NiQuitin(R) ขนาด 4 มิลลิกรัม มีโอกาสเลิกบุหรี่ได้สำเร็จมากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ยา placebo และสามารถอดบุหรี่ได้ในระยะยาว (6 เดือนขึ้นไป)(4) ผลิตภัณฑ์ยานิโคตินอย่างพลาสเตอร์ยานิโคตินและยาอมนิโคติน NiQuitin(R) เป็นตัวเลือกแรกที่ควรใช้ในการเลิกบุหรี่และเป็นวิธีการเลิกบุหรี่ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายที่สุด(5)

ผลวิจัยทางคลินิกกว่า 1,000 กรณีซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 40,000 คน แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ยานิโคตินมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษาเมื่อใช้โดยตรง(4) นอกจากนั้นยังเข้าถึงได้ง่ายและมีขนาดความแรงของยาให้เลือกใช้อย่างหลากหลายด้วย(6)


เกี่ยวกับ ยาอมนิโคติน NiQuitin(R)

NiQuitin ได้รับการยอมรับว่าสามารถช่วยควบคุมอาการอยากยาจากการเลิกสูบบุหรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยช่วยให้นักสูบค่อยๆ ลดการรับสารนิโคตินลงทีละน้อยจนเลิกได้ที่สุด นักสูบสามารถเลือกขนาดความแรงของยาที่เหมาะสมกับแต่ละคนได้โดยวัดจากว่านักสูบเริ่มสูบบุหรี่มวนแรกของวันเร็วแค่ไหน โดยยาอมขนาด 2 มิลลิกรัมเหมาะสำหรับนักสูบที่เริ่มสูบบุหรี่มวนแรกหลังตื่นนอนเกินครึ่งชั่วโมง ส่วนยาอมขนาด 4 มิลลิกรัมเหมาะสำหรับนักสูบที่เริ่มสูบบุหรี่มวนแรกภายในครึ่งชั่วโมงหลังตื่นนอน


เกี่ยวกับการวิจัย

การวิจัยแรกในหัวข้อ “ประสิทธิภาพของยาอมนิโคตินในการลดความผิดปกติในการรับรู้ของผู้ที่พยายามเลิกสูบบุหรี่” ซึ่งจัดทำโดยแกล็กโซสมิธไคลน์ คอมซูมเมอร์ เฮลท์แคร์ เป็นการวิจัยแบบสุ่ม, มียา placebo เป็นปัจจัยควบคุม, แบ่งเป็น 2 ช่วง และผู้ถูกทดลองไม่รู้ว่าตัวเองได้รับยาอะไร โดยมีนักสูบทั้งชายและหญิงอายุระหว่าง 21-55 ปีเข้าร่วมในการทดลอง ส่วนการวิจัยที่สองในหัวข้อ “การสแกนภาพสมองที่ผิดปกติจากการขาดนิโคตินและผลของการรักษา” ซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ ในกิลด์ฟอร์ด ด้วยการสนับสนุนของแกล็กโซสมิธไคลน์ เป็นการวิจัยแบบที่ผู้ทำการทดลองรู้ว่าให้ยาใดกับผู้ถูกทดลอง และมียา placebo เป็นปัจจัยควบคุม โดยมีนักสูบทั้งชายและหญิงเขาร่วมการทดลองเช่นกัน โดยการศึกษานี้มีการใช้เครื่องสแกนสมองซึ่งสามารถประเมินการประมวลข้อมูลของสมองได้จากการวัดระดับออกซิเจนในเลือด ส่งผลให้แพทย์สามารถบอกได้ว่าการใช้ยานิโคตินส่งผลต่อการทำงานของสมองอย่างไร


เกี่ยวกับ แกล็กโซสมิทไคล์น

แกล็กโซสมิทไคล์น เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลกด้านการดูแลสุขภาพและเภสัชกรรม บริษัทมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนด้วยการช่วยให้พวกเขาสามารถทำสิ่งต่างๆได้มากขึ้น รู้สึกดีขึ้น และมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.gsk.com


ข้อมูลอ้างอิง
1. Henningfield, J. The brain in withdrawal; neuroscience of treatment. Symposium presentation. September 2008.
2. Boyle, J, Durcan MJ, et al. Efficacy of a nicotine (4mg) containing lozenge on the cognitive impairment of nicotine withdrawal. Poster presented at the annual European meeting of the Society for Research on Nicotine and Tobacco, Padua, Italy.
3. Matthews, P. Imaging brain cognitive effects of nicotine withdrawal and the impact of treatment. Symposium presentation. September 2008.
4. Silagy C, Stead LF, et. al. Nicotine replacement therapy for smoking cessation. Cochrane Database of Systematic Reviews 1996, Issue 3. Art. No.: CD000146. DOI: 10.1002/14651858.CD000146.pub3. Available at: http://www.cochrane.org/reviews/en/ab000146.html
5. Fiore MC, Jaen CR, Baker TB, et al. Treating Tobacco Use and Dependence: 2008 Update. Clinical Practice Guideline. Rockville, MD: U.S. Department of Health and Human Services. Public Health Service. May 2008.
6. GSK Data on file.

สื่อในสหรัฐอเมริกาติดต่อ:

เทเรซ่า คาลันนี จาก โกลินแฮร์ริส

โทร: 312 729 4229

อีเมล: [email protected]


สื่อนอกสหรัฐอเมริกาติดต่อ:

แคลร์ ดิ๊กซอน ในสหภาพยุโรป

โทร: 44 20 8047 4296

อีเมล: [email protected]


โลอิค อังเดร ในโคลัมเบีย

โทร: 56 2 3829139

อีเมล: [email protected]


แอนดรูว แม็คมิลเลน ในบราซิล

โทร: 54 11 4725 8925

อีเมล: [email protected]

เฮเดอร์ เปเรซ ในเม็กซิโก

โทร: 52 55 5483 8910

อีเมล: [email protected]


แหล่งข่าว: แกล็กโซสมิทไคล์น คอมซูเมอร์ เฮลธ์แคร์

ติดต่อ: สหรัฐอเมริกา

เทเรซ่า คาลันนี จาก โกลินแฮร์ริส

โทร: 312 729 4229

อีเมล: [email protected]


นอกสหรัฐอเมริกา:

แคลร์ ดิ๊กซอน ในสหภาพยุโรป

โทร: 44 20 8047 4296

อีเมล: [email protected]


โลอิค อังเดร ในโคลัมเบีย

โทร: 56 2 3829139

อีเมล: [email protected]

แอนดรูว แม็คมิลเลน ในบราซิล

โทร: 54 11 4725 8925

อีเมล: [email protected]

เฮเดอร์ เปเรซ ในเม็กซิโก

โทร: 52 55 5483 8910

อีเมล: [email protected]

เว็บไซต์: http://www.gsk.com


--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --