รายงานชิ้นล่าสุดของ มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) ชี้การสูบบุหรี่-ดื่มเหล้าและน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ทำให้เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน

19 Oct 2007

นียง--19 ต.ค.--พีอาร์นิวไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์


ราว 80 ประเทศทั่วโลกร่วมกันจัดงานวันโรคกระดูกพรุนโลก

รายงานชิ้นใหม่ที่จัดทำโดยมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) เนื่องในวันโรคกระดูกพรุนโลก (WOD) พบว่า หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ดื่มแอลกอฮอล์มากกกว่า 20 มิลลิลิตรต่อวัน มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ และไม่ออกกำลังกายหรือรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคกระดูกพรุนในช่วงบั้นปลายของชีวิต

(http://www.iofbonehealth.org/newsroom/media-releases/detail.html?mediaReleaseID=48)

รายงานฉบับนี้ซึ่งใช้ชื่อว่า Beat the Break: Know and Reduce Your Osteoporosis Risk Factors (เอาชนะภาวะกระดูกแตก: รู้จักและลดปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน) (http://www.iofbonehealth.org/publications/beat-the-break.html) บรรยายถึงปัจจัยเสี่ยงโดยทั่วไป ทั้งปัจจัยที่สามารถแก้ไขปรับเปลี่ยนได้และปัจจัยตายตัวที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งส่งผลให้คนเราเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้น

แดเนียล นาวิด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร IOF ระบุว่า "คาดว่าภายในพ.ศ. 2593 นี้ อาการกระดูกสะโพกเปราะแตก ซึ่งเป็นผลพวงที่สำคัญจากการเป็นโรคกระดูกพรุนจะเพิ่มขึ้น 310% ในผู้ชาย และ 240% ในผู้หญิง การเปราะแตกของกระดูกที่เกี่ยวข้องกับโรคกระดูกพรุนมักจะทำให้เกิดความเจ็บปวด ไม่สามารถเคลื่อนไหวทำงานได้ และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต"

ขณะที่ศาสตราจารย์ ไซรัส คูเปอร์ ผู้เขียนรายงาน "Beat the Break" และดำรงตำแหน่งคณะกรรมการของ IOF กล่าวว่า "โรคกระดูกพรุนทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก โดย 1 ใน 3 ของผู้หญิงและ 1 ใน 5 ของผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไปต่างเผชิญกับอาการโรคกระดูกพรุน"

นอกจากนี้ Beat the Break ยังเป็นหัวข้อการสัมนาของวันโรคกระดูกพรุนโลกปีพ.ศ. 2550 อีกด้วย ซึ่งกว่า 80 ประเทศจะจัดงานระดับนานาชาติขึ้นในวันที่ 20 ตุลาคม เพื่อร่วมกันเอาชนะภาวะกระดูกแตก และหลีกเลี่ยงอาการกระดูกแตกเปราะ ทั้งนี้ IOF เรียกร้องให้ทุกคนเข้าร่วมการทดสอบความเสี่ยงการเป็นโรคกระดูกพรุน 1 นาทีของ IOF และใช้ชีวิตในวิถีที่เป็นมิตรต่อกระดูก ได้แก่ การรับประทานสารอาหาร ได้แก่ แคลเซียมและวิตามินดีอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

ในเบื้องต้นนั้น ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขหรือลดความรุนแรงได้ เกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารหรือไลฟ์สไตล์ที่บั่นทอนสุขภาพ รวมทั้งโภชนาการต่ำ น้ำหนักต่ำกว่าค่าเฉลี่ยดัชนี bmi การรับประทานอาหารที่ผิดปกติ ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และออกกำลังกายไม่เพียงพอ

สำหรับปัจจัยเสี่ยงตายตัว หมายถึงปัจจัยที่มาพร้อมกับคนเราตั้งแต่เกิด หรือไม่มีทางเลือก ซึ่งรวมถึงอายุ เพศ บุคคลในครอบครัวมีประวัติกระดูกเปราะ ประวัติการแตกเปราะของกระดูกในอดีต เชื้อชาติ และผู้หญิงที่ประจำเดือนหมดเร็วกว่าปกติ ซึ่งควรมีการตระหนักและให้ความสำคัญต่อปัจจัยเสี่ยงที่ตายตัวเหล่านี้เพื่อดำเนินมาตรการต่างๆเพื่อลดการสูญเสียแร่ธาตุในกระดูก

วันโรคกระดูกพรุนโลกปี 2550 ได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ชั้นนำระดับโลก (Global Gold Sponsors) 4 องค์กร ได้แก่ ฟอนเทอร์ร่า แบรนด์ส (Fonterra Brands), โนวาร์ติส (Novartis), เอ็มเอสดี (MSD) และเตตร้า แพค (Tetra Pak) เพื่อให้การศึกษาอย่างไร้ขีดจำกัด


แหล่งข่าว: มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF)


ติดต่อ: เจนิซ บลอนโด มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ

โทรศัพท์: +41 22 994 0100

โทรสาร: +41 22 994 0101

อีเมล์: [email protected]

เว็บไซต์: http://www.iofbonehealth.org/patients-public/risk-test.html

http://www.iofbonehealth.org/publications/beat-the-break.html


--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--