กรุงเทพฯ--4 ก.พ.--คอร์แอนด์พีค
มร.สลาว่า ชากิน ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์โซลูชั่นบริหารความเสี่ยง ภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า“ที่ผ่านมาประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก มีการใช้มาตรฐานบาเซิลทู (Basel II) กันแล้ว โดยสถาบันการเงินขนาดใหญ่ ทั้งในประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเกาหลี ได้นำโซลูชั่นของแซสไปใช้และประสบความสำเร็จเป็น อย่างดี”
โซลูชั่นดังกล่าว นอกจากจะสามารถตอบสนองกฎเกณฑ์ของบาเซิลทูแล้ว ยังสามารถต่อยอดให้สถาบันการเงินสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงที่แท้จริง เพื่อการกำหนดปริมาณเงินกองทุนภายใน (Economic Capital Analysis) ทําให้สถาบันการเงินสามารถที่จะวางแผนกันเงินสํารองความเสี่ยงได้อย่างแม่นยํามากขึ้น ซึ่งจะเป็นแนวโน้มของบาเซลทูที่ใช้กันในหลายๆประเทศที่พัฒนาแล้ว โซลูชั่นของแซสจึงเป็นโซลูชั่นที่ครบวงจร (End-to-End Solution) ที่ตอบรับอนาคตของบาเซลทูเพื่อมาตรฐานขั้นสูงอย่างแท้จริง
สำหรับประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์มาตรฐานบาเซิลทู มาใช้ควบคู่ไปกับการคำนวนแบบเดิม เพื่อให้มาตรฐานของสถาบันการเงินของไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากล และได้รับความน่าเชื่อถือในสายตาของต่างประเทศ
“ปัญหาที่เราพบมากที่สุดในสถาบันการเงินของไทยก็คือ เรื่องคุณภาพของข้อมูลที่เกิดจากการจัดเก็บ ความผิดพลาดในการป้อนข้อมูล ความหลากหลายของรูปแบบข้อมูล ระบบที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่สถาบันการเงินกำลังเผชิญอยู่”
โซลูชั่นของแซส นอกจากจะรองรับกับบาเซิลทูแล้ว จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดเก็บข้อมูลที่คลาดเคลื่อนหรือผิดพลาด โดยในการทําโครงการ แซสจะมีการทำ Gap Analysis ร่วมกับทางสถาบันการเงิน เพื่อดูว่าข้อมูลนั้นมีคุณภาพดีพอและครบถ้วนหรือไม่ ข้อมูลใดจะต้องถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งแซสจะมีเครื่องมือที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพข้อมูลให้ถูกต้องและเหมาะสมได้ เช่นข้อมูลชื่อหรือที่อยู่บางอย่างที่คลาดเคลื่อน และซ้ำซ้อนกัน เครื่องมือนี้ก็สามารถที่จะเปรียบเทียบและประเมินความใกล้เคียงกันของข้อมูลดังกล่าวได้ เพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์ว่าข้อมูลนั้นคืออะไร เป็นข้อมูลเดียวกันหรือไม่ และเครื่องมือนี้ ยังสามารถแปลงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบต่างๆ ให้มาอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ช่วยให้สามารถนำไปใช้งานในด้านการคำนวณ วิเคราะห์ความเสี่ยงต่างๆ และออกรายงานได้อย่างถูกต้อง
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit