ลอสแองเจลิส และ กวางโจว--22 ส.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ – เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
โรคร้ายดังกล่าวสามารถรักษาได้ด้วยยา StatC(TM) ซึ่งทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐอนุมัติให้มีการทดสอบยาดังกล่าวในสัตว์ทดลองแล้ว
นักวิจัยไข้หวัดนกชื่อดังของโลกและทีมงาน เผยผลสำเร็จของการรักษาไข้หวัดนกในหนูทดลองด้วยการใช้ยา StatC(TM) ซึ่งได้จากการผสมยาสเตตินและคาเฟอีนเข้าด้วยกัน
ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ดร.เจียไห่ หลู จากวิทยาลัยสาธารณสุขแห่งมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น มณฑลกวางโจว ประเทศจีน ได้ทำการวิจัยและเผยแพร่การใช้ยา StatC(TM) ในนามของ คาโนปัส ไบโอฟาร์มา (Canopus Biopharma) (OTCPK: CBIA) บริษัทสัญชาติสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบและเป็นเจ้าของสิทธิบัตรตัวยาดังกล่าว
“การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ทำให้องค์การอนามัยโลกวิตกว่าโรคร้ายดังกล่าวอาจแพร่จากคนสู่คนได้ในอนาคต” ดร.หลู กล่าว “นอกจากนั้นการที่ไวรัสดังกล่าวเริ่มดื้อยา Oseltamivir (Tamiflu(R)) และ Zanamivir (Relenza(R)) รวมถึงการขาดแคลนวัคซีนในการป้องกันโรคก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ต้องมีการพัฒนายาต้านไวรัสอย่างเร่งด่วน”
“ดังนั้น ผมจึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยยาต้านไวรัสดังกล่าว และผมหวังว่าจะได้ร่วมมือกับคาโนปัส ไบโอฟาร์มา ต่อไปในอนาคต”
ดร.หลู และทีมงานได้ทำการทดลองประสิทธิภาพของยา StatC(TM) ในการรักษาไข้หวัดสามสายพันธุ์ ได้แก่ H5N1 (ไข้หวัดนก), H1N1 (ไข้หวัดสเปน) และ H3N2 (ไข้หวัดฮ่องกง) โดยยา StatC(TM) เกิดจากการผสมยา 2 ตัวเข้าด้วยกันตามสูตรของคาร์โนปัส ไบโอฟาร์มา เพื่อใช้ป้องกันและรักษาไข้หวัดโดยเฉพาะ ซึ่งในการทดลองดังกล่าวได้มีการใช้ยา Oseltamivir และ Ribavirin เป็นปัจจัยควบคุม โดยผลการทดลองในหนูทดลองปรากฎว่า ยา StatC(TM) สามารถป้องกันและลดอาการจากติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ H5N1, ป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสในปอด และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับปอด ทั้งยังมีประสิทธิภาพพอๆ กับยา Oseltamivir ทั้งในด้านการป้องกันและรักษาหนูทดลองด้วย นอกจากนั้นยังไม่พบการติดเชื้อในกลุ่มหนูทดลองที่ได้รับยา StatC(TM) ทางโพรงจมูก ทั้งนี้ ยา StatC(TM) ยังให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกันในการรักษาไข้หวัดสายพันธุ์ H3N2 และ H1N1 ด้วย
“ผลการทดลองที่ออกมาช่วยให้เรามีกำลังใจขึ้นมาก” ดร.หลู กล่าว “มีความเป็นไปได้ว่าหากมีการใช้ยาสแตตินมากกว่าที่ใช้ในการทดลอง ผลลัพธ์ที่ออกมาก็อาจดีขึ้นไปอีก นอกจากนั้นยังมีหลักฐานยืนยันว่ายา StatC(TM) จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อใช้ในเชิงป้องกัน” และด้วยผลลัพธ์ที่น่าพอใจดังกล่าว คาโนปัส ไบอฟาร์มา จึงหวังให้ลิขสิทธิ์หรือลงนามความร่วมมือในการพัฒนายาดังกล่าวกับบริษัทเภสัชภัณฑ์และหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการขุดรากถอนโคนโรคร้ายดังกล่าวมิให้แพร่ระบาดในประเทศอีกต่อไป
ปัจจุบัน ดร.หลู กำลังทำการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติของการผสมผสานยาสแตตินและคาเฟอีนเข้าด้วยกัน โดยดร.หลู กล่าวว่า “ตัวยาดังกล่าวมีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับยารักษาไข้หวัดนกตัวอื่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยในการต่อกรกับโรคร้ายดังกล่าว เราจำเป็นต้องพัฒนายาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีราคาถูกลง และมีตัวเลือกมากกว่าเดิม” ทั้งนี้ นอกจากจะมีประสิทธิภาพสูงในการต้านไข้หวัดชนิดรุนแรงหลายสายพันธุ์แล้ว ยา StatC(TM) ยังมีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสทั่วไปที่ไม่รุนแรงซึ่งแพร่ระบาดเป็นประจำทุกปีด้วย
ปัจจุบัน ยา Oseltamivir (Tamiflu(R)) เป็นยาที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพดีที่สุดในการป้องกันและรักษาไข้หวัดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดย ดาต้ามอนิเตอร์ (Datamonitor) ซึ่งเป็นผู้จัดหาข้อมูลออนไลน์รายใหญ่ของโลก คาดการณ์ว่าความต้องการยารักษาไข้หวัดทั่วโลกจะมีการขยายตัวแตะ 370 ล้านโดส ด้วยมูลค่าตลาดกว่า 3.7 พันล้านดอลลาร์ภายในปี พ.ศ.2553
ยุทธศาสตร์การพัฒนายา StatC(TM) ประกอบด้วยการทดลองยาในสัตว์ทดลองอย่างต่อเนื่องด้วยความร่วมมือของเครือข่ายวิจัยในสหรัฐอเมริกาและจีน ส่วนขั้นต่อไปคือการทดลองในตัวเฟอเรท (Ferret) และเมื่อการทดลองดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ ยา StatC(TM) จะได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา และจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสต็อกยาสำรองของรัฐบาลในกรณีเกิดโรคระบาดต่อไป
เกี่ยวกับ คาโนปัส ไบโอฟาร์มา อิงค์
คาโนปัส ไบโอฟาร์มา อิงค์ อุทิศตนให้กับการทดสอบและพัฒนาเภสัชภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ทั้งในสาขาโรคติดเชื้อ การป้องกันรังสี มะเร็ง รวมถึงการติดยาเสพติด โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 เป็นต้นมา บริษัทมีความตั้งมั่นที่จะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพผ่านการใช้นวัตกรรมอันทันสมัย การวิจัยที่น่าเชื่อถือ และความเป็นผู้นำด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ camelid antibody ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนากระบวนการวิจัยซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทั้งแพทย์ ผู้ป่วย และนักวิจัย ทั้งนี้ บริษัทมีพนักงานประจำอยู่ในออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ ไอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา ท่านที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ http://www.canopusbiopharma.com
แหล่งข่าว: คาโนปัส ไบโอฟาร์มา อิงค์
ติดต่อ: สำหรับสื่อ
คาโนปัส ไบโอฟาร์มา อิงค์
เลน ร็อธสไตน์
โทรศัพท์: +1-818-980-5008
โทรสาร: +1-818-980-5088
อีเมล์: [email protected]
มหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น
ศจ.เจียไห่ หลู
โทร: +86-20-8733-0605
อีเมล์: [email protected]
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit