ฟิทช์ปรับแนวโน้มอันดับเครดิตสากลของธนาคารไทยขนาดใหญ่เป็นลบ

02 Dec 2008

กรุงเทพฯ--2 ธ.ค.--ฟิทช์ เรทติ้งส์

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศปรับแนวโน้มอันดับเครดิตสากลระยะยาวของธนาคารไทยขนาดใหญ่ 9 แห่งเป็นลบ จากแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ การปรับแนวโน้มอันดับเครดิตสากลของธนาคารไทยในครั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่ฟิทช์ได้ปรับแนวโน้มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวและอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาวของประเทศไทยเป็นลบ จากแนว โน้มอันดับมีเสถียรภาพ การปรับแนวโน้มอันดับเครดิตสากลของประเทศมีผลกระทบโดยตรงต่อแนวโน้มอันดับเครดิตสากลของธนาคารที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลและธนาคารที่ถือหุ้นโดยต่างชาติ ที่อันดับเครดิตถูกจำกัดไว้ที่อันดับเครดิตของประเทศ

ในขณะเดียวกัน แนวโน้มอันดับเครดิตสากลของธนาคารเอกชนขนาดใหญ่ได้รับผลกระทบจากการคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจะลดลงอย่างมากมาอยู่ที่ 0.9% ในปี 2552 รวมถึงผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อ

ที่อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารเหล่านี้

เนื่องจากการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Rating) เป็นการจัดอันดับในเชิงเปรียบเทียบระหว่างอันดับเครดิตของประเทศและบริษัทผู้ออกตราสารหนี้อื่นๆในประเทศไทย ดังนั้นแนวโน้มอันดับเครดิตภายใน ประเทศ ณ ปัจจุบัน จึงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้อันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารทั้ง 9 แห่งที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้รับการคงอันดับโดยมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ รายละเอียดของอันดับเครดิตของธนาคารที่ได้รับผลกระทบมีดังนี้

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย:

  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-term Foreign Currency Issuer Default Rating (IDR)) ที่ ‘BBB+’ / แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘F2’
  • อันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘2’
  • อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ (Support Rating Floor) ที่ ‘BBB+’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศ (National Rating) ระยะยาวที่ ‘AAA(tha)’ / แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F1+(tha)’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันที่ ‘AAA(tha)’

ธนาคารกรุงเทพ:

  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว IDR ที่ ‘BBB+’ / แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘F2’
  • อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ ‘C’
  • อันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘2’
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘BBB’
  • อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำที่ ‘BBB-’ (BBB ลบ)
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘AA(tha)’ / แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F1+(tha)’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘AA-(tha)’ (AA ลบ (tha))

ธนาคารกรุงไทย:

  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว IDR ที่ ‘BBB+’ / แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘F2’
  • อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ ‘C/D’
  • อันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘2’
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘BBB’
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1 hybrid) ที่ ‘BBB-’ (BBB ลบ)
  • อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำที่ ‘BBB+’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘AA+(tha)’ / แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F1+(tha)’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘AA(tha)’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศของ Hybrid Tier 1 Securities ที่ ‘A+(tha)’

ธนาคารไทยพาณิชย์:

  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว IDR ที่ ‘BBB+’ / แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘F2’
  • อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ ‘C’
  • อันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘2’
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันที่ ‘BBB+’
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘BBB’
  • อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำที่ ‘BBB-’ (BBB ลบ)
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘AA(tha)’ / แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F1+(tha)’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันระยะสั้นที่ ‘F1+(tha)’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘AA-(tha)’ (AA ลบ (tha))

ธนาคารกสิกรไทย:

  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว IDR ที่ ‘BBB+’ / แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘F2’
  • อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ ‘C’
  • อันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘2’
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘BBB’
  • อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำที่ ‘BBB-’ (BBB ลบ)
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘AA(tha)’ / แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F1+(tha)’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันระยะยาวที่ ‘AA(tha)’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันระยะสั้นที่ ‘F1+(tha)’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘AA-(tha)’ (AA ลบ (tha))

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา:

  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว IDR ที่ ‘BBB’ / แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘F3’
  • อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ ‘C’
  • อันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘3’
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘BBB-’ (BBB ลบ)
  • อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำที่ ‘BB+’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘AA-(tha)’ (AA ลบ (tha)) / แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F1+(tha)’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘A+(tha)’

ธนาคารทหารไทย:

  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว IDR ที่ ‘BBB-’ (BBB ลบ) / แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘F3’
  • อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ ‘C/D’
  • อันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘3’
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘BB+’
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุน

ชั้นที่ 1 (Tier 1 hybrid) ที่ ‘BB-’ (BB ลบ)

  • อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำที่ ‘BB’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘A+(tha)’ / แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F1(tha)’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘A(tha)’

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย):

  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและสกุลเงินในประเทศระยะยาว IDR ที่ ‘A-’ (A ลบ) / แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและสกุลเงินในประเทศระยะสั้นที่ ‘F2’
  • อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ ‘B/C’
  • อันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘1’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘AA+(tha)’ / แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F1+(tha)’

ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ (ไทย):

  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว IDR ที่ ‘A-’ (A ลบ) / แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ
  • อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘F2’
  • อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ ‘C’
  • อันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘1’
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘AA+(tha)’ / แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
  • อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F1+(tha)’

นักลงทุนสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม ในเรื่องการปรับแนวโน้มอันดับเครดิตสากลของประเทศไทยได้จากที่www.fitchresearch.com

ติดต่อ

ดารุณี เพียรมานะกิจ; พชร ศรายุทธ; Vincent Milton, กรุงเทพฯ +662 655 4755

การเปิดเผยข้อมูล: บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม กสิกรไทย จำกัด ซึ่งถือหุ้น 99.99% โดยธนาคารกสิกรไทย ถือหุ้นจำนวน 10% ของบริษัทฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ไม่มีผู้ถือหุ้นใดนอกเหนือจากบริษัทฟิทช์ เรทติ้งส์ จำกัดแห่งประเทศอังกฤษที่มีส่วนในการดำเนินงานและการจัดอันดับเครดิตที่จัดโดยบริษัทฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด

หมายเหตุ : การจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ใช้วัดความน่าเชื่อถือของบริษัทในประเทศที่อันดับเครดิตของประเทศนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าอันดับเครดิตระดับเพื่อการลงทุน หรือมีอันดับเครดิตอยู่ในระดับต่ำแม้จะอยู่ในระดับเพื่อการลงทุน อันดับเครดิตของบริษัทที่ดีที่สุดของประเทศจะอยู่ที่ระดับ “AAA” และการจัดอันดับเครดิตอื่นในประเทศ จะเป็นการเปรียบเทียบความเสี่ยงกับบริษัทที่ดีที่สุดนี้เท่านั้น อันดับเครดิตภายในประเทศนั้นถูกออกแบบมาเพื่อนักลงทุนภายในประเทศในแต่ละประเทศนั้นๆ และมีสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ต่อท้ายจากอันดับเครดิตสำหรับแต่ละประเทศ เช่น “AAA(tha)” ในกรณีของประเทศไทย อันดับเครดิตภายในประเทศนั้นไม่สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบระหว่างประเทศได้

คำจำกัดความของอันดับเครดิตและการใช้อันดับเครดิตดังกล่าวของ ฟิทช์ เรทติ้งส์ สามารถหาได้จาก www.fitchratings.com อันดับเครดิตที่ประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดอันดับเครดิต ได้แสดงไว้ในเว็บไซต์ดังกล่าวตลอดเวลา หลักจรรยาบรรณ การรักษาข้อมูลภายใน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น แนวทางการเปิดเผยข้อมูลระหว่างบริษัทในเครือ กฏข้อบังคับรวมทั้งนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องอื่นๆของฟิทช์ ได้แสดงไว้ในส่วน ‘หลักจรรยาบรรณ’ ในเว็บไซต์ดังกล่าวเช่นกัน