กรุงเทพฯ--1 เม.ย.--แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์
โครงการแฟนต้ายุวทูตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 รูปโฉมใหม่ ได้ฤกษ์สั่นระฆังรอบ 2 ไปแล้ว โดยเยาวชนระดับชั้น ม. 1 จาก 114 โรงเรียนทั่วประเทศ ในแต่ละภาค จะต้องมาร่วมกันทำกิจกรรมเข้าค่ายเรียนรู้สิ่งแวดล้อม 3 วัน 2 คืน เพื่อเติมเต็มประสบการณ์ เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน การเสียสละ การช่วยเหลือแบ่งปัน และยังได้เสริมสร้างมิตรภาพใหม่ที่ดีแก่กัน โดยมีผู้คิดค้นโครงการสร้างสรรค์นี้อย่าง บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเป็นแม่งาน และมีสำนักงานส่งเสริม สวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท.) เป็นผู้ให้การสนับสนุน
เนื่องจากปีนี้เป็นปีแรก ที่คณะกรรมการตัดสิน ได้ปรับรูปแบบการประกวดจากเด็กเป็นเยาวชน ที่รักวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม โดยให้มีการนำเสนอโครงการภายใต้แนวคิด “รักษ์โลก รักถิ่นกำเนิด” เยาวชนจากแต่ละโรงเรียนทั้ง 3 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน จะต้องนำเสนอโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายใต้เกณฑ์การคัดเลือกสำคัญ 3 ข้อ คือ 1. ความคิดสร้างสรรค์ 2. ความเป็นรูปธรรม ทำได้จริง และ 3. ความเหมาะสมกับท้องถิ่นและสังคม ประกอบกับบุคลิกภาพ การมีมนุษยสัมพันธ์ และรู้จักการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นสิ่งสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะที่ดีของ “ยุวทูตแฟนต้า” ประจำปีนี้ ซึ่งเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นกลุ่มแรกที่เพิ่งผ่านการเข้าค่ายทรหด แต่เต็มไปด้วยความสุขและเสียงหัวเราะ และมิตรภาพที่ดีของเพื่อนใหม่ พร้อมโชว์ความสามารถทางด้านความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนาสิ่งแวดล้อมในรูปแบบที่แตกต่างกัน
น้องฐิติทรัพย์ ศรีวโล น้องพิชชานันท์ พิศาลวรวัฒน์ และน้องพิชญาภา ภู่ทอง สามสาวแห่งโรงเรียนสตรีเลื่องชื่อเก่าแก่ “เขมะสิริอนุสรณ์” ที่ร่วมกันคิดค้นโครงการทดลอง “บำบัดน้ำเสียด้วยนมผักกะเฉด” ที่มีความน่าทึ่งตรง ความเป็นคนช่างสังเกตุของน้องฐิติทรัพย์ ที่เห็นหลังบ้านมีบ่อน้ำเน่าเสีย และมีผักกะเฉดที่คนทิ้งลอยน้ำอยู่ จึงนำตรงส่วนนมผักกะเฉด หรือส่วนที่เป็นสีขาวลักษณะนิ่มๆ มาบีบดู พบว่ามีคราบน้ำมัน สารปนเปื้อนสกปรกมากมาย จึงเป็นที่มาของการนำมาทดลองเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการบำบัดน้ำเสียในคลองหลังโรงเรียน โดยจะเริ่มรณรงค์ผ่านไมโครโฟน และบอร์ดประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน ให้เพื่อนๆ และรุ่นพี่ได้เห็นความสำคัญของการรักษาทรัพยากรน้ำ โดยเริ่มจากการนำไปปรับใช้ที่บ้าน และขยายผลโดยการบอกต่อกันปากต่อปาก” ส่วน 3 หนุ่ม 3 มุม แห่งโรงเรียน ทวีวัฒนา ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากกังหันลมชัยพัฒนา นำมาประยุกต์เป็น โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ โดยทดลองกับคลองปทุม ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าโรงเรียน น้องคธาเทพ ศรีสุวรรณ น้องณัฐวุฒิ คันธนาสินชัย และน้องอนุสรณ์ ถนอมนา จึงช่วยกันนำจักรยานของตนที่พังแล้ว มาซ่อมแซมโดยการติดตั้งแทนกังหันลมน้ำ โดยน้องกลุ่มนี้ลองใช้แรงปั่นจักรยานที่ถูกติดตั้งอยู่ในน้ำดูจึงพบว่า สามารถเพิ่มออกซิเจนในน้ำได้ และยังลดปัญหาการเน่าเสียของน้ำ และการรู้จักรีไซเคิ้ลจักรยานที่ไม่ใช้แล้ว มาเป็นอุปกรณ์ที่เกิดประโยชน์กับส่วนรวม แถมได้ออกกำลังกายโดยการใช้
แรงปั่นจักรยานอีกด้วย ซึ่งน้องๆ กลุ่มนี้กำลังริเริ่มที่จะขยายจำนวนจักรยานให้ครอบคลุมพื้นที่คลองปทุมให้มากขึ้น และประกาศรับอาสาสมัครในชุมชนใกล้เคียงเป็นผู้ดูแลรักษาและมาร่วมกันออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานในน้ำเพื่อการอนุรักษ์กัน
ด้านสาวๆ สมาชิกชมรมดนตรีไทย จากโรงเรียนศึกษานารี ที่มีความสามารถในการเล่น จะเข้ ฆ้องวงใหญ่ กลองแขก และซออู้ ได้อย่างไพเราะ ได้นำพรสวรรค์ส่วนตัวมาประยุกต์เป็นโครงการดนตรีไทยสายน้ำ เพื่อรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้กับเพื่อนๆ ในโรงเรียน และชาวบ้านในชุมชนโดยรอบ ในด้านการตระหนักถึงผลเสียของปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำลำคลอง ทำให้เกิดปัญหากับระบบนิเวศน์ตามมา โดยน้องวริยา เหลืองอร่าม น้องอัญมณี โตวิทิตวงศ์ น้องณิชนารถ นันทศรีรัตน์ ได้ช่วยกันประพันธ์ลำนำ บทกวี ที่สื่อให้เห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่ใส่ใจในปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งปัญหาโลกร้อน และมลพิษต่างๆ โดยคณะนักดนตรีกลุ่มนี้ เตรียมฝึกซ้อมการแสดงและเปิดให้เพื่อนนักเรียน รุ่นพี่ และชาวบ้านในชุมชนได้ชมกันหลังเปิดเทอมใหม่ เพื่อก่อให้เกิดจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และหวงแหนศิลปวัฒนธรรมอันมีค่าของการเล่นดนตรีไทยที่นับวันจะห่างหายไป ส่วนอีกโครงการที่มีความคิดแบบนักการตลาด (รุ่นเยาว์) มืออาชีพ คือ โครงการพัฒนาอาชีพท้องถิ่นไทย ของน้องสุรวิศ ใช้สถิตย์ น้องปาณัสม์ โชติสุต และน้องวาริน เตชะวิเชียร หนุ่มๆ จากรั้วเซนต์คาเบรียล ที่มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ศักยภาพของสินค้าในชุมชนต่างๆ ของไทย ยังถูกจำกัดให้ขายเฉพาะในชุมชน ขาดโอกาสในการนำเสนอสินค้า ให้สังคมภายนอกได้รู้จัก จึงริเริ่มที่จะทดลองศึกษาพฤติกรรมการประกอบอาชีพของชุมชนหมู่บ้านญวนใกล้โรงเรียนก่อนเป็นอันดับแรก โดยศึกษาความเป็นไปได้ในการนำอาชีพที่คนในชุมชนถนัด มาพัฒนาให้คนภายนอกรู้จัก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดรายได้เสริมเพิ่มขึ้น เช่น การนำขนมเบื้องญวนที่มีความอร่อย มาเปิดตลาดในโรงเรียนหรือชุมชนภายนอก นำผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบอาชีพไปพัฒนาความรู้ทักษะให้กับชาวบ้าน ทำให้มีความรู้และวิธีในการประกอบอาชีพให้สร้างรายได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการต่อยอดเผยแพร่โครงการไปในชุมชนชนบททั่วประเทศ นอกจากนี้หนุ่มๆ ทั้งสามยังจะเผยแพร่ข่าวสารนี้และขอความช่วยเหลือด้านการส่งเสริมการตลาด และงบประมาณผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ของโรงเรียนที่มีผู้อ่านทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันมากมาย เพื่อช่วยผลักดันให้โครงการนี้สำเร็จเป็นรูปธรรมได้
สำหรับโครงการที่อินเทรนด์และเกาะกระแสความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ซึ่งน้องชวิกา ศุภนิมิตตระกูล น้องสรัลพร วิชญชาติ และน้องพิชญา มณีทัพ การันตีว่าเริ่มสตาร์ทโครงการกันไปแล้วด้วย นั่นคือ โครงการขยะทั่วทิศ มลพิษทั่วโลก ของน้องๆ โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ซึ่งใช้สื่อใกล้ตัวเยาวชนกลุ่มเป้าหมายนั่นคือ แต่งการ์ตูนนิยายและเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ โดยสอดแทรกเรื่องราวของขยะอันตราย และวิธีการช่วยกันลดปริมาณขยะลงในการ์ตูนนิยายที่กลุ่มวัยรุ่นสนใจอยู่แล้ว ซึ่งมีผู้สนใจโหลดอ่านการ์ตูนของน้องๆ กันหลายคนแล้ว น้องจากนี้ยังได้ชักชวนโรงเรียนในเครือข่าย โรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง มาช่วยกันทำโครงการนี้ให้สำเร็จเป็นรูปธรรมอีกด้วย ด้านโรงรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร โดยน้องคุณานนท์ ดวงหิรัญทวีพร น้องวัสพล วุฒิประเสริฐ และน้องวันชัย เฉยขุนทด สมาชิกโครงการยุวมัคคุเทศก์ ที่มีแนวคิดไม่ซ้ำใคร โดยนำโบราณสถานสำคัญของชาติใกล้ตัว นั่นคือ วัดเบญจมบพิตร เป็นสถานที่ฝึกฝนการทำหน้าที่มัคคุเทศก์ระดับประเทศ ให้ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติได้รู้จักและซึมซับความงดงามของสมบัติชาติได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีรุ่นพี่ม.ปลาย เป็นติวเตอร์เพราะผ่านการทำหน้าที่มาก่อนแล้ว และเมื่อน้องๆ กลุ่มนี้ได้เข้ามาสัมผัสจริง จึงรับรู้และตระหนักถึงคุณค่าของการเป็นคนไทย ที่จะช่วยกันอนุรักษ์โบราณสถานของชาติให้ยืนยาวสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน
ตัวอย่างโครงการรักษ์โลก รักถิ่นกำเนิด ที่น้องๆ เยาวชนในเขตกรุงเทพฯ ได้เล่าสู่กันฟังนั้น บางส่วนได้มีการนำไปปฏิบัติจริงในโรงเรียนและชุมชนกันไปแล้ว ซึ่งผลงานความคิดสร้างสรรค์บางโครงการ น่าทึ่งเป็นอย่างมาก แม้ผู้ใหญ่หลายคนยังมองข้ามความสำคัญนั้นไปได้ เหล่าน้องๆ แฟนต้ายุวทูตแห่งประเทศไทย ที่จะผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายต่อไป จึงเป็นน้องๆ ที่ได้รับการเลือกเฟ้นแล้วว่า สามารถนำกิจกรรมสร้างสรรค์ไปปฏิบัติเป็นรูปธรรม และพิสูจน์ได้ว่าก่อประโยชน์ให้แก่สังคมส่วนรวมไม่มากก็น้อย แต่แม้ไม่ได้รางวัลใดๆ น้องๆ หลายโรงเรียนก็รับปากว่า จะทำโครงการดีๆ นี้ต่อไป เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองและเพื่อช่วยเหลือสังคมอีกทางหนึ่งด้วย
หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
บริษัท แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์ จำกัด โทร. 0-2434-8300, 0-2434-8547
คุณสุจินดา, คุณแสงนภา, คุณอนุศักดิ์
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit