ดาห์กา, บังคลาเทศ--28 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
- ผลการศึกษาใหม่แสดงให้เห็นว่า วัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือฮิบช่วยปกป้องเด็กๆจากโรคปอดบวมและเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่มีอันตรายถึงชีวิต
- การศึกษาแสดงให้เห็นว่าวัคซีนฮิบสามารถป้องกันการเสียชีวิตจากอาการปอดบวมได้ 1 ใน 3 ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กในเอเชียเสียชีวิต
- ประเทศต่างๆในเอเชียกำลังวางแผนที่จะนำวัคซีนฮิบมาใช้ ในขณะที่อีกหลายประเทศกำลังพิจารณาว่าจะนำมาใช้หรือไม่
ผลการศึกษาใหม่จากบังคลาเทศซึ่งได้รับการตีพิมพ์แบบออนไลน์ในวารสารโรคติดเชื้อในเด็ก (The Pediatric Infectious Disease Journal) แสดงให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อฮิบ (H. influenzae type b หรือ Hib) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคปอดบวมและไข้สมองอักเสบ สามารถช่วยชีวิตเด็กๆในเอเชียได้หลายล้านคน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อฮิบให้กับทารกอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากอาการปอดบวมได้ 1 ใน 3 และป้องกันการเสียชีวิตจากไข้สมองอักเสบได้ถึง 90% โดยมีการคาดการณ์ว่าการใช้ยาดังกล่าวจะทำให้เกิดผลลัพธ์เช่นเดียวกันในประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชีย
แม้หลายประเทศในเอเชียซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตในเด็กสูงจะทราบมานานแล้วว่าโรคปอดบวมและไข้สมองอักเสบเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องได้รับการแก้ไข แต่พวกเขาก็ยังไม่ยอมรับว่าเชื้อฮิบคือสาเหตุหลักของปัญหา ผลจากการศึกษาวัคซีนในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการแพร่หลายของโรคปอดบวมและไข้สมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อฮิบเช่นเดียวกับผลที่เคยได้จากการศึกษาอื่นๆในประเทศชิลีและอินโดนีเซีย ว่า จำนวนเด็กที่ต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวมและไข้สมองอักเสบจริงๆมีจำนวนมากกว่าการสำรวจทั่วไปในเบื้องต้น
"ปัจจุบันยังมีการโต้เถียงกันเรื่องการแพร่กระจายของโรคปอดบวมและไข้สมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อฮิบในเอเชีย แต่ผลจากการศึกษาของเรามีหลักฐานโต้แย้งความคิดดั้งเดิมที่ว่าโรคนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยครั้งนักในเอเชีย" รศ.ดร.อับดุลลาห์ บากี จากวิทยาลัยสาธารณะสุขจอห์น ฮอปกินส์ บลูมเบิร์ก รัฐบัลติมอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกากล่าว "ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อฮิบอย่างสม่ำเสมอมีประสิทธิภาพอย่างมากในการช่วยลดการเสียชีวิตจากโรคปอดบวมและไข้สมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อฮิบ นอกจากนั้นยังช่วยปกป้องชีวิตเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบในเอเชียจำนวนมากไม่ให้เสียชีวิต"
"บังคลาเทศเล็งเห็นว่าวัคซีนป้องกันเชื้อฮิบเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของเด็กๆในบังคลาเทศ" ดร.อับดุล ควอเดอร์ เมียน รองผู้อำนวยการสถาบัน EPI and Programme Manager Child Health & LCC ของกระทรวงสาธารณะสุขบังคลาเทศกล่าว การศึกษาครั้งนี้เป็นหลักฐานยืนยันผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการใช้วัคซีนป้องกันเชื้อฮิบในบังคลาเทศขององค์การอนามัยโลก(WHO)ที่จัดทำขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2549
แม้จะมีหลักฐานเป็นชิ้นเป็นอันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่มีเด็กเพียง 26% จากทั้งหมดในโลกที่ได้รับการฉีดวัคซีนฮิบ ซึ่งหมายความว่ายังมีเด็กอีกหลายล้านคนในเอเชียที่ไม่ได้รับวัคซีนพื้นฐานที่สามารถช่วยชีวิตพวกเขาได้ อย่างไรก็ตาม ในบังคลาเทศ ปากีสถาน อัฟกานิสถาน ศรีลังกา และภูฏาน มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าประเทศเหล่านี้ได้ตัดสินใจที่จะใช้วัคซีนป้องกันเชื้อฮิบรวมถึงรับการช่วยเหลือจากองค์กร GAVI Alliance
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าทุกประเทศควรนำวัคซีนป้องกันเชื้อฮิบไปใช้ในโครงการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก มีการคาดการณ์ว่าเชื้อฮิบเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบกว่า 400,000 คนทั่วโลกเสียชีวิตในแต่ละปี และทำให้เด็กอีกกว่า 3 ล้านคนเจ็บป่วยอย่างรุนแรงจนส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว เช่น หูหนวก มีปัญหาในการเรียนรู้ อัมพาต และปัญญาอ่อน
"วัคซีนพื้นฐานในการรักษาชีวิตตัวนี้สามารถช่วยป้องกันโรคปอดบวมและไข้สมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อฮิบในเด็ก ซึ่งมักถูกเรียกว่า 'สาเหตุที่มองไม่เห็นของโรคร้ายที่ถูกลืมที่คร่าชิวิตเด็ก' ในเอเชีย" ดร.เคนท์ อาร์ ฮิลล์ ผู้ช่วยผู้บริหารของ Global Health กล่าว "โครงการฉีดวัคซีนซึ่งรวมถึงวัคซีนป้องกันเชื้อฮิบ เป็นยุทธวิธีสำคัญขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (ASAID) ในการป้องกันการติดเชื้อในเด็กซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ชีวิต ข้อมูลเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า วัคซีนป้องกันเชื้อฮิบมีความสำคัญและควรนำไปใช้ในโครงการฉีดวัคซีนให้เด็กทั่วเอเชีย นอกจากนั้นจากการศึกษาเพิ่มเติมยังระบุว่า ผู้ผลิตที่มีคุณภาพจากประเทศกำลังพัฒนากำลังจะเข้าสู่ตลาดในอีกไม่นาน และวัคซีนตัวนี้จะมีราคาลดลงในอนาคตอันใกล้ ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่ประเทศอื่นๆในเอเชียควรจะนำวัคซีนนี้ไปใช้ในโครงการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก ผมขอยกย่ององค์กร GAVI Alliance รวมถึงประเทศบังกลาเทศ ปากีสถาน อัฟกานิสถาน ศรีลังกา และภูฏาน ที่ดำเนินการอย่างรวดเร็วในการลดการเสียชีวิตจากเชื้อฮิบ"
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
ข้อเท็จจริงในการศึกษา
- การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบควบคุมกลุ่มตัวอย่าง (Case-control study) ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ จำนวน 68,000 คนในกรุงดาห์กา
- เด็กๆจะได้รับการสุ่มฉีดวัคซีนผสม DTP-ฮิบ หรือวัคซีน DTP เพียงอย่างเดียว
- เด็กที่เป็นกรณีศึกษาต้องได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคปอดบวมหรือไข้สมองอักเสบ และจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับเด็กกลุ่มควบคุมซึ่งมีคุณสมบัติเดียวกันแต่ไม่เป็นโรคดังกล่าว
- เด็กที่เป็นกรณีศึกษาต้องถูกควบคุมด้วยปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อายุ เพศ ฤดูกาล และระยะทาง นอกจากนั้นยังถูกควบคุมด้วยปัจจัยจากโรงพยาบาล 2 แห่ง
- การฉีดวัคซีนในเด็กที่เป็นกรณีศึกษาและเด็กกลุ่มควบคุมจะถูกนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อวัดประสิทธิภาพของวัคซีน
- การศึกษาในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้บังคลาเทศสามารถประเมินประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันเชื้อฮิบ ในการป้องกันแบคทีเรียที่ทำให้เกิดไข้สมองอักเสบและโรคปอดบวมที่สามารถยืนยันได้ด้วยการเอ็กซ์เรย์
- เด็กที่เป็นโรคปอดบวมต้องได้รับการยืนยันด้วยการเอ็กซ์เรย์ตามหลักปฏิบัติขององค์การอนามัยโลก ส่วนไข้สมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อฮิบและไข้สมองอักเสบที่อาจเกิดจากแบคทีเรียต้องได้รับการยืนยันด้วยการทดสอบจากห้องแล็บ
- สัดส่วนของโรคปอดบวมซึ่งได้รับการยืนยันด้วยเอ็กซ์เรย์ที่สามารถป้องกันได้ด้วยการใช้มาตรการควบคุมของชุมชนและโรงพยาบาล อยู่ที่ 34% และ 44% ตามลำดับ
- สัดส่วนของไข้สมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อฮิบซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการใช้มาตรการควบคุมของชุมชนและโรงพยาบาล อยู่ที่ 89% และ 93% ตามลำดับ
- แนวปฏิบัติดังกล่าวได้รับการพิจารณาและอนุมัติจาก ICDDR, B และคณะกรรมการเพื่อการวิจัยและจริยธรรมแห่งโรงพยาบาลดาห์กา ชิชู
- การศึกษาในครั้งนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากโครงการดูแลสุขภาพพื้นฐานคนเมือง (Urban Primary Health Care Project หรือ UPHCP) ของรัฐบาลบังคลาเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) และ สำนักงานโครงการวัคซีน (NVPO) ของสหรัฐฯ โดยได้รับการสนับสนุนด้านเทคนิคจากองค์การอนามัยโลก
เชื้อแบคทีเรียฮิบเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบในเด็ก และเป็นหนึ่งในสองสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคปอดบวมอย่างรุนแรงในเด็ก โรคปอดบวมและไข้สมองอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรียชนิดอื่น เช่น นิวโมค็อกคัส และ เมนิงโกค็อกคัส (ซึ่งทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเท่านั้น) ไม่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อฮิบ แต่จะมีการผลิตวัคซีนสำหรับโรคเหล่านี้ในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา โรคปอดบวมและไข้สมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อฮิบ หรือต้องการนัดสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องนี้ กรุณาติดต่อ:
ดร.เซอร์ไก ดิออร์ดิทซา
เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์
ฝ่ายพัฒนาภูมิคุ้มกันและวัควีน
องค์การอนามัยโลกประจำประเทศบังคลาเทศ
โทรศัพท์ +880-2-989-95-40
อีเมล์ [email protected]
ลัวส์ ไพรเวอร์-ดัมม์, MIBS
ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การสื่อสาร
องค์กรช่วยเหลือและปกป้องเด็กจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (The Hib Initiative)
โทรศัพท์มือถือ +1-484-354-8054
อีเมล์ [email protected]
เว็บไซต์ www.hibaction.org
รูธ แลนดี้
เจ้าหน้าที่อาวุโส ฝ่ายกิจกรรมและการสื่อสาร
GAVI Alliance
โทรศัพท์มือถือ +41-79-336-3031
อีเมล์ [email protected]
เว็บไซต์ www.gaviallance.org
จีออร์จิน่า พินนิงตัน
Ruder Finn Communications
โทรศัพท์ +44-20-7462-8932
อีเมล์ [email protected]
แหล่งข่าว องค์กรช่วยเหลือ และปกป้องเด็กจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์
ฝ่ายพัฒนาภูมิคุ้มกันและวัควีน
องค์การอนามัยโลกประจำประเทศบังคลาเทศ
โทรศัพท์ +880-2-989-95-40
อีเมล์ [email protected]
ลัวส์ ไพรเวอร์-ดัมม์, MIBS
ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การสื่อสาร
โทรศัพท์มือถือ +1-484-354-8054
อีเมล์ [email protected]
จากองค์กรช่วยเหลือและปกป้องเด็กจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (The Hib Initiative)
รูธ แลนดี้
เจ้าหน้าที่อาวุโส ฝ่ายกิจกรรมและการสื่อสาร
โทรศัพท์มือถือ +41-79-336-3031
อีเมล์ [email protected]
จาก GAVI Alliance หรือ
จีออร์จิน่า พินนิงตัน
โทรศัพท์ +44-20-7462-8932
อีเมล์ [email protected]
จาก Ruder Finn Communications
เว็บไซต์ www.hibaction.org
www.gaviallance.org
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit