กรุงเทพฯ--1 ก.ค.--
ร้านค้าคอมพิวเตอร์ที่เซียร์ รังสิต แหล่งซื้อขายอุปกรณ์ไฮเทคชื่อดัง ถูกจับในข้อหาจำหน่ายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์
จากการบุกเข้าตรวจค้นสามารถยึดแผ่นซีดีและดีวีดีเถื่อนซอฟต์แวร์แคด (CAD - Computer Aided Design) ของหลายบริษัท รวมทั้งออโต้เดสค์, โซลิดเวิร์กส์ และพีทีซี คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,900,000 บาท
การจับกุมในครั้งนี้เป็นผลงานของกองปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก.ปศท.) พนักงานขายประจำร้านอายุ 25 ปีถูกจับและได้รับการประกันตัวออกไปในเวลาต่อมา
“ซอฟต์แวร์เถื่อนที่ขายกันอย่างเปิดเผยที่เซียร์ รังสิตและห้างไอทีอื่นๆนั้นผิดกฏหมายไทย” มร. ดรุณ ซอว์นีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ประจำภูมิภาคเอเชียของบีเอสเอกล่าว “การจับกุมร้านค้าที่จำหน่ายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง เป็นวิธีเดียวที่จะหยุดวงจรโจรกรรมนี้ได้ การจัมกุมเช่นนี้ช่วยลดการจำหน่ายซอฟต์แวร์เถื่อนในห้างไอทีอื่นๆ ทั่วภูมิภาคและเราหวังว่าการดำเนินการป าบปรามอย่างต่อเนื่องจะได้ผลในประเทศไทยเช่นเดียวกัน”
มร. ซอว์นีย์ ยกตัวอย่างห้างซิม ลิม สแควร์ของสิงค์โปร์ในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นแหล่งที่ทราบกันดีว่ามีซอฟต์แวร์เถื่อนจำหน่ายเช่นเดียวกับห้างเซียร์ รังสิตและพันทิพย์ พลาซ่าในกรุงเทพ โดยระบุว่าการจับกุมอย่างต่อเนื่องโดยเจ้าหน้าที่ทำให้การจำหน่ายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์หมดไปในที่สุด
“ประเทศไทยเองก็สามารถดำเนินการบังคับใช้กฏหมายลิขสิทธิ์ได้ด้วยวิธีการเดียวกับประเทศอื่นๆ” มร. ซอว์นีย์เสริม “การมีซอฟต์แวร์เถื่อนวางเกลื่อนห้างไอทีเป็นเหมือนการส่งสารถึงผู้บริโภคว่าการละเมิดกฏหมายและขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นเป็นเรื่องปกติที่กระทำได้ การล้างบางการจำหน่ายแผ่นผีซีดีเถื่อนตามห้างไอทีต่างๆจะช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสังคมธุรกิจและเทคโนโลยีโลก”
การจับกุมที่ห้างเซียร์ รังสิตครั้งนี้ เป็นการจับกุมร้านค้าปลีกที่จัดจำหน่ายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ครั้งแรกของปี อย่างไรก็ดี ทางตำรวจประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการจับกุมองค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 นี้ สามารถจับกุมบริษัทกว่า 20 แห่งที่ต้องสงสัยว่าใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน มูลค่ารวมของซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดกว่า 100 ล้านบาท
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit