กรุงเทพฯ--30 ก.ย.--สพภ.
ทราบหรือไม่ว่าแผ่นดินไทยเป็นดินแดนมหัศจรรย์ที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อันเนื่องมาจากประเทศไทยมีทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อันโดดเด่น เป็นแหล่งรวมการกระจายพันธุ์พืชและสัตว์จากแหล่งต่างๆ มากมาย พูดย่อๆ คือประเทศไทยเราเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่ล้วนมีความสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ในส่วนที่เป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัดเจนคือสิ่งมีชีวิตนานาชนิดล้วนเป็นทรัพยากรตามธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับปัจจัยสี่ อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ทรัพย์สินทางชีวภาพนี้มีอย่างมากมายและหลากหลายในแผ่นดินนี้ แผ่นดินที่แสนมหัศจรรย์เพียง “หนึ่งเดียวในโลก” ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ คนไทยรุ่นนี้จะร่วมกันดูแลรักษาและพัฒนาให้ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในประเทศไทยนี้ เป็นทรัพย์สินทางชีวภาพอันทรงคุณค่าของชาติ สมดังคำกล่าวที่ว่า “Natural Capital as National Capital”
หลายคนอาจไม่เชื่อว่าประเทศที่มีเงินมากที่สุดในโลก กลับร่ำรวยสู้ประเทศไทยไม่ได้ หากพิจารณาในเชิงเปรียบเทียบจากความสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่นับว่าพรรพชนไทยใช้ความเป็นคนเกษตร สืบสาน และดำรงความเป็นชาติเกษตรกรรมที่ยิ่งใหญ่มาหลายชั่วอายุคน ได้ใช้ภูมปัญญาท้องถิ่นพัฒนาความรู้ด้านการเกษตรมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์จากพันธุธรรมชาติให้เป็นพันธุพื้นเมือง หรือความรู้ในระบบการเกษตรขนาดเล็กแบบผสมผสาน ที่ช่วยดำรงความหลากหลายให้คงอยู่
ยังไม่สายเกินไปที่คนไทยในแผ่นดินนี้ ต้องร่วมกันพัฒนาเครือข่ายจากความหลากหลายทางชีวภาพของไทย โดยสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) สพภ. จะเป็นผู้เข้าไปร่วมส่งเสริม ร่วมค้นหาฐานทรัพยากรชีวภาพร่วมกับชุมชน และวางระบบการบันทึกจดแจ้ง ความรู้ภูมิปัญญา เพื่อนำสู่การคุ้มครองและแบ่งปันผลประโยชน์ สร้างความเป็นธรรมให้แก่ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งได้ทำหน้าที่ปกป้อง ดูแล รักษาฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในแต่ละภูมินิเวศนั้นๆ รวมทั้งการสนับสนุนการต่อยอดวิจัย พัฒนา เพื่อการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ด้านกระบวนการผลิต เพื่อนำฐานชีวภาพเหล่านั้นมาเพิ่มมูลค่าและสร้างมูลค่า และปราการสุดท้าย คือการส่งเสริมสนับสนุน และหาทางคลีคลายปัญหาให้กับธุรกิจที่พัฒนาจากฐานชีวภาพที่มีศักยภาพ
โดย สพภ.ตระหนักดีถึงบทบาทและภาระหน้าที่อันสำคัญยิ่ง จึงได้จัดงาน“มหกรรม ทรัพยากรชีวภาพ... เส้นทางสู่เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง” ขึ้นโดยนำสินค้าจากฐานทรัพยากรชีวภาพของ 10 ชุมชนนำร่องชื่อดังมาแสดงภายในงาน พร้อมจัดเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างตัวแทนผู้ประกอบการจากชุมชนนำร่องและชุมชนเครือข่ายอีก 25 ชุมชนทั่วประเทศ รวมถึงภาคธุรกิจที่พัฒนามาจากทรัพยากรชีวภาพ ทั้งนี้ สพภ.เชื่อว่าการจัดงานครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นและสร้างเครือข่ายพัฒนาทรัพยากรชีวภาพให้แก่ชุมชนและผู้ประกอบในแต่ละท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ซึ่งประชาชนในภูมินิเวศนนั้นๆต้องมีส่วนร่วมในการสงวน บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรชีวภาพอย่างสมดุล และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม
ติดต่อ บังอร แก้วบวร มือ 081 904 7907
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit