HSPA: ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับโมบายบรอดแบนด์

08 Apr 2008

กรุงเทพฯ--8 เม.ย.--ฟ้า เอเจนซี่

HSPA เป็นเทคโนโลยีสำหรับโมบายบรอดแบนด์ที่พัฒนาขึ้นจากพื้นฐานของตระกูล 3GPP เพื่อให้บริการทั้งทางด้านเสียงที่ดีเยี่ยมและให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลบนบรอดแบนด์ที่ผู้ใช้ต้องการ HSPAได้รับการพิสูจน์แล้วจากทั่วโลกโดยมีการใช้งานในเชิงพาณิชย์กว่า 150 เครือข่าย HSPA สามารถสร้างขึ้นบนโครงข่ายจีเอสเอ็มในปัจจุบันหรืออัพเกรดซอฟต์แวร์ของเครือข่าย WCDMA ที่ได้ติดตั้งไว้แล้ว นอกจากนี้ยังมีเครื่องลูกข่ายแบบดูอัลโหมดที่พัฒนาเพื่อให้ครอบคลุมทั้งบริการทางเสียง (GSM/WCDMA) และข้อมูล (HSPA/EDGE)

HSPA: ผู้นำเทคโนโลยีโมบายบรอดแบนด์

มีหลายเทคโนโลยีที่แข่งขันกันเพื่อพัฒนาไปสุ่การให้บริการโมบายบรอดแบนด์เพื่อการพาณิชย์ สองเทคโนโลยีหลักที่เป็นที่สนใจคือ WiMAX ไร้สาย และ โครงข่าย3G ที่พัฒนาบน WCDMA (Wideband Code Division Multiple Access) และ HSPA (High Speed Packet Access)

HSPA เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้:

  • ให้บริการที่ครอบคลุมทั้งโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ส่วนตัวอื่นๆ อาทิเช่น โน้ตบุ๊ก PC mobile กล้องถ่ายรูป เครื่องเล่นเกมส์แบบพกพา และ เครื่องเล่นMP3
  • การประหยัดจากการขยายการผลิต (economies of scale) ที่ไม่มีเทคโนโลยีใดเทียบได้ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีมาตรฐานในตระกูล3GPP ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการกว่าสองพันล้านราย
  • มีการพัฒนาด้านประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ด้วยอัตราการรับส่งข้อมูลเชิงพาณิชย์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วด้วยความเร็วสูงถึง 14Mbps ในปัจจุบันและสูงถึง 42Mbps ในอนาคตอันใกล้
  • โครงข่ายที่ครอบคลุมทั้งในเมืองและชนบทด้วยระยะทางถึง 200 กม. ต่อcell และด้วยอัตราความเร็วกว่า 2Mbps บริเวณขอบ cell
  • มีแนวทางการพัฒนาอย่างชัดเจนและปรับใช้ได้ง่าย

เทคโนโลยี WiMAX ไร้สาย มิได้มีข้อดีทางเทคโนโลยีใดที่เหนือกว่า HSPA

ข้อเท็จจริงของ HSPA ในปัจจุบัน

  • ผู้ให้บริการ 229 ราย ในกว่า 101 ประเทศ ยืนยันการติดตั้ง HSPA; ในจำนวนนี้ 164 โครงข่ายใน 73 ประเทศ ได้เปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์แล้ว (24 ประเทศจาก 27 ประเทศในสหภาพยุโรป (EU) เลือกใช้ HSPA)
  • ผู้ให้บริการ 100 รายสามารถให้บริการที่มีความเร็วได้ถึง 3.6 Mbps
  • อุปกรณ์ 466 ชนิดของผู้ผลิต 101 รายที่สนับสนุนการใช้งาน HSPA รวมถึงโทรศัพท์มือถือ 206 รุ่น, ดาต้า การ์ด 40 แบบ, คอมพิวเตอร์Notebook 84 รุ่น, เราท์เตอร์ไร้สาย 31 แบบ, USB โมเด็ม 38 แบบ และโมดูล HSPA 30 แบบ

แหล่งที่มา: GSMA ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2008 สำหรับข้อมูลล่าสุด โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ www.gsmworld.com/about-hspa

อุปกรณ์ HSPA ที่หลากหลายและครบถ้วนสำหรับผู้ใช้

แม้การเชื่อมต่อโมบายบรอดแบนด์ในอุปกรณ์ต่างๆ มิได้ยุ่งยากหรือมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันระหว่างเทคโนโลยี Wide-area wireless แต่อุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับ HSPA มีราคาถูกและมีขายทั่วไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นความสำเร็จทั่วโลกของเทคโนโลยีตระกูล GSM/WCDMA/HSPA ที่มียอดขายมากกว่าและมี การประหยัดจากการขยายการผลิต (economies of scale) ที่ไม่มีเทคโนโลยีใดเทียบได้

ประโยชน์อีกด้านหนึ่งในการใช้เทคโนโลยี HSPA คือ การเชื่อมต่อบรอดแบนด์ไร้สายที่ต่อเนื่องระหว่าง GPRS, EDGE, WCDMA และ HSPA ซึ่งก่อให้เกิดบริการที่ครอบคลุมทั่วโลก ผู้ใช้บริการโมบายบรอดแบนด์ที่ใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้งานได้ทั้ง GSM/WCDMA/HSPA สามารถเชื่อมต่อได้ตลอดเวลา รวมทั้งการได้รับบริการที่ดีที่สุดและต่อเนื่องถึงแม้ในขณะเดินทางก็ตาม

HSPA: ข้อดีทางด้านการลงทุน

ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี HSPA และโมบาย WiMAX นั้นใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นความเร็วในการรับส่งข้อมูล ประสิทธิภาพของสเปคตรัมและความซับซ้อนของโครงข่าย อย่างไรก็ตาม โมบาย WiMAX ต้องใช้สถานีฐานจำนวนมากกว่าในการให้บริการที่มีพื้นที่ครอบคลุมเท่ากับ HSPA นี่เป็นข้อสรุปสำคัญเมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายในการลงทุนของผู้ให้บริการแล้ว HSPA จะใช้เงินลงทุนที่น้อยกว่า

HSPA เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ให้บริการ

มร. โฮคาน อีริคสัน CTO และหัวหน้ากลุ่มเทคโนโลยีของอีริคสัน กล่าวสรุป มุมมองทางด้านตลาดของ 3G/GSM ว่า HSPA เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของโมบายบรอดแบนด์สำหรับผู้ให้บริการ

"HSPA ได้เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ปลายปี 2005 และก้าวขึ้นเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีตั้งแต่สองปีที่ผ่านมา" อีริคสันกล่าว "การก้าวขึ้นเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีครั้งนี้มีความหมายมาก นั่นคือ เราได้ทั้งจำนวนยอดขายซึ่งมีผลอย่างมากในการเป็นผู้นำ และ HSPA ยังเป็นพัฒนาการที่ต่อเนื่องของ GSM อีกด้วย”

"บริษัทอีริสันได้คาดการณ์เช่นเดียวกับนักวิเคราะห์คนอื่นๆ ว่าภายในปี 2011 HSPA ซึ่งเป็นการอัพเกรดซอฟต์แวร์ของมาตรฐาน GSM/WCDMA จะมีผู้ใช้มากกว่า 700 ล้านราย ส่วน WiMAX จะมีผู้ใช้น้อยกว่า 30 ล้านราย ซึ่งระดับความแตกต่างนี้มีผลอย่างมาก เพราะหมายถึงว่า HSPA จะมีส่วนแบ่งทางการตลาดในเทคโนยี 3G ถึง 95 เปอร์เซ็นต์”

ยังมีพื้นฐานความแตกต่างระหว่างสองเทคโนโลยีนี้ที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ให้บริการ นั่นคือ 3G/HSPA ใช้เทคนิค FDD (Frequency-Division Duplex) สำหรับการอัพลิงก์และดาวน์ลิงก์ ขณะที่ WiMAX ใช้ TDD (Time-Division Duplex)

มร.อีริคสัน กล่าวว่า "ปัจจุบันนี้ มากกว่า90 เปอร์เซ็นต์ของแถบคลื่นความถี่ทั่วโลก ที่ถูกจัดสรรสำหรับบริการโทรคมนาคมแบบไร้สาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีในตระกูล IMT เช่น GSM/GPRS/EDGE/WCDMA และ HPA เป็นต้นนั้นใช้เทคนิค FDD ซึ่งมีการกำหนดช่วงแถบคลื่นความถี่สำหรับการอัพลิงก์และดาวน์ลิงก์ อย่างชัดเจน ด้วยเหตุผลนี้เองผู้ผลิตอุปกรณ์ภายใต้กรอบเทคนิค TDD ซึ่งเป็นการรวมการทำอัพลิงก์และดาวน์ลิงก์ในแถบคลื่นความถี่เดียวกัน จึงพยายามผลักดันเพื่อเปลี่ยนเทคนิคการจัดสรรคลื่นความถี่จาก FDD มาใช้ TDD โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แถบความถี่ของ IMT 2000 ช่วงความถี่ 2.5-2.69GHz หน่วยงานที่กำกับดูแล (regulator) จึงต้องคำนึงถึงการจัดสรรคลื่นความถี่ให้สอดคล้องกับนานาประเทศ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากแถบความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะแถบคลื่นความถี่ที่ได้มีการจัดสรรสำหรับเทคโนโลยีในตระกูล IMT

อีกประการหนึ่งที่ผู้ผลิตได้มีการอ้างว่า WiMAX ได้มีการติดตั้งในคอมพิวเตอร์Notebook แล้ว แต่ในปัจจุบันยังไม่ได้มีการขายในเชิงพาณิชย์เลย แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อคอมพิวเตอร์Notebook ที่มีการติดตั้งเทคโลยี WCDMAและHSPAจากผู้ผลิตเกือบทุกรายได้แล้ว

มร.อีริคสัน ยังชี้แจงเพิ่มเติมว่าเทคโนโลยี WiMAX ไม่ใช่ เทคโนโลยีในกลุ่มของ WiFi ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย แต่ WiMAX เป็นเทคโนโลยีที่ในการเชื่อมต่อและส่งข้อมูลไร้สายเหมือน เทคโนโลยี EDGE/WCDMA และ HSPA

ข้อสรุป

สำหรับผู้ให้บริการ การตัดสินเลือกเทคโนโลยีในวันนี้จะมีผลในระยะยาวต่อไปอีกหลายปี เทคโนโลยี 3GSM เป็นทางเลือกที่ได้รับการพิสูจน์ว่าดีต่ออนาคตอย่างแน่นอน ตั้งแต่จากการเริ่มลงทุนเป็นครั้งแรก การประหยัดจากการขยายการผลิต (economies of scale) และความสามารถในการขยายโซลูชั่นได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น HSPA จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการให้บริการโมบายบรอดแบนด์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ:

คุณวรพรรณ เอื้ออาภรณ์ (โก้)

ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ฟ้า เอเจนซี่ จำกัด

โทร. 0 2616 0991-2 มือถือ 08 9144 4014 อีเมล์ : [email protected]

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit