กรุงเทพฯ--8 มิ.ย.--สวนเงินมีมา
โครงการเผยแผ่ความรู้ความเข้าใจเพื่อส่งเสริมระบบการตลาดสีเขียวในรูปแบบ CSA
การอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 (Work Shop 1st)
ในหัวข้อ
“วิเคราะห์ต้นทุนตลาดสีเขียว : ราคาที่สะท้อนความจริงทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม”
วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2550 เวลา 9.00-16.00 น.
ณ จี เอ็ม ฮอลล์ อาคารศศนิเวศน์ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลักการและเหตุผล
“เกษตรอินทรีย์” ไม่ก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ทั้งยังช่วยให้ระบบนิเวศปรับเข้าสู่สมดุล เพราะไม่ใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต จึงเป็นระบบการเกษตรที่เป็นมิตรทั้งต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ขณะที่สินค้าและการตลาดสำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์ก็มิได้ขึ้นอยู่กับ “กำไร-ขาดทุน” หากแต่ต้องคำนึงถึง “การสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม” เป็นสำคัญ อันหมายถึงการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างคนกับธรรมชาติ การตลาดในรูปแบบดังกล่าว เรียกกันทั่วไปว่า การตลาดสีเขียว
อย่างไรก็ตาม ภายใต้ระบบการตลาดสีเขียว เกษตรกรผู้ผลิตรวมถึงผู้ทำการตลาด ย่อมจะต้องมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการดูแลมิให้ผลิตผลและกระบวนการทำตลาดสร้างความอยุติธรรมและก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อันเป็นที่มาให้สินค้าเกษตรอินทรีย์มักมีราคาสูงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไป นำมาซึ่งการปฏิเสธสินค้า เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงใช้ “ราคาถูก” มาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อ มากกว่าจะคำนึงถึง “ความจริงด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม” ที่อยู่เบื้องหลังราคาสินค้า
เนื่องเพราะการตลาดสีเขียวจะเกิดขึ้นและเติบโตต่อไปได้ก็ด้วยการมีกลุ่มผู้บริโภคที่มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสำคัญ การเปลี่ยนพฤติกรรมของตลาดและผู้บริโภคจาก “I Buy” (low price) มาเป็น “We Care” (healthy & environment) จึงเป็นสิ่งที่ผู้อยู่ในระบบตลาดสีเขียวต้องเร่งสร้างให้เกิดขึ้น หนึ่งในวิธีสร้างความตระหนักรู้ดังกล่าวคือ การวิเคราะห์และแจกแจงต้นทุนในระบบการตลาดสีเขียว เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้บริโภคและนักการตลาดยุคใหม่ เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้เข้ามาเป็นแนวร่วมผลักดันและส่งเสริมให้ระบบตลาดสีเขียวก้าวหน้าต่อไปได้ อันจะเป็นหนทางนำไปสู่ความยั่งยืนของระบบตลาดสีเขียวและการสร้างสังคมที่มีความปลอดภัยด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางตลาดสีเขียวได้มากที่สุด การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการวิเคราะห์ต้นทุนตลาดสีเขียว จึงมีความจำเป็นโดยเฉพาะในยุคที่โลกกำลังได้รับความเดือดร้อนจากการตลาดและการบริโภคกระแสหลัก
วัตถุประสงค์ของงาน
1. เพื่อหากรอบในการคำนวณต้นทุนสินค้าและการทำตลาดที่ถูกต้อง ที่จะต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมด้วย
2. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับต้นทุนสินค้าเกษตรอินทรีย์และระบบตลาดสีเขียวให้กับผู้บริโภคนักธุรกิจ และนักการตลาดยุคใหม่
3. เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านั้นคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เข้ามาเป็นแนวร่วมผลักดันและส่งเสริมให้ระบบตลาดสีเขียวก้าวหน้าต่อไปได้
4. เพื่อสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขยายแนวคิดการตลาดสีเขียวสู่สาธารณะ
5. เพื่อนำไปสู่การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 ซึ่งจะเกิดข้อเสนอในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม และผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาในระดับนโยบายชาติ
รูปแบบของงาน
วัน-เวลา-สถานที่ : วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2550 เวลา 9.00-16.00 น.
ณ จี เอ็ม ฮอลล์ อาคารศศนิเวศน์ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาฯ
เป้าหมายของงาน : ทำให้ผู้ร่วมงานมองเห็นราคาสินค้าที่สะท้อนความจริงในการดูแลสิ่งแวดล้อม
: ความเข้าใจที่ถูกต้องของ Consumer และ Producer ต่อเกษตรอินทรีย์
: การค้นหาปัญหาของ Consumer และ Producer ในการทำเกษตรอินทรีย์
: แนวทางการแก้ไขปัญหา และประเด็นสานต่อ
กลุ่มเป้าหมาย: กลุ่มเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้บริโภค นักธุรกิจและนักการตลาดด้าน
การเกษตร
: กลุ่มวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (นักกฎหมาย , นักวิชาการเกษตร ,นักสิ่งแวดล้อม ฯลฯ)
: บุคคลที่สนใจทั่วไป
งานต่อเนื่อง
: จัด workshop ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “การผลักดันระบบตลาดสีเขียวเข้าสู่นโยบายชาติ”
ผู้รับผิดชอบงาน
: โครงการส่งเสริมระบบการตลาดสีเขียวในรูปแบบ CSA
บริษัทสวนเงินมีมา 113-115 ถ.เฟื่องนคร ตรงข้ามวัดราชบพิธ พระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทร. 02-2225698 , 02-6220955 โทรสาร. 02-6223228 e-mail : [email protected]
: นับแต่เดือนกรกฎาคม 2550 ผู้สนใจกิจกรรมและโครงการต่างๆ ของ โครงการส่งเสริมระบบ
การตลาดสีเขียวใน รูปแบบ CSA ได้ที่ www.csa-greenconsumers.com
กำหนดการ
8.30 – 8.45
ลงทะเบียน
8.45 – 9.00
ดร.กิตติรัตน์ ณ ระนอง กล่าวเปิดงาน
(รอง ผอ.ฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
คุณวัลลภา แวนวิลเลี่ยนวาร์ด กล่าวแนะนำโครงการและนำเข้าสู่งาน
(หัวหน้าโครงการส่งเสริมระบบการตลาดสีเขียวในรูปแบบ CSA)
9.00 – 10.20
“เรื่องเล่าจากภาครัฐและนักวิชาการ : ต้นทุนสินค้าในระบบตลาดสีเขียว”
คุณรัชนี สนกนก (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คุณเจริญวิทย์ เสน่หา (กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์)
รศ.ดร.สุจินต์ สิมารักษ์ (คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
ดร.แกมทอง อินทรัตน์ (คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ผู้ดำเนินรายการ : คุณวัลลภ พิชญ์พงศา * ผู้บริหารบริษัทท็อปออร์กานิกโปรดักส์
แอนด์ซัพพลายส์ จำกัด
10.20 - 10.40
พัก รับประทานของว่าง
10.40 – 12.00
“เรื่องเล่าจากเกษตรกรและผู้ประกอบการ : ทำไมราคาต้องสะท้อนถึงสิ่งแวดล้อม”
คุณณรงค์ชัย ปาระโกน ประธานกลุ่มสหกรณ์การเกษตรเชียงใหม่
(ตัวแทนเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์)
คุณจันทิมา ปิยวัชระณรงค์ * ผู้บริหารบริษัท Healthy Mate
(ตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรอินทรีย์)
คุณสุวรรณา หลั่งน้ำสังข์ * ผู้บริหารเลมอนฟาร์ม (ตัวแทนร้านค้า Green Shop)
คุณกำราบ พานทอง (ผู้ประกอบการตลาดนัดสีเขียว)
คุณระวีวรรณ ศรีทอง (ตัวแทนระบบสมาชิกผักอินทรีย์ – CSA)
ผู้ดำเนินรายการ : คุณพยงค์ ศรีทอง ผู้ก่อตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ด่านช้าง
12.00 – 13.00
รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00
ปฏิบัติการกลุ่มย่อย ค้นหาองค์ประกอบการคำนวณต้นทุนตลาดสีเขียว
ห้อง 1 : กลุ่มเกษตรกร ร้านค้า ผู้ประกอบการ
ผู้ดำเนินรายการ: คุณสุนทร ศรีกวี* บริษัทริเวอร์แควอินเตอร์เนชั่นแนล อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด
ห้อง 2 : กลุ่มภาครัฐและนักวิชาการ
ผู้ดำเนินรายการ: คุณวัลลภา แวนวิลเลี่ยนวาร์ด
15.00 – 15.20
พัก รับประทานของว่าง
15.20 – 16.00
สรุปและนำเสนอผลปฏิบัติการกลุ่มย่อย
16.00
จบงาน
หมายเหตุ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit