ผลวิจัย GISSI-HF เผยกรดไขมัน n-3 PUFA ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว

03 Sep 2008

มิวนิค--3 ก.ย.--พีอาร์นิวสไวร์ – เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์


- ผลการวิจัยถูกนำเสนอที่งานการประชุม Annual ESC Congress 2008 ที่มิวนิค ประเทศเยอรมนีในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2551

ศาสตราจารย์ลุยจี ทาวาซซี ได้นำเสนอผลการวิจัย GISSI-HF ที่เกี่ยวกับการทดสอบกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน n-3 (n-3 PUFA) ฉบับใหม่เป็นครั้งแรกในงานการประชุมโรคหัวใจที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งบ่งชี้ว่า กรดไขมันดังกล่าวช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว (1)

รายงานการวิจัย GISSI-HF ที่ได้ดำเนินการทดลองแบบสุ่มในผู้ป่วย 6,975 คนเป็นเวลา 3.9 ปี ด้วยการให้กรดไขมัน n-3 PUFA ขนาด 1 กรัมต่อวันนั้นสามารถลดทุกสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตลงได้ 9% (p=0.041) และลดสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ 8% (p=0.009) เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาตามคำแนะนำที่เหมาะสมกับอาการ (การรักษาแบบสหโอสถด้วยยาลดความดันโลหิตสูง ACE-inhibitors, beta-blockers, diuretics ยาบำรุงหัวใจ digitalis และยาควบคุมฮอร์โมน spironolactone) ร่วมกับการใช้ยาหลอก (ยาที่มีผลทางจิตใจแต่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษาทางยา หรือ placebo)


ตารางแสดงผล

ความเปลี่ยนแปลง

Primary endpoint                                                                       กรด n-3 PUFAs เมื่อเทียบกับยาหลอก (ORT)
ทุกสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต                                                                       9% (p=0.041) *
ทุกสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล                                       8% (p=0.009) *

Secondary endpoint                                                                   กรด n-3 PUFAs เมื่อเทียบกับยาหลอก (ORT)
การเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ                                                                                 10% (p=0.045) *
การเสียชีวิตหรือการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคหัวใจล้มเหลว
หรือโรคหัวใจอื่นๆ                                                                                           6% (p=0.043) *

การรักษาตัวในโรงพยาบาลที่มีสาเหตุจากโรคหัวใจ                                                    7% (p=0.026) *

การเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน                                                                 7% (p=0.333)
การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยเหตุผลอื่นๆ                                                         6% (p=0.049)
การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว                                               6% (p=0.147)
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด                                                                            18% (p=0.121)
โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน                                                                               -16% (0.271)

* ความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่แบ่งตามสถิติ (การวิเคราะห์ที่ผ่านการแก้ไขซึ่งนำมาจากเอกสารอ้างอิง 1)


ทีมวิจัย GISSI เป็นผู้ริเริ่ม ออกแบบ และจัดทำรายงานการวิจัย GISSI-HF ต่อเนื่องจากรายงาน GISSI-Prevenzione (อ่านรายละเอียดได้ในหมายเหตุถึงบรรณาธิการ) ที่ให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ ซึ่งรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ยา n-3 PUFA (2) สามารถลดสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตและการรักษาในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยกลุ่มย่อยที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายและหัวใจห้องล่างด้านซ้ายทำงานผิดปกติ

วัตถุประสงค์เบื้องต้นในการจัดทำการศึกษา GISSI-HF คือ ทางทีมงานต้องการทราบข้อเท็จจริงว่ากรดไขมัน n-3 PUFAs หรือยาลดระดับคลอเลสเตอรอล rosuvastatin สามารถช่วยควบคุมสาเหตุของโรคหัวใจที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตหรือการรักษาตัวในโรงพยาบาลได้จริงหรือไม่ โดยทีมงานจะสุ่มทดลองกับผู้ป่วยโดยให้กรดไขมัน n-3 PUFAs และเปรียบเทียบผลลัพธ์กับการใช้ยาหลอก (ORT) และการให้ยาลดคลอเรสเตอรอล rosuvastatin เทียบกับยาหลอกในผู้ป่วยกลุ่มย่อย

รายงานการวิจัย GISSI-HF ที่ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับกรดไขมัน n-3 PUFA ฉบับที่สองนี้ยังเป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่ยืนยันถึงความปลอดภัยของกรดไขมัน n-3 PUFA ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายที่พบในการศึกษาฉบับก่อนหน้านี้(3) ดังนั้น ผลการศึกษาที่จัดทำขึ้นในขณะนี้สามารถบ่งชี้ได้ว่ากรดไขมัน n-3 PUFA เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายและผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ขณะเดียวกัน การศึกษา n-3 PUFA ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้อาจเผยให้เห็นถึงข้อดีเพิ่มเติมที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ

ศาสตราจารย์ คลีเมนส์ วอน สคากีย์ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันโรคหัวใจ ประจำมหาวิทยาลัยมิวนิค เยอรมนีกล่าวด้วยว่า รายงานการวิจัย GISSI-HF มีความเกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติการทางคลินิกในระหว่างที่มีการประชุมสัมนา ESC 2008 โดยให้รายละเอียดว่า “ขณะนี้ เราได้จัดทำรายงานการศึกษาเกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลวออกมาหลายฉบับ แต่น่าเสียดายที่ผลการศึกษาเหล่านี้กลับไม่เป็นที่น่าพอใจและไม่สามารถบ่งชี้อะไรได้มากนัก ในทางตรงกันข้าม รายงาน GISSI-HF สามารถบ่งชี้ถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของกรดไขมัน n-3 PUFA ในผู้ป่วย ดังนั้น หลักฐานที่นำเสนอในวันนี้จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยเพิ่มตัวเลือกในการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวได้เป็นอย่างดี”


เอกสารอ้างอิง
1. GISSI-HF investigators. Effect of n-3 polyunsaturated fatty acids in
patients with chronic heart failure (the GISSI-HF trial): a randomised,
double-blind, placebo-controlled trial Lancet 2008; Published online August
31st 2008.

2. Marchioli R, Marfisi RM, Borrelli G, Chieffo C, Franzosi MG, Levantesi
G, et al. Efficacy of n-3 polyunsaturated fatty acids according to clinical
characteristics of patients with recent myocardial infarction: insights from
the GISSI-Prevenzione trial. Journal of Cardiovascular Medicine (Hagerstown,
MD) 2007 Sep;8 Suppl 1:S34-7.

3. Gruppo Italiano per lo Studio della Sopravvivenza nell'Infarto
Miocardico. Dietary supplementation with n-3 polyunsaturated fatty acids and
vitamin E after myocardial infarction: results of the GISSI-Prevenzione
trial. Lancet 1999 Aug 7;354(9177):447-55.

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ


เกี่ยวกับ GISSI และรายงานการศึกษา GISSI-HF

Gruppo Italiano per lo Studio della Sopravvivenza nell'Infarto Miocardico (GISSI) เป็นกลุ่มทีมวิจัยด้านโรคหัวใจที่สำคัญที่สุดกลุ่มหนึ่งซึ่งได้จัดทำรายงาน GISSI ที่มีการทดลองทางคลีนิกหลายฉบับGISSI 1 (http://www.gissi.org/Egissi1/T_Intro.php)

GISSI 2 (http://www.gissi.org/Egissi2/T_Intro.php), GISSI 3
(http://www.gissi.org/Egissi3/T_Intro.php), GISSI Prevention
(http://www.gissi.org/Egissip/T_Intro.php))ซึ่งได้ดำเนินการทดลองกับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายกว่า 60,000 คน

ข้อมูลเบื้องต้นของรายงานการศึกษา GISSI-HF* อ้างอิงจากผลลัพธ์ด้านบวกของการทดลองกรดไขมัน n-3 PUFAในผู้ป่วยกลุ่มย่อยที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย ( 3 เดือนขึ้นไป) จำนวน 11,323 รายที่ได้รับกรดไขมัน n-3 PUFA ( 1 กรัมต่อวัน) วิตามินอี หรือ ผู้ที่ไม่ได้รับการรักษา (กลุ่มที่มีการควบคุม) ที่เข้าทำการทดลอง GISSI- Prevenzione (GISSI-P) ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารแลนเซ็ตเมื่อปีพ.ศ.2542 นอกเหนือไปจากการรักษาตามมาตรฐานและการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต (ประมาณ 70% ของผู้ป่วยที่รับประทานปลาอย่างน้อย 1 มื้อต่อสัปดาห์) ทั้งนี้ ยอดรวมของอัตราการเสียชีวิตลดลง 20% เช่นเดียวกับกุล่มผู้ป่วยที่ได้รับกรดไขมัน n-3 PUFA ที่มีอัตราการเสียชีวิตเฉียบพลันลดลง 45% นอกจากนั้น รายงานการศึกษา GISSI-P ยังระบุด้วยว่า การให้กรดไขมัน n-3 PUFA ในขนาด 1 กรัมสามารถรักษาชีวิตผู้ป่วยได้ปีละ 5.7 คนต่อผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจำนวน 1,000 คน และที่น่าสนใจคือ รายงานการวิจัยฉบับย่อยของ GISSI-P แสดงให้เห็นถึงข้อดีทางคลีนิกที่เห็นได้ชัดในผู้ป่วยที่ใช้และไม่ได้ใช้ยาในกลุ่ม statin


สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทีมวิจัย GISSI สามารถเข้าชมได้ที่ http://www.gissi.org/.


*การดำเนินโครงการวิจัยได้รับการสนับสนุนจาก Gruppo di Ricerca GISSI และส่วนหนึ่งในรับการอนุเคราะห์จากแอสตร้าซีเนก้า, Societa Prodotti Antibiotici, ซิกมา ทู, ไฟเซอร์


เกี่ยวกับโรคหัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลวมิได้เป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชนิดเดียวเท่านั้น แต่หากเป็นผลมาจากกระบวนการสั่งสมและความซับซ้อนของโรคหัวใจหลายประเภท โดยในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกามีประชาชนราว 10 ล้านคนที่เข้ารับการตรวจรักษาโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ทั้งนี้ โรคหัวใจล้มเหลวถือเป็นภาระทางสังคมและแม้ว่าจะมีการคิดค้นวิทยาการที่ล้ำหน้าในการพัฒนายาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว แต่จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในระหว่าง 20 ปีที่ผ่านมายังมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาวิธีการรักษาใหม่ๆที่ได้ผลเพื่อใช้ในการรับมือกับผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว


เกี่ยวกับ Omacor(R)

กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน n-3 (n-3 PUFA) ที่วางจำหน่ายโดยบริษัทโซลเวย์ภายใต้ชื่อว่า Omacor(R) ได้ผ่านการรับรองให้ใช้เป็นหนึ่งในยาเสริมเช่นเดียวกับยา statins, antiplatelet drugs,

beta-blockers และ ACE inhibitors เพื่อใช้ป้องกันอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย (MI) ในยุโรป และบางประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง และช่วยรักษาผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเชีย ทั้งนี้ กรดไขมัน n-3 PUFA) ethyl esters 90 เป็นกรดไขมันชนิดแรกและชนิดเดียวที่ผ่านการรับรองจากสหภาพยุโรป (EU) และสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ (FDA)ให้แพทย์สามารถสั่งจ่ายให้กับคนไข้ได้

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยา Omacor(R) ยังไม่มีการบ่งชี้ให้ใช้เพื่อรักษาโรคหัวใจ


ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยา Omacor(R) สามารถเข้าชมได้ที่ http://www.Omacor.com


เกี่ยวกับโซลเวย์ ฟาร์มาซูติคอลส์

โซลเวย์ ฟาร์มาซูติคอลส์ ได้ดำเนินการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Omacor(R) (ได้รับการรับรองจากโพรโนวา ไบโอฟาร์มา) ใน 35 ประเทศทั่วยุโรป เอเชีย และตะวันออกกลาง โดย Omacor(R) เป็นผลิตภัณฑ์กรดไขมันโอไมก้า-3 เพียงตัวเดียวที่ผ่านการอนุมัติให้ใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายและระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง ทั้งนี้ Omacor(R) ประกอบด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 (ประกอบด้วยกรดที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย 2 ชนิดคือไอโคซาเพนทาอีโนอิค และกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิค หรือดีเอชเอ)ในรูปของเอทิลเอสเตอร์ 90 ในเม็ดแคปซูลขนาด 1 กรัม

โซลเวย์ ฟาร์มาซูติคอลส์ เป็นกลุ่มบริษัทด้านการวิจัยที่ประกอบด้วยหน่วยธุรกิจเวชภัณฑ์ระดับโลกของโซลเวย์ กรุ๊ป โดยบริษัทหาทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการรักษาโรคที่ตอบสนองความต้องการทางการแพทย์ด้านประสาทวิทยา ภาวะการเผาพลาญในหัวใจ วัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และสุขภาพผู้หญิงและผู้ชาย โดยบริษัทมียอดขายในปีพ.ศ. 2550 อยู่ที่ 2.6 พันล้านยูโร และมีพนักงานกว่า 9,000 คนทั่วโลก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเข้าชมที่เว็บไซต์ www.solvaypharmaceuticals.com.

โซลเวย์ เป็นกลุ่มบริษัทด้านเภสัชกรรมและเคมีภัณฑ์ระดับโลกที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงบรัสเซลส์ โดยมีพนักงานกว่า 28,000 คนใน 50 ประเทศ โดยในปีพ.ศ. 2550 บริษัทสามารถทำรายได้จากยอดขายรวมทั้งสิ้น 9.6 พันล้านยูโรผ่านการดำเนินธุรกิจ 3 กลุ่ม ได้แก่ เคมีภัณฑ์ พลาสติก และเภสัชกรรม ทั้งนี้ บริษัทโซลเวย์ (NYSE Euronext: SOLB.BE - Bloomberg: SOLB.BB - Reuters: SOLB.BR) ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NYSE Euronext ในกรุงบรัสเซลส์ รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ http://www.solvay.com, http://www.solvaypharmaceuticals.


แหล่งข่าว: โซลเวย์ ฟาร์มาซูติคอลส์


สื่อมวลชน กรุณาติดต่อ: เอลซา เดอลาครัวซ์ ฟาร์มาซูติคอล คอมมิวนิเคชั่นส์, โซลเวย์ ฟาร์มาซูติคอลส์

โทร. +32-2-509-68-35

อีเมล [email protected]


--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --