ไชร์ ให้คำมั่นการเปิดตัวยายึดเกาะฟอสเฟตตัวใหม่ "FOSRENOL(R)" ในยุโรป จะช่วยแก้ไขอาการยึดติดในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายให้ดีขึ้นได้

25 Jun 2007

เบซิงสโตค--25 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์


- ผลการวิจัยใหม่นำเสนอความเข้าใจที่สำคัญต่อประเด็นการยึดติด


- ข้อมูลเปิดเผยให้เห็นถึงอุปสรรคในทางปฏิบัติและทัศนคติ รวมทั้งความจำเป็นสำหรับการใช้ยายึดเกาะฟอสเฟตด้วยการปรับยาให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น


บริษัท ไชร์ จำกัด (มหาชน) (LSE: SHP; Nasdaq: SHPGY; TSX: SHQ) ได้นำเสนอข้อมูลใหม่จากการสำรวจผู้ป่วย ณ งานประชุม XLIV ERA-EDTA Congress ในเมืองบาร์เซโลนา เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โดยพบว่า ผู้ป่วยโรค CKD มากกว่า 40% ลืมใช้ยายึดเกาะฟอสเฟต (1) ยายึดเกาะฟอสเฟตถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคเลือดที่มีฟอสเฟตมากเกินไป (hyperphosphataemia) (ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูงกว่าปกติ) ซึ่งหากการควบคุมล้มเหลวก็อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ ซึ่งรวมถึงอัตราการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจที่เพิ่มขึ้น และการเสียชีวิต รวมทั้งโรคแทรกซ้อนอื่นๆ (2)

ผลการวิจัยเปิดเผยว่า ผู้ป่วยกลุ่มยากจนที่ใช้ยายึดเกาะฟอสเฟตมีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น ความซับซ้อนของการใช้ยาและไม่เข้าใจวิธีการใช้ รวมทั้งปัญหาในด้านทัศนคติ เนื่องจากความเชื่อของผู้ป่วยเกี่ยวกับความจำเป็นในการใช้ยา และความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อเนื่อง (1)

ร็อบ ฮอร์น ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมการใช้ยาประจำวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน ได้รวบรวมการวิจัยซึ่งประเมินพฤติกรรมของผู้ป่วยจำนวน 221 รายที่ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ใน 8 ศูนย์ทั่วสหราชอาณาจักร

"โรคไตวายเรื้อรังมีผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิตของผู้ป่วย การศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า การยึดติดกับการใช้ยายึดเกาะฟอสเฟตมีผลกระทบที่เลวร้ายจากหลายปัจจัยทั้งในด้านการปฏิบัติและทัศนคติ" ศาสตราจารย์ฮอร์น กล่าว "ในทางปฏิบัติแล้ว การรักษาประจำวันต้องมีตารางการใช้ยาที่ซับซ้อนมากขึ้นไปกว่าแผนการรักษาที่ยากอยู่แล้ว ซึ่งรวมถึงกระบวนการฟอกไตที่ยาวนาน การจำกัดอาหารและของเหลว อีกทั้งตารางการรักษาด้วยยาที่ซับซ้อนนั้นอาจต้องใช้ยามากถึง 25 เม็ดต่อวัน ยายึดเกาะฟอสเฟตที่ใช้ในการรักษาโรคเลือดที่มีฟอสเฟตมากเกินไปเพียงอย่างเดียวก็อาจต้องใช้ยามากถึง 12 เม็ดต่อวัน"

"สำหรับปัญหาทางด้านทัศนคตินั้น เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเรื่องความเชื่อส่วนบุคคลที่มีต่อคุณค่าของยา เพื่อให้ผู้ป่วยรับรู้ว่ายามีความสำคัญ ผลการศึกษาของเราพบว่า ผู้ป่วยตั้งข้อสงสัยถึงความจำเป็นในการรักษา และความวิตกกังวลเกี่ยวกับการใช้ยายึดเกาะฟอสเฟต ขณะนี้เราจำเป็นต้องพัฒนาวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นที่จะช่วยผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากยา ด้วยการแนะนำเรื่องทางเลือกที่สะดวกขึ้นและแก้ไขเรื่องการยึดติด ซึ่งเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข้อมูลที่มีการจัดเตรียมไว้เป็นพิเศษ เพื่อสนองตอบความต้องการส่วนบุคคลและการคลายความวิตก รวมทั้งความพยายามในการเอาชนะปัญหาในทางปฏิบัติ ด้วยการวางแผนปรับปรุงสุขภาพที่ทั้งสะดวกและง่ายดายสำหรับการใช้งานให้มากเท่าที่จะเป็นไปได้" เขากล่าวเสริม

การวิจัยชิ้นนี้ใช้แบบสอบถามที่ได้รับการยืนยัน (1) เพื่อให้ได้คำตอบดังนี้

- ผู้ป่วยมากกว่า 40% ลืมใช้ยายึดเกาะฟอสเฟตเป็นบางครั้ง บ่อยครั้ง หรือสม่ำเสมอ

- ผู้ป่วย 38% ลืมรับประทานยาช่วงเวลารับประทานอาหาร

- ผู้ป่วย 23% ใช้ยาสลับกัน

- ผู้ป่วย 19% ตั้งใจไม่รับประทานยา

- ผู้ป่วย 21% รับประทานยาน้อยกว่าที่แพทย์สั่ง


กว่า 70%(3) ของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังประมาณ 1.5 ล้านคนที่ทำการฟอกไตทั่วโลก (4) จะลุกลามไปเป็นโรคเลือดที่มีฟอสเฟตมากเกินไป เนื่องจากไตวายไม่สามารถกำจัดสารฟอสเฟตที่มากเกินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากการควบคุมล้มเหลว โรคหลอดเลือดที่มีฟอสเฟตสูงเกินไปจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงหลายด้าน รวมถึง ความบกพร่องในการสร้างกระดูกในบริเวณไต (ภาวะกระดูกบิดเบี้ยวซึ่งทำให้เกิดการเจ็บปวด กระดูกเปราะที่อาจทำให้กระดูกแตกร้าวหรืออาจทำให้พิการ) และ ฟอสเฟตในระดับสูงยังเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดในหัวใจ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ต้องฟอกไต (5)

วิธีการรักษาที่มีอยู่และการจัดการฟอสเฟตที่มีประสิทธิภาพยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจาก 75% ของผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตมีฟอสเฟตเกินข้อกำหนดของระบบริเริ่มเพื่อการสร้างคุณภาพของผลที่เกิดจากโรคไต (Kidney Disease Outcomes Quality Initiative - K/DOQI) ที่ระดับ 1.78 mmol/L (5.5 mg/dL)

"งานวิจัยชิ้นนี้ย้ำให้เห็นว่าปัจจัยการรักษาแบบผสมผสานซึ่งรวมถึงการใช้ยาด้วยนั้น สามารถช่วยให้ผู้ป่วยที่ยากจนสามารถปรับวิธีการปฏิบัติของตนเองให้เป็นไปตามเป้าหมายระดับโลก ที่มีการกำหนดระดับฟอสเฟตอย่างเฉพาะเจาะจงได้" ศาสตราจารย์ฮอร์น กล่าว

ยา FOSRENOL เป็นทางเลือกในการรักษาชนิดใหม่ในยุโรปสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านไตวิทยา ที่จะนำยาตัวนี้มาใช้เพื่อการจัดการโรคเลือดที่มีฟอสเฟตมากเกินไปในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกไต ยา FOSRENOL เป็นยายึดเกาะที่ไม่ใช่แคลเซียม ซึ่งยาตัวนี้มีสารฟอสเฟตในระดับสูงเพื่อใช้ยึดเกาะกับฟอสเฟตในอาหารซึ่งจะช่วยลดระดับฟอสฟอรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ (7) ยา FOSRENOL ถูกนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการรักษาแบบเดี่ยวๆ และช่วยลดภาระการใช้ยามากกว่ายายึดเกาะฟอสเฟตที่ใช้กันอยู่ เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องการยาที่เคี้ยวได้ระหว่างแต่ละมื้อเพียงเม็ดเดียว (8) เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษารูปแบบอื่นๆที่ใช้บ่อยครั้งและอาจต้องการใช้ยาถึง 12 เม็ดต่อวัน การใช้ยาที่ง่ายขึ้นอาจช่วยสลายพฤติกรรมยึดติดของผู้ป่วยที่ระบุไว้ในการวิจัยชิ้นนี้ได้

"การยึดติดเป็นประเด็นที่สำคัญในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง เนื่องจากผู้ป่วยจำนวนมากยังคงมีระดับฟอสเฟตเหนือเป้าหมายที่แนะนำไว้ในระดับโลก บริษัท ไชร์ สนับสนุนการวิจัยของศาสตราจารย์ ฮอร์น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจในการสำรวจแนวทางใหม่ๆเพื่อแก้ไขการยึดติดของผู้ป่วย และเพื่อผลการรักษาที่ดีกว่า" เดวิด มิลตัน รองประธานอาวุโส ฝ่ายธุรกิจโรคไตของบริษัท ไชร์ กล่าว "ยา FOSRENOL ของบริษัทเป็นยายึดเกาะฟอสเฟตที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนำเสนอผลประโยชน์เสริมที่ช่วยลดภาระการใช้ยาจำนวนมากในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกไตโดยส่วนใหญ่ เนื่องจากยาตัวนี้กำหนดให้รับประทานระหว่างมื้ออาหารแต่ละมื้อเพียงเม็ดเดียว นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งของพันธกิจนี้ บริษัท ไชร์ กำลังพัฒนาทางเลือกในการเสริมยา FOSRENOL โดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ผู้ป่วยใช้ยาได้ง่ายยิ่งขึ้น" เขากล่าวเสริม

ผู้ป่วยเกินกว่า 5 พันรายที่ได้รับการรักษาด้วยยา FOSRENOL ระหว่างโครงการพัฒนาทางคลินิคที่ในมุมกว้าง (9) มีผู้ป่วยจำนวนไม่มากนักที่ได้รับการรักษาโดยใช้เวลาถึง 6 ปี (10) ส่วนในสหรัฐอเมริกานั้นแพทย์สั่งยา FOSRENOL ให้ผู้ป่วยมากกว่า 7,600 คนตั้งแต่พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา (11)

ขณะนี้ยา FOSRENOL มีจำหน่ายใน 20 ประเทศรวมทั้ง แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งจะยังคงเริ่มวางจำหน่ายในตลาดใหม่ๆทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง


1. Horne R et al. Adherence to phosphate binding medication:

Insights from a survey using validated questionnaires. Presented

at the XLIV ERA-EDTA Congress, Barcelona, Spain, 21-24 June, 2007.


2. Block G et al. Re-evaluation of risks associated with

hyperphosphataemia and hyperparathyroidism in dialysis patients:

recommendations for a change in management. Am J Kidney Dis 2000;

35 (6): 1226-1237.


3. Albaaj F, Hutchison AJ. Lanthanum carbonate for the treatment of

hyperphosphataemia in renal failure and dialysis patients. Expert

Opin. Pharmacother 2005; 6(2): 319-328.


4. Global dialysis. Global dialysis: dialysis standards and statistics.

Available at http://www.globaldialysis.com/stats.asp . Accessed on

18 May 2007.


5. The National Institutes of Health National Institute of Diabetes

and Digestive and Kidney Diseases. U.S. Renal Data System, USRDS

2005 Annual Data Report: Atlas of End-Stage Renal Disease in the

United States. Available at:

http://www.usrds.org/2005/pdf/06_morb_and_mort_05.pdf

Accessed on 18 May 2007.


6. Kim J et al. Achievement of proposed NKF-K/DOQI Bone Metabolism and

Disease Guidelines: results from the Dialysis Outcomes and Practice

Patterns Study (DOPPS). J Am Soc Nephrol 2003; 14: 269A.


7. Hutchison AJ, Maes B, Vanwalleghem J et al. Long-term efficacy and

tolerability of lanthanum carbonate: results from a 3-year study.

Nephron Clin Pract 2006;102(2):c61-c71.


8. Vemuri N et al. Lanthanum carbonate provides serum phosphorus

control with a reduced tablet burden. Poster presented at ERA/EDTA,

Glasgow, 15-18 July 2006.


9. Shire Data on File 08.2644.


10. Hutchison A et al on behalf of the SPD405-309 Lanthanum Study Group.

Evidence for the long-term safety and tolerability of lanthanum

carbonate. Poster presented at 38th Annual Meeting of the American

Society of Nephrology, Philadelphia, 8-13 November 2005.


11. Verispan 2007, Verispan Total Patient Tracker.

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ

การจัดการโรคเลือดที่มีฟอสฟอรัสมากเกินไป

ฟอสฟอรัสเป็นแร่ธาตุที่พบได้ในอาหารเกือบทุกชนิดและถูกดูดซึมจากลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด เมื่อเกิดอาหารไตวาย ไตจึงไม่สามารถกรองฟอสเฟตได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป แม้ว่าจะมีเครื่องฟอกไตช่วยทำความสะอาดเลือดก็ตาม ขณะที่ผู้ใหญ่ทั่วไปมีฟอสฟอรัสอยู่ในช่วงระหว่าง 2.5 (0.8mmol/L) - 4.5 mg/dL (1.4mmol/L) นั้น ระดับฟอสฟอรัสในเลือดของผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตหลายรายอยู่ในระดับเกิน 6.5 mg/dL (2.1mmol/L) ซึ่งระดับฟอสฟอรัสดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของการล้มป่วยและอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการฟอกไตอย่างน้อยหนึ่งปี(i) โดยพบว่ามีผู้ป่วยสูงถึง 75% ป่วยเป็นโรคเลือดมีฟอสฟอรัสมากเกินไป (hyperphosphataemia) (ii)

โรคเลือดมีฟอสฟอรัสมากเกินไป จะขัดขวางการทำงานระหว่างระดับแคลเซียมในร่างกาย พาราไธรอยด์ ฮอร์โมน (PTH) และวิตามินดี โดยโรคดังกล่าวหากมีอาการนานเกินไปจะนำไปสู่การเกิดหินปูนในหัวใจ ปอด และหลอดเลือดแดงในระดับสูง (iii) การสะสมของหินปูนแสดงให้เห็นว่าโรคเลือดมีฟอสฟอรัสมากเกินไปส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งคิดเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องฟอกไตที่เสียชีวิตทั้งหมด (iv) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยต้องฟอกไตอายุระหว่าง 25-34 ปีนั้น มีสูงกว่าประชาชนอายุระหว่าง 65-74 ปีที่เป็นประชากรทั่วไปถึง 5 เท่า (v)

นับตั้งแต่ที่การควบคุมอาหารและการฟอกไตไม่สามารถควบคุมระดับฟอสเฟตโดยทั่วไปได้ ผู้ป่วยจึงรักษาโรคเลือดมีฟอสฟอรัสมากเกินไปด้วยวิธีการรักษาแบบดั้งเดิม คือการรับประทานสารช่วยละลายฟอสเฟต (phosphate binding agents) พร้อมกับอาหารและของว่างทุกมื้อ ซึ่งสารดังกล่าวจะดูดซับฟอสเฟตในทางเดินลำไส้ก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด


FOSRENOL(R) (lanthanum carbonate)

FOSRENOL(R) ทำหน้าที่ยึดเกาะฟอสเฟตที่รับประทานเข้าไปในทางเดินลำไส้ เมื่อเกิดการยึดเกาะแล้วสารประกอบแลนธานัม/ฟอสเฟต (lanthanum/phosphate) จะไม่สามารถผ่านทางเดินลำไส้เข้าไปในกระแสเลือดได้ และถูกกำจัดออกจากร่างกาย โดยมีผลต่อเนื่องที่ทำใให้การดูดซับฟอสเฟตทั้งหมดจากอาหารลดลงอย่างชัดเจน บริษัท ไชร์ ได้จัดทำโครงการวิจัยทางการแพทย์ทั่วโลกเพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์ FOSRENOL โดยโครงการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยมากกว่า 5,000 ราย (vi) โครงการนี้แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ FOSRENOL เป็นสารยึดเกาะละลายฟอสเฟตที่มีประวัติการรักษาที่ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจสำหรับการใช้ในระยะยาว ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนตุลาคม 2547 ขณะที่เดือนมีนาคม 2548 คณะกรรมการกำกับดูแลสหภาพยุโรปได้มอบใบอนุญาตให้จำหน่าย FOSRENOL ในเชิงพาณิชย์ใน 16 ประเทศสมาชิก ซึ่งการวางจำหน่ายในครั้งนี้นับเป็นขั้นตอนแรกของการอนุมัติให้นำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดทั่วทวีปยุโรป หลังจากนั้นได้มีการวางจำหน่าย FOSRENOL ในออสเตรีย เบลเยี่ยม สาธารณรัฐเชค เดนมาร์ค ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอซแลนด์ ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ และสวีเดน ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ยุโรปได้เสร็จสิ้นลงเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งส่งผลให้มีการอนุมัติการใช้ยาในอีก 11 ประเทศสมาชิกที่เหลือ ส่วนการจัดจำหน่ายในประเทศอื่นๆในยุโรปและประเทศอื่นๆทั่วโลก กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ทั้งนี้ บริษัทได้ออกใบอนุญาตให้บริษัท ไบเออร์ ยาคูฮิน จำกัด (Bayer Yakuhin Ltd.) ในประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้มีสิทธิพัฒนา ทำการตลาดและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ FOSRENOL

ผู้ป่วยที่ไตทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพอาจลุกลามไปสู่ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีการติดตามระดับเซรั่มแคลเซียมในช่วงเวลาปกติสำหรับผู้ป่วยที่มีอากาดังกล่าว และควรได้รับอาหารเสริมที่เหมาะสม

ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ตับได้รับความเสียหายขั้นรุนแรง ดังนั้นจึงควรออกคำเตือนแก่ผู้ป่วย เนื่องจากการขจัดแลนธานัมที่ถูกดูดซึมอาจลดลงได้


ไม่ควรใช้ยา FOSRENOL ขณะตั้งครรภ์

ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอักเสบรุนแรง แผลอักเสบในลำไส้ใหญ่ โรคโครนส์ (Crohn's disease) ซึ่งมีอาการลำไส้อักเสบ หรือลำไส้ทำงานไม่ปกติ ไม่ได้รับคำแนะนำให้เข้าร่วมในการทดลองทางการแพทย์ที่มีการใช้ยา FOSRENOL

ปฏิกริยาข้างเคียงของยาที่มีรายงานโดยทั่วไป (ADRs) (>1/100, 1/10) คือปฏิกริยาที่มีต่อลำไส้และกระเพาะเช่น อาการปวดกล้ามเนื้อท้อง โรคท้องร่วง อาหารไม่ย่อย กระเพาะมีแก๊สมากผิดปกติ คลื่นไส้และอาเจียน ซึ่งสามารถลดอาการดังกล่าวได้ด้วยการใช้ FOSRENOL กับอาหารและลดระยะเวลาการรับประทานผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ขณะที่ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำเป็นปฏิกิริยาข้างเคียงที่มีรายงานโดยทั่วไป

บริษัทไชร์

เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของไชร์ คือการก้าวขึ้นเป็นบริษัทยาชั้นนำเฉพาะด้าน ที่มุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของแพทย์เฉพาะทาง โดยไชร์ มุ่งเน้นธุรกิจในด้านการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคสมาธิสั้น(ADHD) การรักษาเกี่ยวกับยีนส์ของมนุษย์(HGT) ระบบลำไส้(GI) และเชื้อโรคที่เกี่ยวกับไต โครงสร้างองค์กรที่มีความยืดหยุ่นอย่างมีนัยสำคัญช่วยให้ไชร์ตั้งเป้าหมายด้านการรักษาโรคแขนงใหม่ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วยการรุกเข้าซื้อหุ้น โดยไชร์เชื่อว่า การคัดเลือกลุ่มผลิตภัณฑ์อย่างระมัดระวังด้วยการใช้กลุยุทธ์ที่เหมาะสม และหน่วยงานขายที่มีขนาดย่อย จะช่วยสร้างผลลัพธ์ที่แข็งแกร่ง

กลยุทธ์ที่ไชร์มุ่งเน้นคือ การพัฒนาและทำการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับแพทย์เฉพาะทาง ส่วนความพยายามในการขอใบอนุญาต การควบรวมกิจการและการเข้าซื้อหุ้นของไชร์นั้น บริษัทมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ในตลาดระดับบนซึ่งมีมาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวด ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไชร์ สามารถเข้าชมเว็บไซต์ของบริษัทที่ www.shire.com


มาตรการคุ้มครองการให้ข้อมูล (SAFE HARBOR) ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปการดำเนินด้านคดีหลักทรัพย์ส่วนบุคคล พ.ศ. 2538

แถลงการณ์ซึ่งครอบคลุมถึงข้อความที่ไม่ได้เป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ฉบับนี้ เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในหลายๆด้าน และข้อความที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ในกรณีที่เกิดความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ผลประกอบการของไชร์อาจได้รับผลกระทบด้วย ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นนั้น ครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนที่มีอยู่ก่อนของงานวิจัยด้านเวชภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตและการค้า ผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีการแข่งขันซึ่งรวมถึงผลกระทบของเครือข่ายผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น(ADHD)ที่อยู่ในความดูแลของไชร์ สิทธิบัตร ซึ่งรวมถึงความท้าทายทางกฎหมายที่เกี่ยวกับเครือข่ายผู้ป่วยสมาธิสั้นที่อยู่ในความดูแลของไชร์ ข้อบังคับและการอนุมัติของรัฐบาล รวมถึงวันที่อนุมัติให้จำหน่ายสินค้าตามที่ระบุบน SPD503( รายงานการขยายผลของ guanfacine)(ADHD), SPD465 (รายงานการขยายผลเกี่ยวกับสารแอมเฟตามีนที่มีการทดสอบ 3 ครั้ง) (ADHD), MEZAVANT(TM) (SPD476) (mesalazine) ในยุโรป,และ VYVANSE(TM) (NRP104) (lisdexamfetamine dimesylate) (ADHD) รวมถึงการกำหนดเวลาจากสำนักงานบริหารด้านเวชภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกา ความสามารถของไชร์ในการนำเสนอหรือคิดค้นสินค้ารุ่นใหม่เพื่อการค้าหรือพัฒนา และความเสี่ยงรวมถึงความไม่แน่นอนอื่นๆที่มีรายละเอียดจากระยะเวลาหนึ่งไปสู่อีกระยะเวลาหนึ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์ของไชร์ที่อยู่ภายใต้ชื่อบริษัท ไชร์ ฟาร์มาซูติคอลส์ กรุ๊ป ที่ยื่นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายงานประจำปีเกี่ยวกับ Form 10-K ในปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธ.ค.2548


i    Block GA et al. Association of serum phosphorus and calcium x

phosphate product with mortality risk in chronic hemodialysis

patients: A national study. Am J Kidney Dis 1998; 31: 607-617

ii   Kim J et al. Achievement of proposed NKF-K/DOQI Bone Metabolism and

Disease Guidelines: results from the Dialysis Outcomes and Practice

Patterns Study (DOPPS). J Am Soc Nephrol 2003; 14: 269A

iii  Norris KC. Toward a new treatment paradigm for hyperphosphataemia in

chronic renal disease. Dial Transplant 1998; 27 (12): 767-773

iv   Block G, Port FK. Re-evaluation of risks associated with

hyperphosphataemia and hyperparathyroidism in dialysis patients:

recommendations for a change in management. Am J Kidney Dis 2000; 35

(6): 1226-1237

v    Foley R et al. Clinical epidemiology of cardiovascular disease in

chronic renal disease. Am J Kidney Dis 1998; 32 (5) Suppl 3:112-119

vi   Shire Data on File 08.2644
vii  Hutchison A et al on behalf of the SPD405-309 Lanthanum Study Group.

Evidence for the long-term safety and tolerability of lanthanum

carbonate. Poster presented at 38th Annual Meeting of the American

Society of Nephrology, Philadelphia, 8-13 November 2005




แหล่งข่าว : บริษัทไชร์


ติดต่อ: ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์:

คลีอา โรเซนเฟลด

โทร +44 1256 894 160

สื่อมวลชนของไชร์


อีริค โรจาส (อเมริกาเหนือ)

โทร +1-484-595-8252


หรือสื่อมวลชนติดต่อ:

เจสสิก้า เมนน์ (ทั่วโลก)

โทร +44 1256 894 280


แมทธิว คาเบรย์ (อเมริกาเหนือ)

โทร +1-484-595-8248


หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์:

เอลียนอร์ ไฮท์แมน

โทร +44-207-357-8187,


คอน แฟรงคลิน

โทร +44-207-357-8187


ทั้งหมดจากไชร์


เว็บไซต์: http://www.shire.com


--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--